Wave Riders Technical Course Online

Wave Riders Technical Course Online
เรียน Technical Course online สามาร click ที่ ภาพเลย

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

MACD Behavior Part 2 ; ตัดขึ้นซื้อ ตัดลงขาย .. ง่ายอย่างงั้นเลยย (ตอนจบ)

จากการที่ บ่นๆ อาการ ขึ้นเหนือน้ำ ของ MACD ไปแล้ว 
ทำให้รู้จัก จังหวะที่เหมาะ แก่การเข้า ที่นำไปใช้ได้จริง  ความยุ่งยากอยู่ที่ จะแยกออกไหม ว่า 
เป็นการขึ้น เหนือน้ำ แบบปลาโลมากระโดด หรือ ปลาตายลอยน้ำ  คงขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการตัดสินใจในสถานะการณ์จริง  อย่างไรก็ตามในการเข้า ทุกครั้ง ก่อนที่จะ Order ยังยืนยัน ครับว่า กำหนด Stop Loss Criteria ทุกครั้งก่อนส่ง Order ครับ  และเพื่อเตือนตนเอง ใช้วิธีการจด Stop Loss Criteria พกติดตัวไว้นะครับ อย่าใช้การจำเพราะเมื่อยามคับขัน ความโลภ และความวุ่นวายใจ มันจะไปบดบัง ความทรงจำของเรา ทำให้ ไม่ตัดสินใจ
สุดท้าย ก็จะมานั่ง บ่นกับตัวเอง ว่า "กูว่าแล้ว" หรือ "รู้ งี้ ..."  พร้อมกับเงินทุน ที่ลดลงไป

มาดู การถอย อย่างเป็นระบบกันบ้าง เพราะการถอยเป็น สิ่งสำคัญ ที่จะ ทำให้ ได้ กำไร และไม่ขาดทุนมาก  น้อยคนนักที่ จะมี บุญมา แต่ชาติที่แล้ว มีเทพดลใจ ติดตัว มีพรายกระซิบ ให้รู้ว่า ต้องขายทำกำไรแล้ว   เพราะส่วนใหญ่ เราทำกรรมกันมามากกว่า จึงต้องมาชดใช้ ให้ กับเขาไป ในตลาด ..

ก็ตอนมันขึ้น ไม่ขาย .. (เดี๋ยวมันก็ขึ้น อีก ก็ขายหมูกันพอดี)  พอมันลง ก็ไม่ขาย.. (ลงนิดเดียวเดี๋ยวมันก็ขึ้น)
ก็จิตใจ + ความโลภ ก็พา เราไปในสิ่งที่ อยากให้มันเป็นไป  

ขุนศึก จะเข้าสนามรบ ไม่เตรียมทางถอยไว้ หรือเตรียมรับมือเหตุเปลี่ยนแปลงไว้ ฉันใด 
ไม่ต่างกับ การเข้า ซื้อ โดยที่ ไม่ได้เตรียมไว้ ว่า จะขาย ตรงไหน หรือ ถอยออกมายังไง ไม่ให้สูญเสียมาก

ดังนั้น หลักยึด ในการถอย เป็น วินัยอันสำคัญ ที่ต้องพึงกระทำ อย่างไม่มีข้อแม้ใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อพบสัญญาณ เกิด ขึ้น ต้องถอย ทันที โดยไม่ต้องหาเหตุผล .. ถอยก่อนหาเหตุผลทีหลัง ครับ
สัญญาณ ในการถอย ที่กล่าวนั้น มี เพียงอันเดียว ครับ

 MACD ตก Signal Line  --> โยน
    
    โยน หมายถึง การเคาะ ซ้าย ทันที โยน Bid ทันที ไม่มี การตั้ง Offer เพื่อหวังว่า มันจะเด้ง ขึ้นมา
      ในความเป็น จริง มันอาจจะเด้ง ขึ้นมาก็ได้ ซึ่งเราก็จะรู้สึกเสียดาย  แต่ในทางกลับกัน ถ้า มันไม่เด้งล่ะ 
      แล้วมัน ลง ลง ลง ลง ไป เรื่อยๆ ห่างจาก Offer ที่เราไปตั้งไว้ ออก ไปเรื่อยๆ คุณจะทำอย่างไร

   ดังนั้น MACD ตก Signal Line (โดยเฉพาะใน Day)  โยน ครับ
  มาดูภาพ ตัวอย่างกัน นะ
..

   

จากภาพ จะเห็นว่า พี่ปอ ของเรา โดนโยน ทิ้งถึง 5 ครั้ง
















สิ่งที่มักจะถูกถาม ก็คือ

ถ้า MACD ถอยลงมา และราคา ก็ย่อ ลงมา ต้องทำยังไง

ตอบว่า กรุณาเฝ้า และ กัดฟันไว้แน่นๆ ครับ
เพราะ ถ้า MACD ถอยลงมา (เป็นสีแดง) แต่ไม่ต่ำกว่า Signal Line มันยังมีโอกาส กลับขึ้นไปได้ ครับ

แต่ถ้า MACD ถอยลงมา แท่งแรกยังไม่ต่ำกว่า  แท่งที่สอง มาใกล้ Signal Line  ต้องจับตาเลย ครับ
พอ แท่งที่สาม ลง ต่ำกว่า Signal Line แล้ว   ก็เลิกหวัง ครับ โยน ทิ้ง ได้เลย
มันเหลือโอกาสน้อยนิดมากๆ ที่จะกลับขึ้นไปใหม่

อีกคำถามที่มักจะถูกถาม และถามตัวเองบ่อยๆ ว่า 
ถ้าโยนไปแล้ว และมันก็ลงต่อไปแล้ว อีกหลายวัน แล้ว ราคา ก็เด้งกลับขึ้นมา จะทำยังไง? เข้าใหม่ได้ไหม? และจะเข้าตรงไหนดี?

ดูตามภาพ กันครับ
 ....




..ก็คือ เมื่อ ขาย ออกมาแล้ว การกลับเข้าไป ซื้อใหม่ 
ให้ดูจุดที่ MACD กลับขึ้นมาอยู่บน Signal Line อีกครั้ง และ MACD ทำ New High 
และ แท่งราคาทำ New High -->  [1] , [2] สีฟ้า



และถ้า ลงมาลึกๆ จน MACD ติดลบไปแล้ว ก็กลับไป ใช้ เหมือนวิธีการเข้า คือ
ให้ MACD ตัดศูนย์ ถึงจะเข้า --> [3] สีชมพู
..


การใช้ [1], [2] สีฟ้า  มีเทคนิค เล็กน้อย คือ
a) แท่งราคา New High ไปแล้ว แต่ MACD ยังไม่ New High 
    ให้ เข้าซื้อ ส่วน หนึ่ง เท่านั้น เพราะ อาจจะ เป็น MACD Divergent ได้
    คือ ราคา วิ่งไป แต่ Volume มาน้อย ทำให้ MACD ไม่ทำ New High ใหม่ และเกิด MACD Divergent
    ก็จะหมายถึงการขึ้น ครั้งสุดท้าย ก่อนลงลึกๆๆ

b) แท่งราคา New High ก่อน แต่ MACD ยังไม่ตามมา ก็ซื้อส่วนหนึ่งไปแล้ว
     พอ MACD New high  อีกที ก็ให้ ซื้อเพิ่ม (อัดเต็มๆ)  ลักษณะเหมือน [1] สีฟ้า ในรูป

c) แท่งราคา ยังไม่ New High แต่ MACD ทำ New High ไปก่อน แล้ว
    เจอแบบนี้ อัดให้เต็มๆ ครับ เพราะจะ เร็วแรง และ จบเร็วด้วย จะไม่มี โอกาส ให้ อัดเพิ่ม รอบ 2

สุดท้าย เมื่อเข้าซื้อไปแล้ว ก็ต้องกลับมาใช้ วินัยในการออก อย่างเคร่งครัด
ไม่ว่า เข้าไปแล้ว มันจะวิ่งไปนิดเดียวก็ตาม ถ้า MACD ลงต่ำกว่า Signal Line เมื่อไหร่โยนครับ
..


ตามตัวอย่าง ที่จุด [2] สีแดง ขายออกมาตามกฎ ที่ตั้งไว้ 
พอผ่านไป 3-4 วัน ราคา ทำ New High ก่อน และ MACD ก็ New High วันถัดไป ก็ต้องเข้าซื้อ ครับ

แต่พอราคาเด้งขึ้นไปได้ 4 วัน ราคาก็ถอยแล้วทิ้ง ลงแรง ทำให้ MACD ตัด Signal Line 
ในภาพตรงจุด [3] สีแดง ก็ต้องไป ตามกฎ ครับ ก็คือ โยน ทันที

จะเห็นได้ว่า จากจุด [2] สีแดง แล้วกลับเข้าไปซื้อ จนมาโยนทิ้ง ที่ [3] สีแดง นั้น ได้ระยะทางกำไร น้อยมาก
เมื่อเทียบ กับ ตอนที่เข้าซื้อตรง จุดที่ [1] สีฟ้า แล้วมาออก ที่จุด [2] สีแดง ซึ่งได้กำไรมากว่า
...
หลายคน เคยขายได้กำไรมาก แล้ว ยึดติด อยากได้ มากๆ แบบคราวก่อน 
ความโลภ บดบัง สัญญาณ MACD ทำให้ไม่ได้ขาย จะนำพา หายนะมาให้ได้
..
ตัวอย่างที่เอามาอธิบาย มันค่อนข้างไปทาง Impulse มี Direction ชัดเจน
ลองอีกสักอัน ก็ได้ อันนี้ มาแนว Corrective แกว่งขึ้น ลงไปข้างๆ แต่ก็ใช้ได้ ค่อนข้างดี
..

..
ลูกศร สีฟ้า   คือ จุดที่ จะเข้าซื้อ
ลูกศร สีชมพู คือ MACD ขึ้นเหนือน้ำ  ให้ เข้าซื้อ ใหม่ 
ลูกศร สีแดง คือ Take Profit or Stop Loss


จากภาพจะเห็นได้ว่า ถึงจะเป็น Corrective คั้งแต่ เดือน กันยา 2009 ถึง เมษายน 2010 
ราคา วิ่ง ขึ้นลง อยู่ระหว่าง 18 - 23 บาท  เราก็ยัง เข้า ออก ได้ถึง 5 รอบ 
..
..
จบข่าว .. 
...ปุกปุย

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

MACD Behavior Part 2 ; ตัดขึ้นซื้อ ตัดลงขาย .. ง่ายอย่างงั้นเลยย (ตอนแรก)

จากที่ได้พร่ำ บ่นไปก่อนหน้านี้ ว่า " MACD ใช้ หา จุด เข้าซื้อ และ จุดขาย ทำกำไร "
บทท่องจำที่ว่า MACD ตัดขึ้น "ซื้อ" ตัดลง "ขาย" อะไร มัน ตัดกับ อะไร ยังไง มันง่าย ขนาดนั้นเลยหรือ
มาดูกัน นะครับ ว่า จะง่าย จริงไหม
..
ลองมาดู พระเอก ของตลาดบ้านไทยของเรา น้องปอ ของใครใคร ในช่วงปี 2007 จนถึงต้นปี 2008
..



เห็นอะไร กันบ้างครับ ...

ตัดขึ้น ... ตัดลง มันยังไง ค่อยๆ ตามมานะ จ้ะ

..
ลูกศร สีส้ม --> ใช้แทนการที่ MACD ตัดขึ้น จาก ติดลบ ข้าม ศูนย์ มาอยู่ในแดนบวก แต่ เป็นการตัดขึ้น แบบปลาตาย ที่ ขึ้นมาไม่มีแรง ไม่มี momentum


การขึ้นแบบนี้ เป็นการขึ้นที่ แท่งราคา ไม่ได้วิ่งไปไหน หากเข้าไป ซื้อ สุดท้าย ก็ต้อง Stop Loss ออกมา โชคดีก็กำไร นิดหน่อย โชคร้าย ก็เข้าเนื้อกินทุนกันไป

... หรือ อย่างนี้

...
.. ตั้งข้อสังเกตว่า ในการที่ MACD ขึ้นแบบ ปลาตาย นั้น แท่งราคา มักจะไป คลอเคลีย อยู่ที่ EMA90 แทบจะทุกครั้ง เป็นความสัมพันธ์ ที่น่าสนใจมากๆ
..
ดังนั้น "ตัดขึ้น - ซื้อ" จะมี ตัด 2 แบบ


1. MACD ตัด ศูนย์ --> ซื้อ

2. MACD ตัด Signal Line ขึ้น MACD > Signal --> ซื้อ

..

มาดูอาการ ตัดขึ้น เหนือ ศูนย์ กันก่อนนะครับ ตามลูกศรสีม่วง

..
1. MACD ตัด ศูนย์ --> ซื้อ
..




... วิธี สังเกต ดังนี้

1.1 MACD ตัดศูนย์ อันแรก ให้ติดตามใกล้ชิด

1.2 MACD อันต่อมา ทำสูงขึ้นกว่าอันแรก และ แท่งราคา ทำยอดสูงกว่าแท่งก่อนหน้า

1.3 ถ้า MACD ที่ สอง มากกว่า อันแรก เกิน 2 เท่า --> ซื้อ
      เช่น อันแรก macd = 0.60 , อันที่ 2 macd = 1.82 --> ซื้อ ครับ เพราะ momentum แรงมาก
      สังเกต จาก Volume ของอันที่สอง จะเข้ามาขึ้น กว่าอันแรก

1.4 ถ้า MACD อันที่ สอง มากกว่า อันแรก แต่ไม่มาก เกิน 2 เท่า ให้รอ อันที่ สอง
      ถ้า MACD อันที่ สาม มากกว่า อันที่ สอง --> ซื้อ ครับ จะมากกว่ามากหรือน้อย ก็ ซื้อ ครับ

1.5 สำหรับ คนที่ ดู Ticker ใหสังเกต Volume เข้ามาต่อเนื่อง มีการตบขวา ตะปบ Offer แบบไม่รอให้ย่อถอย
     ถ้าเจอแบบนี้ ให้ย้อนไปดูอาการ ตาม ข้อ 1.1 ได้เลย
..
เป็นวิธีการเข้าซื้อ แบบง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก  Short Term Trader ใช้ 60 นาที  Medium Term ใช้ Day Frame


มักจะถามกันว่า แล้ว จะซื้อเท่าไหร่ ... ก็มักจะตอบไปว่า.. คุณ กล้าเท่าไหร่ล่ะ
ตอนเข้าซื้อ มี Stop Loss ไหม .. เดี๋ยว ตอนท้าย จะบอกถึง Signal Sell อีกที


บางคนก็ถามว่า ซื้อตามที่ว่า ไปแล้ว ถ้า ขึ้น อีก ซื้อได้อีกไหม
..เออ ..เพ่ ครับ .. ถ้า MACD มันขึ้นอีก สีเขียวอีก  ก็แปลว่า มันยังขึ้นได้อีก ครับเพ่ .. 
.. เพ่ คันมือ อยากซื้อ ก็เงินของเพ่ อ่ะ ครับ .. แต่เพ่ จะซื้อ เพ่ มี จุด Stop Loss รึยังล่ะเพ่ ...






 2. MACD ตัด Signal Line ขึ้น --> ซื้อ
..
อย่างที่เรา ทราบ กัน (รึว่า ไม่ทราบนะ) MACD มี ค่า 2 อัน  : อันแรก คือ MACD อันที่สอง คือ Signal Line หรือค่าเฉลี่ยของ MACD อีกที  ดังนั้น อาการ MACD ตัด Signal Line ก็คือ
ตอนแรก MACD จะมีค่าน้อยกว่า ค่าของ Signal Line  แล้ว เมื่อเวลาดำเนินไป ทั้งสองค่า จะเข้ามาใกล้กันๆ จนในที่สุด ค่า MACD กลับขึ้นมา มีค่า มากกว่า Signal Line ตรงจุดนั้น เรา ถือว่า เกิด สัญญาณ MACD ตัดขึ้นเหนือ Signal Line แล้ว
..


ในภาพ ลูกศรชมพู ก็คือ
    MACD ตัดศูนย์ ตามข้อ 1.

ส่วน ลูกศรสีฟ้า เป็น 
    MACD ตัดขึ้นเหนือ Signal Line


...
วิธีสังเกต ดังนี้
2.1 หากได้เข้าซื้อ มาก่อนหน้านี้แล้ว ยังถือไว้ได้ตลอด ตราบที่ MACD ยังสูงขึ้น ทุกแท่ง


2.2 ถ้าพบ MACD ถอยย่อลงมา แต่ยังไม่ต่ำกว่า Signal Line แน่นอน ว่าหากดูในแท่งราคาจะพบการทำกำไร ขายกัน ณ จุดนี้
แต่เรา ให้ ถือต่อไป ถ้า MACD ยังไม่ต่ำกว่า Signal line


2.3 ถ้า MACD ถอยลงมา (สีแดง) แต่ยังไม่น้อยกว่า Signal Line  แสดงให้เห็นกว่า ราคายังสูงกว่าค่าเฉลี่ยและราคายังไปต่อได้อีก  --> ถือ
..
2.4 สิ่งใดเมื่อถึง ที่สุดย่อมพลิกเปลี่ยน  ดังนั้น เมื่อเราพบเห็น การกลับตัว ของ MACD ข้ามกลับมาสูงกว่า Signal Line ของตัวเอง --> ไม่ต้องรอว่ากี่วัน ให้ "ซื้อ" ได้ เท่าทีีไหว


2.5 ขอสังเกตพิเศษ ว่า ตอนที่ MACD เลี้ยวลงมา แล้ว ย้อนกลับขึ้นไปตัขึ้นเหนือ Signal Line  แท่งราคา จะทำ New High พร้อมๆ กันด้วย .. จังหวะนี้ เองที่ Stretch 
..
ดังนั้น กลยุทธ์ คือ เมื่อ เข้า ซื้อ  ไปแล้ว ตามข้อ 1 ให้ ถือ หรือซื้อเพิ่ม ถ้ายังไม่มีสัญญาณขาย
หาก MACD ถอยลงมา แต่ไม่ต่ำกว่า Signal  ก็ให้ ถือ ไว้ ..


...
ตอนนี้ ก็คงหาที่ซื้อกันเป็นแล้วล่ะ จะไม่ไปซื้อ ยอดดอย อีกแล้ว
เรื่องต่อไป จะบ่น เรื่อง หาที่ขายแล้วล่ะ
...
ปุกปุย 
...



<-- Previous :  MACD Behavior Part 1.5 : Signal for Action
   Next --> :  MACD Behavior Part 2 ; ตัดขึ้นซื้อ ตัดลงขาย .. ง่ายอย่างงั้นเลยย (ตอนจบ)






..



วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

MACD Behavior Part 1.5 : Signal for Action

MACD Behavior เป็น สิ่ง ที่น่า ติดตาม จริงๆ มี สิ่ง ที่ น่าจับตามากมาย
เมื่อมานึกย้อน ดูแล้ว MACD ใช้ ทำอะไร ได้มากมาย จริงๆ

  • MACD ใช้ หา จุด เข้าซื้อ และ จุดขาย ทำกำไร 
  • MACD ใช้ แยกแยะ Impulse Wave VS Corrective Wave
  • MACD ใช้ แยกแยะ Wave 1 , Wave 3, Wave 5
  • MACD ใช้ บอกการกลับตัว ของ ราคา บอกได้ทั้ง กลับขึ้นไป และ กลับลงมา
  • MACD ใช้ บอกความรุนแรงของ Panic Pattern
MACD น่าจะยังมีความสามารถ อื่น ที่จะใช้บอก อะไร ได้อีก ที่ ยังไม่พบ แต่เพียงเท่านี้ ก็ช่วยให้เรา อยู่รอดในตลาดได้ ไม่ยากนะ

อย่างไร ก็ตาม ไม่ว่า จะมีเครื่องมือ ที่ดี หรือ เทคนิค ที่สุด อย่างไร ก็ตาม ที่สำคัญ ที่สุด ก็ยังเป็น จิตใจที่ มั่นคงไม่หวั่นไหว ต่อภาพลวงตา หรือความโลภ ที่จะเข้าครอบงำ และบิดเบือน ความจริงที่ ให้เราเห็น ในสื่งที่อยากจะให้เป็นไป
หลายต่อหลาย ครั้ง ที่เราเห็น MACD บอกให้ขาย เพื่อ ทำกำไร หรือ หยุดขาดทุน ก็ตาม แต่เราก็ยังเอา สิ่งอื่นมาบิดเบือน ข้อเท็จจริงอันนั้นไป ทำให้ ไม่ได้กำไร หรือ ขาดทุนหนักไปเลย

สัญญาณ ต่างๆ ของ MACD ที่กล่าวถึง จะค่อยๆ เอามา ตั้งข้อสังเกต ให้ วิจารณ์ ติชม กัน ต่อไป
...
ปุกปุย
...

 <-- Previous : ใช้ EMA หา Direction
  Next --> : MACD Behavior Part 2 ; ตัดขึ้นซื้อ ตัดลงขาย .. ง่ายอย่างงั้นเลยย (ตอนแรก)


..

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ใช้ EMA หา Direction

ในการ เทรด ในตลาด บางครั้งการ แกว่งของแท่งราคา ในระยะ 2-3 วัน หรือ ในวันเดียว มักจะทำให้เราสับสน จนบางทีต้องถอยหลัง ออกมาดูภาพรวม ที่มีผู้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่อยู่นอกเหตุการณ์ กลับเห็นได้ชัดเจนกว่า"  การที่เราอยู่ใกล้ หรืออยู่ในเหตุการณ์ ทำให้เรา รับรู้ เรื่องราว ข่าวสาร มากมาย จนไม่รู้ สิ่งใดจริง สิ่งใดเท็จ ทำให้ถูกโยกสั่นคลอน ความมั่นใจ ไปได้อย่างมากมาย
การหยุดตนเอง จากการเป็น ผู้เล่น ทำตัวเป็น ผู้ดูชม เป็นผู้สังเกตการณ์ อยู่ข้างสนาม บางครั้ง กลับเห็น สิ่งต่างๆ ได้ อย่างชัดเจนกว่า

วิธีการหนึ่ง ที่ใช้ แสดงภาพรวม ของการเทรด ได้เป็น อย่างดี คือการเปลี่ยน Time Frame ในการดูแท่งราคา เพื่อดูภาพรวมของ การเคลื่อนไหว ของแท่งราคา และ การเคลื่อนตัว ของ MACD อย่างที่ได้ พูดไปก่อนหน้านี้ แต่การดูแบบนั้น ยังได้ ภาพกว้างๆ ที่ยังไม่สามารถจะเอามาใช้งาน ในการกำหนดช่วงเวลาเทรด ที่จะเข้ากระทำ หรือตีฉาก ได้จริง

ในการเทรด นั้น เราคงจะต้องเลือกเข้ากระทำในจังหวะที่ ราคานั้นมี Direction อย่างชัดเจน และตีฉาก ทำกำไรในขณะที่ Direction นั้น จบลง กำลังจะเปลี่ยนเข้า สู่ Non-D (Non-direction)
เครื่องมือ หนึ่ง ที่ มักจะถูกใช้ในการสังเกต เลือกหุ้น ที่จะเข้าตา หรือไม่นั้น กลับเป็น สิ่งที่ง่าย และใกล้ตัว
นั่นคือ EMA - Exponential Moving Average
การใช้ EMA ต้องใช้ หลายๆ เส้น ต่างกันที่ ระยะเวลาในการเฉลี่ย โดยทั่วไป จะพบเห็น การใช้ EMA ในค่า เฉลี่ย EMA5, 10, 25, 50, 75, 100, 200  ทำนองนี้  ซึ่ง ไม่ค่อยใช้ งานได้จริงเท่าไหร่
จากการใช้งาน จริงพบว่า การตั้ง ค่าเฉลี่ย ของ EMA โดย ใช้ค่า ตาม Fibonacci Series ตั้งแต่ 5 ไปจนถึง 233 กลับ ทำให้ เส้น EMA มีความศักดิ์สิทธิ์ ขึ้น มาอย่างไม่น่าเชื่อ
การที่แท่งราคา ตก EMA เส้นหนึ่ง ไป หยุด ที่ EMA เส้นถัดไป แล้ว เด้ง กลับ ขึ้นไป มีเกิดให้เห็น นับครั้งไม่ถ้วน ตลอด 5-6 ปี ที่ได้เปลี่ยนมาใช้ ค่าเฉลี่ยแบบนี้
..
ข้อสังเกต
- เมื่อ EMA แต่ละค่าเฉลี่ย มาพันกัน เหมือน เกลียว เชือก จะเป็น ช่วง ที่เป็น Non-D ราคาจะขยับน้อยมาก
- เมื่อ EMA แต่ละค่า แยกออกจากกัน เหมือนสัตว์ร้าย กำลังอ้าปากกิน Offer ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ก็ล้วนแล้วแต่ มี Direction




..

ตัวอย่าง ของ การมี Direction อย่างชัดเจน
1. แท่งราคา ทำ New High แล้วพักตัว แล้ว ก็ทำ New High ใหม่ ตลอดทาง
2. EMA อ้า กาง ออก และ พุ่งขึ้น ทุกเส้น
3. MACD ทำ ภูเขา เหนือน้ำ ตลอดระยะทาง



...
เพียง เท่านี้  เรา ก็พอ จะหา หุ้น ที่ เทรด ได้ มันส์ ในตลาด แล้ว ล่ะครับ
...
...
ปุกปุย
...




..

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำหนัก ของ สัญญาณใน Indicator และ MACD

ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า Indicator ต่างๆ ที่เราใช้ หากมากเกินไป จะทำให้ เราสับสน
และ ถึงเราจะใช้ มากกว่า 1 อย่าง ในการช่วยตัดสินใจ ความสำคัญของ Signal ของ Indicator แต่ละตัว ก็คงจะมี น้ำหนัก ในการตัดสินใจ แตกต่างกันออกไป
โดยส่วนตัว ผม จะให้ น้ำหนักกับ Price Pattern & Trend Line เป็น อันดับ 1
อันดับสอง ให้ กับ EMA แต่ละเส้น ที่ ใช้ กันอย่างอบอุ่น จริงๆ
อันดับ 3 ยกให้ MACD ครับ  ความขลังและ Classic มีมากมาย เหลือคณานับ
อันดับ สุดท้าย มี 2 คน ได้แก่ Modified Stochastic & Volume

และในความคาดหวัง ที่จะบรรลุ สุดยอดวิชา มีกระบี่เหมือน ไร้ กระบี่
นั่นคือ การใช้ MACD ในการ เทรดเท่านั้น โดยไม่ต้องดู แท่งราคา หรือ อุปกรณ์ ใดๆ ช่วยเหลือเลย
ไม่ว่า หุ้น อะไร ก็ตาม ... ปิดชื่อไปซะ ไม่ต้องรู้ พื้นฐาน ไม่ต้องมีข้อมูล มี แต่ MACD เท่านั้น ที่จะไปกับเรา ตลอดทาง
..
ดังนั้น ผมจึง ให้ความสำคัญ กับ MACD Behavior เป็น อย่างมาก....
...



ในภาพนี้ มีสัญญาณ ในการทำกำไร อยู่ มากมายตลอดทาง จะสักกี่คน ที่เห็นโอกาส และทำใจได้
การฝึกฝน เท่านั้น ที่จะสร้างความมั่นใจในการ เทรด ได้
..
(ผมก็ ทำใจไม่ได้ ทุกจังหวะ ก็มีล้มลุก คลุกฝุ่นไปบ้าง ได้กำไรบ้าง ไปตามสภาพ ก็ ถือว่า เป็น ประสบการณ์ที่เรา ต้องลงทุน ซื้อมันมา)
..
ต่อจากนี้ จะ นำ สิ่ง ที่ได้พบเห็นจาก MACD มาให้ช่วยกัน วิจารณ์ ติชม กัน
...
ปุกปุย

..

 <-- Previous : MACD Behavior Part 1 ; show Direction
   Next -->  : ใช้ EMA หา Direction
.

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

MACD Behavior Part 1 ; show Direction

MACD เป็น เครื่องมือ ที่มีวิธีการใช้ได้หลากหลาย จริงๆ

หนึ่งในนั้น ผมใช้ MACD แยะแยก Direction  กับ Non-Direction
(ไม่ไช่หมายถึง Impulse กับ Corrective wave นะครับ)

ถ้าแท่งราคา เคลื่อนตัวแบบ Direction แล้ว MACD จะเป็น  ภูเขา
ส่วนจะเป็น ภูกระดึง หรือ ภูชี้ฟ้า หรือ เอเวอเรส ก็สุดแล้วแต่ Momentum ของ ราคาในช่วงนั้นๆ

ถ้าแท่งราคา เคลื่อนตัวแบบ Non-Direction แล้ว MACD จะเป็น ทะเลสาบ
ส่วนทะเลสาบ จะ สงบเงียบ หรือมีระลอกคลื่นพริ้วไหว หรือ คลื่นลมแปรปรวน ก็ขึ้นอยู่กับ pattern ของการเคลื่อนที่ของแท่งราคา ว่า จะ Simple หรือ Complex หรือ Triangle หรือ หลับไปเลย ที่ เรียกว่า Sleeping Alligator


  จากภาพ จะเห็นว่า มีภูเขา สีฟ้า 2 ลูก ลูกเล็ก จะยอดไม่แหลม ออกแนว ภูกระดึง
ส่วนภูเขาอีกลูก ปลายแหลม เสียดฟ้า เหมือนดั่งยอดเขา เอเวอเรส  ซึ่งภูเขาเหล่านี้ จะพบได้ตาม Impulse Wave ต่างๆ
ส่วน ทะเลสาบ สีแดงเลือด ที่ยืดยาว มีคลื่นลม ให้เกิดระลอกคลื่น ปั่นป่วนพอประมาณ แบบนี้ มักพบเห็น ตาม Complex corrective wave
..
เอา เฉลยไปดู ครับ
..





..
ลองดูกันอีก สัก ตัวอย่าง นึง
..


คราวนี้ ไม่ได้มีแต่ทะเลสาบ สีเลือด หรือ ภูเขา เหยียบเมฆ แต่จะได้เห็น ภูเขาน้ำแข็ง ที่จมอยู่ใต้ทะเลด้วย
การพบภูเขาน้ำแข็ง ขนาดใหญ่ๆ นั้น แสดงให้เห็น ว่า Direction เป็น ทิศทางลง อยู่ ในขณะนี้

เมื่อ Direction เป็น ทิศทางลง และยังลงไม่จบ เราก็ไม่ควร จะเข้าไปซื้อ จนกว่าผ่าน ภูเขาน้ำแข็งไป หรือ จะเล่น Short ในช่วงภูเขา น้ำแข็ง ก็ได้ ไม่ว่ากัน
เพราะถ้าใคร เข้าไปซื้อ ตอนลง ภูเขาน้ำแข็ง ด้านที่ macd เป็นสีแดง จะมีอาการป่วย ไม่ เลือดสาด เพราะ Stop Loss ก็โดน แช่แข็ง เพราะเกาะติดน้ำแข็งอยู่ใต้น้ำ  ใครปอดใหญ่ทุนเยอะ ก็อึดทนรอ จนพ้นน้ำ อีกครั้งจนได้ ใครปอดเล็ก ทุนน้อย กอดเอาไว้แน่นๆ ก็แข็งตาย แต่ลักษณะแบบนี้ พวกปอกแหก มักจะรอด เพราะเข้าแล้ว ผิดทาง ตกใจ Stop Loss หนีตายก่อน
..
ดูเฉลย ของภาพนี้กัน นะ
..


จากภาพ จะเห็น ว่า ภูเขา ลูกสุดท้าย ด้าน ขวามือสุด เป็นภูเขาที่ สลับซับซ้อน Complex มีเนินเขา น้อยใหญ่ซ้อนทับกันอยู่ ทำท่าเหมือนจะลงเนิน แต่ลงมายังไม่ทัน ถึงพื้นเลย ก็ต้องกลับขึ้นเนินไปอีกรอบ
และยังเป็น การขึ้น เนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ยังไม่เห็นยอดเนินสุดท้ายเลย ว่าจะสูงเท่าไหร่
...
พาไปเที่ยว ภูเขา มาหลายที่แล้ว วิวสวยๆ แบบนี้ ใครมีโอกาสพบเห็น ถ้าเอา แต่นั่งดู (จอ) แล้ว ก็บอกว่า สวยๆ แต่ไม่ลงมือ เด็ดดอกไม้ริมทาง มาบ้าง ก็คงไม่ได้ อะไร ติดไม้ติดมือ มาเป็น กำไร อย่างแน่นอน
..
ดังนั้น ใครพบ MACD  พวกที่ มุดน้ำ มาแต่ไกลๆ แล้ว ออกอาการ "ขึ้นเหนือน้ำ" (เขียวแดนบวกอันแรก)แล้ว ชวนลูกค้า ทำท่า จะขึ้นเขา (เขียวต่อเป็นแท่งที่ 2-3) อย่าลืม ตามเขาขึ้นรถไปด้วยนะครับ เพราะถ้าออกรถไปแล้ว (เขียวแท่งที่ 5-6) มันจะตกรถนะครับ
..
ที่เปรียบเทียบ  อาการ "ขึ้นเหนือน้ำ" ไปนั้น ก็คือ สัญญาณ MACD ตัด 0 - (ศูนย์) ซึ่งเป็นสัญญาณที่สำคัญอย่างนึง ของ MACD นั่นเอง  ถ้า จะเล่น Short ก็กลับทิศ MACD นะครับ
...
แล้วจะมาเล่า MACD Behavior ที่น่าสนใจอย่างอื่นให้ฟังอีก
...
ปุกปุย
...
..

 <-- Previous :  MACD ที่ใครๆ เขาก็รู้
   Next -->  :  น้ำหนัก ของ สัญญาณใน Indicator และ MACD

.

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

MACD ที่ใครๆ เขาก็รู้

MACD เป็น Indicator ใช้ วัดโมเมนตัม ของกราฟราคา ที่ใครๆ เขาก็ใช้

MACD เป็น ค่าที่เกิดจาก EMA  2 เส้น ตัดกัน และ มี Signal Line เป็น ค่าเฉลี่ยของ MACD
รายละเอียด ของ MACD อ่านเพิ่มเติมได้ ใน
http://stockcharts.com


ดังนั้น อัตราเร่งของ MACD เปลี่ยนไป ตามเวลาของแต่ละแท่งราคา จึงเป็น การสะท้อนถึงแรงผลักดัน ของ ราคาที่จะตามมาในอนาคต..

MACD ขึ้น เร็ว แรง ... หมายถึง momentum สูงมาก ...  ราคา จะพุ่ง ทะยาน รุนแรง
MACD ไม่ ค่อย ขึ้น ... หมายถึง momentum อ่อนแรง ... ราคา จะเข้าสู่ช่วงชะลอตัว
MACD ลดลง เร็ว แรง ... หมายถึง momentum แรงมาก ...  ราคา จะปักหัวลง อย่างรุนแรง

เอา Clip ที่ น่าสนใจเกี่ยวกับ MACD มาฝาก กัน

MACD Trading by 2nd Skies



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

Chart Indicator : MACD




- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 How to Trade the MACD Indicator Like a Pro Part 1

   by InformedTrades.com 



- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 How to Trade the MACD Indicator Like a Pro Part 2

   by InformedTrades.com 



ยังมี MACD Clip อีกมากมาย ให้ศึกษา ...
ท้องทะเล แห่งการศึกษา ยังรอ ให้เรา เข็นเรือ ออกทะเลกว้างไปหาประสพการณ์
..
..
ปุกปุย


<-- Previous :  MACD แบบนี้ ใช้ดีจริงๆ
   Next --> :  MACD Behavior Part 1 ; show Direction


..

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

MACD แบบนี้ ใช้ดีจริงๆ

เมื่อพูดถึง MACD (Moving Average Convergence / Divergence) คงจะไม่มี Technical Trader คนไหนที่ไม่รู้จัก แต่จะมีสักกี่คนกัน ที่จะรู้ว่า MACD นั้นใช้ ทำอะไรได้บ้าง...
..
คงต้องทำ มาทำความเข้าใจ กัน MACD (แม็ค-ดี) กันให้เข้าใจกันก่อน ว่า มันเป็นเครื่อง มือ ที่ ใช้ทำอะไร
จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียด มานัก เพราะ คงจะหาอ่านได้ ตาม เว็บไซท์ ทั่วไป (http://en.wikipedia.org/wiki/MACD)
MACD เป็น Indicator หรือ เครื่องมือ ที่เก่าแก่ และมีความ classic มาก ถูกสร้างขึ้น โดย Gerald Appel ตั้งแต่ ปี 1970 
ใน wikipedia บอกว่า "It is used to spot changes in the strength, direction, momentum, and duration of a trend in a stock's price."  นั่นก็ คือ MACD ใช้ วัด MOMENTUM ของ ราคาหุ้น ที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
..
MOMENTUM ??  ได้ยินคำนี้แล้ว ทำให้ นึกถึงวิชา ฟิสิกส์ ที่เรียน สมัยมัธยม ที่ท่องสูตรคำนวณ กันแบบเอาเป็นเอาตาย จนจำขึ้นใจได้เลยว่า สูตรของ momentum ก็คือ p=mv  ; p คือ โมเมนตัม , m คือ น้ำหนักมวล และ v คือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของมวลนั้น   แล้ว Momentum ของราคา หุ้น คืออะไร ????
..
MACD = momentum = p
m = Volumn ของ หุ้น ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง   หรือ ในช่วง 1 แท่งราคา
และ  v = ความเร็วในการเคลื่อนที่ของราคา ของแท่งราคานั้น
.. หมายความว่า  หากแท่งราคาใด ที่มี Volume ปริมาณมากๆ และมีการ เคลื่อนที่ ข้ามช่องราคาอย่างรวดเร็ว แล้ว momentum หรือ MACD ของแท่งราคานั้นจะมีปริมาณ ที่มากด้วยเช่นกัน
..
ในทางกลับกัน  หากแท่งราคา มี Volume ที่ลดลง  ถึงแม้ ราคาจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วใกล้เคียงเดิมก็ตาม MACD ก็จะลดถอยลง อย่างแน่นอน
  
มาดูตัวอย่างกัน
 ...




จากภาพ ลูกศร สีส้มด้านซ้ายสุด  มีการวิ่งขึ้นของราคาอย่างต่อเนื่อง แท่งกราฟ วิ่งขึ้นใน Slope ที่ชันมาก  macd ก็จะแสดงออก ให้เห็นถึงการวิ่งขึ้น อย่างไม่มีการพักหรือหยุดให้หายใจกัน


ทั้งนี้ สังเกต ที่ลูกศรสีแดงด้านซ้าย ตกลงมา มี การเคลื่อนไหวทางลงมาระยะทางน้อยกว่าที่ขึ้นมาก่อนหน้า  แต่ macd กลับลงมาที่ใกล้ศูนย์ อีกครั้ง  นั่นหมายความว่า Volume ในการขายลงมานั้น มีปริมาณการขายจำนวนมาก
ส่วนลูกศร สีแดง ที่ลงมาด้านขวา นั้น เป็นการขายแบบ ต่อเนื่อง ขายทุกราคา ดังนั้น จึงมี momentum ในการลงที่รุนแรงมาก (ลงเละเทะ) macd ก็ วิ่งลงจากแดนบวกเข้าสู่แดนลบ อย่าง รุนแรง


ส่วนลูกศร สีฟ้านั้น  ราคาแกว่งตัวในกรอบแคบๆ  ทั้ง volume ซื้อขายก็น้อย และราคา ก็มีการขยับตัวช้ามาก ดังนั้น macd จึง แกว่งไปมา เล็กๆ แคบๆ แสดงถึง momentum ที่แผ่วเบา 
..
MACD นั้น มีด้วยกัน 2 เส้น ได้แก่ เส้น macd และ เส้น Signal line ซี่งเป็น เส้นค่าเฉลี่ยของ macd นั่นเอง
การสังเกต สัญญาณของ macd ที่ วิ่งไปมา ใน แดนบวก และแดนลบ และ ค่า macd ที่มากกว่า หรือน้อยกว่า ค่าของ signal line นั้น  หากใช้เส้น กราฟ 2 เส้น แบบนี้ การอ่านสัญญาณต่าง จะทำได้ยากมาก และสมองจะทำความเข้าใจได้ยาก
..
จึงได้ ทดลอง เปลี่ยน รูปแบบของ กราฟ macd ให้ อ่านสัญญาณได้ง่ายขึ้น  โดย ให้ ค่า macd เป็น แท่ง Histogram และ ค่า Signal line เป็น Dots  ดังภาพด้านล่าง  
..


.. 
สำหรับ color ของ Histogram และ Dots ก็กำหนด ให้มีการเปลี่ยน สีได้ คือ ให้เป็น สีเขียว ถ้า แท่งค่าของ macd มากกว่าหรือเท่ากับ แท่งก่อนหน้า และให้เปลี่ยนเป็น สีแดง ถ้า แท่งค่าของ macd  ลดลงน้อยกว่า แท่งก่อนหน้า
ดังนั้นเมื่อ macd มีการ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แท่ง macd ก็จะเป็น สีเขียวไปตลอด และเมื่อ macd มีการถดถอยลดลงอย่างต่อเนื่อง macd ก็จะกลายเป็น สีแดง ติดต่อกันลงมา สำหรับ Dots ก็ตั้ง ค่าสี ให้เป็น เช่นเดียวกัน
..  (การเปลี่ยนรูปแบบ macd ในลักษณะนี้ ได้รับการถ่ายทอดมาจาก อาจารย์ ที่เคารพ ครับ)


ซึ่ง macd ในรูปแบบนี้ เราเรียกกันว่า macd แบบ ภูเขาน้ำแข็ง โดยมี ค่า ศูนย์ เป็นผิวน้ำ  หากค่า macd อยู่ในแดนบวก เราเรียกว่า "อยู่เหนือน้ำ"  และ ถ้า macd อยู่ในแดนลบ เรียกว่า "อยู่ใต้น้ำ"


ในกรณี ที่ macd จากแดนลบแล้วตัด ศูนย์ ขึ้นมาแดนบวก เรียกว่า "ขึ้นเหนือน้ำ" หรือ "กระโจนขึ้นจากน้ำ"   ซึ่ง การ ขึ้นเหนือน้ำ  นั้น เป็น สัญญาณสำคัญ อย่างหนึ่ง เลยในการทำกำไร ซึ่งจะนำไปอธิบาย กันในเรื่อง MACD Behavior กันอย่างเจาะลึกอีกที เพราะว่า ความรุนแรง ของการกระโจนขึ้นเหนือน้ำ  นั้น มีผล ที่ตามมาต่างกันอย่างมากมาย  


ลองนึกภาพ ปลาโลมาโชว์ มีกระโจนขึ้นเหนือน้ำ อย่างสุดแรงแล้วกลับลงน้ำไปนั้น สามารถเรียกเสียง เชียร์โห่ร้อง จากผู้ชมได้มากมายขนาดไหน  เปรียบเทียบกลับ ปลาที่ตายแล้ว ขึ้นอึด ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป แก๊สในตัวปลาออกไปหมด แล้วจมกลับลงใต้น้ำใหม่ 


 MACD Behavior ของการขึ้นเหนือน้ำก็ไม่ต่างกันนัก..


แต่ก็แปลก ที่ ผู้คนในตลาด บางครั้ง ยังแยกปลา ไม่ออก เห็นเงาๆ อยู่ในน้ำ ยังเห็นไม่ชัดเลย ว่า เป็น ปลาโลมา หรือ ปลาเน่า ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ยินดี กันเซ็งแซ่ บอกต่อๆ กันทั่วเวที ว่า ปลาโลมา มาแล้วๆ เตรียมข้าว เตรียมของ ตั้งใจกันเต็มที่ ปรากฎว่า ปลาที่ขึ้นมา เป็น ปลาเน่า ก็วงแตกซิครับ พี่น้อง 
บางคนหนีไม่ทัน โดนฤทธิ์ปลาเน่าเข้าไป ป่วยกันไปตามๆ กัน .. แต่บางคนอาการหนักว่านั้น รู้ทั้งรู้ ว่าเป็นปลาเน่า แต่อุ้มไว้ ไม่ยอมปล่อย .. คงจะตกใจจนช็อค คิดว่า ปลาเน่า มันจะกลายร่าง เป็น โลมาได้ .... เออ เนอะ คนเรา คิดกันไปได้ จริงๆ
...
เปรียบเปรย อย่างนี้ แล้ว คงจะช่วยให้เห็นภาพได้ว่า สัญญาณ "ขึ้นเหนือน้ำ" ของ macd นั้น มันสำคัญขนาดไหน....
...
เท่านี้ ก็ ทำให้ รู้ และเข้า ใจ macd ในแง่มุมๆ ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น แล้ว
....
กลับไปตลาดคราวหน้า หวังว่า จะแยก ปลาโลมา กับปลาเน่า ออก ได้ นะ จ้ะ


^-^
.....
ปุกปุย






 <-- Previous : Direction สำคัญนะ จะบอกให้
   Next --> : MACD ที่ใครๆ เขาก็รู้


..

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

Direction สำคัญนะ จะบอกให้



Direction  แปลว่า ทิศทาง ชีวิตถ้ามี Direction ก็จะไม่หลงทาง
เข้าเทรดในตลาด ไม่รู้ Direction ก็จะหลงทาง ครับ เมื่อหลงทาง ก็เทรดผิดทาง ก็เจ๊งซิครับ พี่น้อง

Direction จะเกิด การเคลื่อนไหว ของราคา ไปในทิศทางขึ้น หรือลง ในทิศทางใด ที่ทางหนึ่ง อย่างชัดเจน ดังนั้น การเข้าเทรด จึงมีระยะทางที่จะทำกำไรได้  ถึงแม้ผิดทาง ก็ยังสามารถ Stop loss มาเอาคืนได้

Non-Direction ก็แปลความหมาย ได้ตรงอยู่แล้ว ว่า ไร้ทิศทาง ดังนั้น เมื่อราคาไร้ทิศทาง ขึ้นไม่นานก็ลง ลงไม่นานก็ขึ้น สลับสับเปลี่ยนไปมา ระยะของราคาก็ไม่ไปไหน แกว่งไปมาอยู่ในช่วงแคบๆ ระยะทางของราคา ที่จะมีโอกาสทำกำไร ก็มีน้อยลงไป

ดังนั้น Direction คือ สภาวะที่มีแนวโน้ม   ส่วน Non-Direction คือ สภาวะที่ไร้แนวโน้ม

การ เทรด ในสภาวะ Direction จึงมีโอกาส ที่ จะทำกำไรได้สูงกว่า  ส่วน Non-Direction เป็น สภาวะที่จะมีโอกาสหลงทาง ได้ง่าย เพราะไม่มี แนวโน้ม ของทิศทางราคา เป็น GPS ไว้นำทางให้กับเรา
การเทรดในสภาวะ Non-Direction จึงมีความเสี่ยงที่จะขาดสูงมาก

แน่นอนว่า ถ้าเรารู้ แนวโน้ม แล้ว เทรดไปตามแนวโน้มได้ ง่ายๆ ก็คงจะมีคนทำกำไร กัน ถ้วนหน้า
เราควรมาทำความรู้จัก Direction หรือสภาวะที่มี แนวโน้ม กันให้มากขึ้น


จะเห็นได้ว่า Direction สภาวะที่มีแนวโน้มนั้น จะเป็นเหมือน สีเหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า ที่มีลักษณะเป็นแท่ง ทางแนวตั้ง ส่วน Non-Direction สภาวะไร้แนวโน้มนั้น จะเป็นเหมือน สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง ที่ยืดขยายไปทางแนวนอน
แต่จะเห็นได้ว่า การเคลื่อนไหว ขึ้น-ลง ของแท่งราคา ในสี่เหลี่ยมสีแดงนั้น บางช่วง ก็ยังมีทิศทางขึ้น-ลงที่ชัดเจนซ่อนอยู่ เป็น Small Direction ที่ ซ่อนอยู่ใน Non-Direction เสมือน หยางที่ซ่อนอยู่ในหยิน นั่นเอง
ซึ่งหาก คูณ มีความชำนาญพอ ฝึกฝนจนมีวิชา สามารถเหยียบเมฆทะยานฟ้า การเทรดใน Small Direction เหล่านี้ ก็คงสามารถ ทำกำไรได้ไม่ยาก

ดูกันอีกสัก หนึ่งตัวอย่าง





จากภาพนี้ จะพบว่า Direction นั้น มีทั้ง ขึ้น และ ลง ที่มีคนเอาไป เปรียบเทียบ ไว้กับ กระทิง (Bull) และหมี (Bear)..

แต่บาง ครั้ง เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็น  Direction  หรือ Non-Direction หรือ เป็นเพียง Small Direction in Non-Direction ดังนั้ เราจึงควรมี เครื่องมือมาช่วยในการพิจารณา หนึ่งใน เครื่องมือง่ายๆ ที่ ผมใช้ในการแยกแยก Direction และ Non-Direction  .... ก็คือ  MACD Behavior นั่นเอง ...
...
...
ติดตามตอนต่อไป

ปุกปุย



<-- Previous :  หยิน-หยาง ในการเทรด
   Next -->  : MACD แบบนี้ ใช้ดีจริงๆ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

หยิน-หยาง ในการเทรด

..
ในปรัชญาจีน ที่ว่า หยิน-หยาง รวมเป็น หนึ่ง ในหยางซ่อนหยิน ในหยินมีหยาง  เมื่อหยางถึงที่สุดแล้วต้องกลับเป็นหยิน และเมื่อหยินดำเนินไปถึงที่สุดแล้ว ต้องกลับเป็นหยาง  หยินหยาง ดำเนินสลับเปลี่ยนแปลงสอดคล้องไม่ขาดตอน เสมือนไร้รูปแบบ แต่กลับซ่อนรูปแบบไว้ภายใน
...
คนที่ไม่รู้ Technical เมื่อมาดูกราฟราคาแลัว ย่อมมองไม่ออกว่า กราฟ นั้นสื่ออะไร ให้เห็น จะเห็นแต่แท่งแดง-เขียว ที่ขึ้นลงไปตามสภาพ ดูไปช่างไร้รูปแบบเหลือเกิน  ความรู้สึกของผม ก่อนเข้าตลาดหุ้น ก็ไม่ต่างกันกับคนเหล่านั้น แต่เมื่อได้ มาเรียนรู้ Technical Trade แล้ว พบว่า ชีวิตของ Technical Trader ที่แขวนไว้บน แท่งกราฟราคานั้น คงไม่ต่างกันกับ ผู้ที่แยกแยะ หยินและหยาง ในสภาวะได้
...
หยาง คือ เคลื่อนไหว ก่อกำเนิด ประดุจ กราฟราคา ที่มีทิศทาง - Direction
หยิน คือ สงบนิ่ง พักผ่อน เป็นดัง กราฟราคา ที่ ไม่มีทิศทาง - Non-Direction
การก่อเกิดสลับเปลี่ยนแปลงของหยิน-หยาง ฉันใด  กราฟราคา Direction และ Non-Direction ก็สลับปรับเปลี่ยนกันไปตามสภาพของตลาด  ใน Direction ยังซ่อน Non-Direction ไว้  ใน Non-Direction ก็ยังแอบมี Direction อยู่
เมื่อ Direction จนถึงที่สุด ย่อม ต้องกลายมาเป็น Non-Direction และเมื่อพักผ่อนสะสมกำลังใน Non-Direction จนถึงพร้อมแล้ว ย่อมต้องกลับออกมาโลดแล่นอย่างมี Direction
ตลาดหุ้น และตัวหุ้นใดๆ ล้วนไม่พ้นไปจากนี้ จะกว่าจะตายไป

Direction นั้น เป็นการเคลื่อนไหว จะทะยานขึ้น หรือดำดิ่งลง ล้วนเกิด ขึ้นได้ และมี ทิศทาง ของมันอย่างชัดเจน
Non-Direction นั้น อาจจะเป็น การสงบนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวใดๆ หรือจะเป็นการพักผ่อนสะสมกำลัง โดยยังมีการเคลื่อนไหวเล็กๆ อยู่ภายใน ที่ใครๆ ชอบเรียกกันว่า Sideway นั่นเอง

Direction และ Non-Direction มีความสำคัญอย่างแท้จริง เพราะ โอกาสทำกำไรในขณะที่ มี Direction นั้น มีมากมายกว่า Non-Direction จริงๆ  แต่ผู้คนในตลาดมักไม่รู้ว่าตนเอง อยู่ตรงไหน อยู่ใน Direction จริงๆ หรืออยุู่ใน Direction เล็กๆ ที่ซ้อนอยู่ใน Non-Direction และไม่รู้ด้วยว่า Direction นั้น มันจะสิ้นสุดเมื่อไหร่

หากคนผู้ใด ที่รู้ได้ว่าเกิด Direction ขึ้นแล้ว และ Direction ที่เกิดขึ้นนั้น จะเกิดขึ้น แรงแค่ไหน(Price) และเกิดขึ้นนานเท่าใด (Time)  ... คนผู้นั้น คงจะกลายเป็นเซียนเหยียบเมฆเทพจุติ ที่ลงมือครั้งใด สำเร็จผลที่คราวไป...
การที่จะหยั่งรู้ระดับนั้นได้ จำเป็นต้อง มีความรู้ เทคนิคคอล ในระดับสูง  ต้องมีประสพการณ์จากการฝึกฝนอย่างหนัก และต้องมีจิตใจที่มั่นคง มีสติที่แจ่มชัด อยู่เสมอ

ความรู้ เทคนิคคอล ในระดับสูง นั้น เหมือนเป็นอาวุธ ที่มีหลากหลายรู้แบบ ค่ายสำนักมากมาย ปรมจารย์หลายท่านที่เปิดสำนักสอนกันอยู่ สำนักใดจะเปรียบได้ กับสำนักเส้าหลินหรือ บู้ตึ้ง ที่ดูดี มีคุณธรรม หรือจะเป็นพรรคกระยาจก ที่ไม่ได้มีฐานะดี ใช้จังหวะตะลุมบอน ใช้ไม่ตีสุนัขเข้าตีอย่างฉาบฉวย  หรืออาจเป็นสำนักมาร ที่อาจารย์และศิษย์ พร้อมจะหักหลัง แพแตก เมื่อไหร่ ก็ได้
วิชาใครจะดีกว่ากันนั้น ไม่อาจทราบได้ จะต้องใช้ประลองกันในตลาด จึงจะทราบได้
บางคนรู้ ยอดวิชาเดียว แต่แตกฉาน ใช้ได้ อย่างคล่องแคล่ว ก็สามารถ ทำกำไร เอาชนะ คนที่ รู้วิชามากมาย แต่ไม่อาจนำออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
..
ดังนี้แล้ว  Blog นี้ ผมจะถือว่า เป็นผนังถ้ำ ผนังผา อันว่างเปล่า ที่ต่อไปจะค่อยๆ เอาวิชา อันต่ำต้อย มาสลักจารึกไว้ ให้ผู้คนได้ผ่านตา ติชม กันตามสภาพ
แต่การฝึกฝนจำชำนาญ และการรักษาสติ จิตใจ ให้มั่นคง นั้น คงขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลายเองแล้ว
....
..