Wave Riders Technical Course Online

Wave Riders Technical Course Online
เรียน Technical Course online สามาร click ที่ ภาพเลย

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เล่นหุ้นด้วย Technical ดู P/E Ratio ไหม


วันก่อน มีน้องคนหนึ่ง มาถาม ว่า

ใช้เทคนิคอล ซื้อหุ้นยังต้องดู P/E Ratio ไหมครับ ?

แบบนี้ มันต้องตอบ  .... ฮ่า ๆๆ ชอบ คำถามแปลกๆ 


ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจ ก่อนว่า P/E Ratio ที่เราเห็นคืออะไร

     P คือ Price คือราคา ณ ปัจจุบันที่เราเห็น ในการคำนวณ มักจะนำ ราคาปิด Close Price มาใช้

     E คือ Earnings per Share หรือกำไรต่อหุ้น นั่นเอง ซึ่งจะได้ตัวเลขนี้ ทุกครั้งที่มีการประกาศผลประกอบการของกิจการในทุกๆ Quarter

     ราคาหุ้น วิ่งด้วยความคาดหวังของนักลงทุนในตลาด ซึ่งตอบสนองต่อความคาดหวังต่อกิจการในอนาคตของนักลงทุน ถ้าซื้อหุ้นไปราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ ก็แสดงว่า นักลงทุนยังต้องการ และมองความคาดหวังในไปในอนาคต

      P/E Ratio เกิดจากการนำ ราคาปัจจุบัน (P) หารด้วย กำไรต่อหุ้น (EPS) ซึ่ง EPS จะใช้ล่าสุดตามประกาศผลประกอบการแต่ละ Quarter ก็หมายความว่า P/E Ratio ที่เราเห็นมันเป็นสัดส่วนของราคาปัจจุบัน ต่อผลกำไรของกิจการในหลายเดือนที่ผ่านมา แล้วอย่างนี้ จะเอามาดูอะไรได้ เช่น วันนี้เป็นวันที่ 20 ธันวาคม P/E ที่เราเห็นแสดงสัดส่วนของราคาวันนี้ เทียบกับผลประกอบการถึงวันที่ 30 กันยายน (ประกาศงบ Q3)

      ดังนั้นค่า P/E Ratio ที่เราเห็นกัน จึงไม่ได้ตอบอนาคตของกิจการเลย ถ้าราคาเพิ่มขึ้นทุกวัน P/E Ratio ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะตัวหาร EPS ยังเป็นตัวเดิมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะประกาศผลประกอบการรอบถัดไป ถ้าประกาศผลประกอบการรอบถัดไป EPS เพิ่มขึ้น ตัวหารมากขึ้น P/E Ratio ก็จะลดลงทันที แต่ราคามีความคาดหวังขึ้นไปรอแล้ว ราคาจะขึ้นหรือลงหลังจากประกาศผลประกอบการ ไม่ได้อยู่ที่ P/E Ratio เป็นเท่าไหร่ หรือ EPS กำไรของกิจการเป็นเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ผลกำไร ออกมามากกว่า หรือน้อยกว่าที่นักลงทุนคาดหวัง 

        ให้ดูตัวอย่าง KTC ช่วงปี 2554-2555 จะเห็นว่าผลประกอบการของ ปี 2554 ขาดทุน EPS ติดลบ ทำให้ P/E Ratio คำนวณไม่ได้ หรือเป็นศูนย์ นั่นเอง แล้วกิจการก็เริ่มมีกำไรกลับมาในปี 2556 และ 2557



          ถ้าดูราคาหุ้นช่วงปี 2554-2555 จากกราฟจะเห็นว่า ราคาช่วง มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

          ราคาหุ้นยังวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ภาพกราฟด้านล่างบริเวณด้านซ้าย) 
          P/E Ratio ก็ยังขึ้นต่อเนื่องเพราะใช้ EPS ในอดีตมาคำนวณในขณะที่ยังไม่มีการประกาศผลประกอบการออกมา เมื่อมีการประกาศผลประกอบการออกมา ในวันที่ 1 มีนาคม 2555 จะเห็นว่า P/E Ratio กลายเป็น ศูนย์ ไปเลยจาก EPS ติดลบขาดทุน แต่ราคายังขึ้นต่อ จาก 18 บาทไป 22 บาท ก็แสดงให้เห็นชัดว่าราคาที่ขึ้นไปนั้น ไปด้วยความคาดหวัง หรือข่าวดีที่ออกมาจะไม่ใช่การเติบโตของมูลค่ากิจการในระยะยาวแน่นอน





         ในที่สุดราคาก็ถอยลงจากการขายทำกำไร ราคาถอยลงมาจนถึงกลางเดือนมิถุนายน ราคาหยุดลง และราคาค่อยๆ ยกตัวขึ้น แม้ประกาศผล Q1/2555 และ Q2/2555 EPS ยังติดลบ P/E Ratio ยังเป็นศูนย์ แต่ราคาหุ้นก็ยังขึ้นไปด้วยความคาดหวัง จนไปถึง 32 บาทในเดือนพฤศจิกายน (ด้านขวาของกราฟ) ประกาศผล Q3/2555 EPS ก็ยังติดลบ P/E Ratio ยังเป็นศูนย์ แน่นอนว่านักลงทุนบางส่วนเริ่มไม่สมหวัง ขายทำกำไรออกมาราคาลงมาที่ 25 บาท


          ในช่วงเวลาเดือนธันวาคม 2555 ถึง กุมภาพันธ์ 2556 (กราฟด้านล่าง) ก็มีข้อมูลใหม่เข้ามาให้นักลงทุน หรือข่าวดีนั่นล่ะ ว่าภายในปี 2555 ผลประกอบการจะกลับมามีกำไร และจะมีอย่างนั้น มีอย่างนี้เกิดขึ้นในปี 2556 ราคาหุ้นก็ถูกไล่ซื้อด้วยความคาดหวังขึ้นจาก 25 บาทไปถึง 50 บาท ราคาวิ่งนำหน้าไปอีกแล้ว จนประกาศผล Q4/2555 ออกมา EPS +0.99 บาทต่อหุ้น P/E Ratio กลายเป็น 43.73 ทันที 

         นักลงทุนก็ตอบรับทันที ด้วยการเทขายออกมา แล้วปี 2556 ทั้งปีราคาก็เหวี่ยงขึ้นลงๆ ในกรอบราคาระหว่าง 31 บาท กับ 48 บาท ส่วน P/E Ratio ก็ปรับลดลง ทุกครั้งที่มีการประกาศผมประกอบการ เพราะกำไรต่อหุ้น EPS เพิ่มขึ้นในทุกๆ Quarter จนประกาศผล Q2/2556 ในเดือนสิงหาคม 2556 P/E Ratio กลายเป็น 9.88 และกลายเป็น 6 กว่าในเดือนธันวาคม 2556



          จากที่อธิบายมาทั้งหมด จะเห็นแล้วว่า ราคาหุ้นจะตอบสนองข่าวดีแล้วความคาดหวังในอนาคต แต่ P/E Ratio จะปรับตัวตามผลประกอบการจริงที่ผ่านมาแล้วในอดีต 

        การดูว่า P/E Ratio ตอนนี้สูงมากแล้วไม่น่าซื้อ เพราะราคามัน Overvalue อาจจะเป็นจริงในแง่ของการซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว แต่การใช้เทคนิคอลในการเก็งกำไรระยะสั้น P/E Ratio ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ในทางกลับกัน P/E Ratio แค่ 12-14 เท่าเอง ในช่วงต้นปี 2555 ของ KTC ที่ราคาก็ยังต่ำ และมีแนวโน้มจะวิ่งขึ้น ก็ไม่ได้บอกว่า ผลประกอบการจะออกมาเป็นอย่างไร

         การดู P/E Ratio เพียงขณะใดขณะหนึ่งจึงได้ประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจน้อยมาก เพราะถ้าจะนำมาประกอบในการพิจารณาร่วมกับกราฟเทคนิคอลแล้ว ต้องดูการเปลี่ยนแปลงของ P/E Ratio ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

          ในการลงทุนที่จะซื้อถือหุ้น Run Trend เราจะใช้กราฟในการมองหา กิจการที่มีพื้นฐานดี พร้อมจะเติบโตในอนาคต และมีราคาที่กำลังพักตัวออกข้าง วิ่งอยู่ในกรอบและพร้อมที่จะขยับวิ่ง Break Out ให้เราเข้าซื้อได้ตั้งแต่ต้น Trend 

           ดังนั้นถ้าเราพบว่า ราคาหุ้นออกข้างไปไปไหนนานๆ แล้วพบว่า P/E Ratio ลดลงในทุกครั้งที่มีการประกาศผลประกอบการ แสดงว่า กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุก Quarter แต่ราคายังไม่ไปไหนคือยังไม่มีใครให้ความสนใจ 
          ฮึๆๆ นี่มันเหมือนยิ่งกว่าเจอเพชรในโคลน อีก จะใช้ P/E Ratio กับเทคนิคอล ก็ให้มันเป็น ใช้แบบนี้  ... จะได้ รวย 5 เด้ง ...




Wave Riders Pui

.
.
.
.










วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Select Sector by Technical อยากรู้ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนน่าลงทุนทำยังไง


ความรู้ด้านเทคนิคอล มีวิธีดูยังไงว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนน่าลงทุน ?


    โดน ถาม แบบนี้  .... คงต้องมี คำตอบ ให้ ....
     วิธีดูว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนน่าสนใจลงทุน มีวิธีทางเทคนิคอลง่ายๆ คือ เปิดดูกราฟ ของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นโดยตรงเลย 
      ตัวอย่างถ้าเราสนใจกลุ่ม Automotive เป็นอย่างไร ก็สามารถเรียกดูกราฟของ Auto Sector ได้เลย ตามตัวอย่างภาพด้านล่าง จะเห็นว่า Auto Sector ในขณะนี้ แท่งราคาเคลื่อนที่แกว่งตัวออกไปด้านข้าง แสดงว่า อยู่ในสภาพ Sideway ดังนั้นกลุ่มนี้จึงยังไม่น่าสนใจนัก




        หรือกลุ่มวัสดุก่อสร้าง CONMAT ก็จะเห็นดังภาพกราฟตัวอย่าง จะเห็นว่า กราฟของ CONMAT Sector เพิ่งจะขยับ New High ผ่านยอดสูงเดิมขึ้นมากได้ ก็แสดงว่า เริ่มเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ราคาหุ้นมาการขยับตัวน่าสนใจ 




       

        อย่างนี้แล้วเราสามารถทำกราฟของทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เก็บไว้ แล้วดูกราฟสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้งก็สามารถเห็นความเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ ทำให้เราไม่พลาดโอกาสดีๆ ในการลงทุน




Wave Riders Pui

.
.
.