Wave Riders Technical Course Online

Wave Riders Technical Course Online
เรียน Technical Course online สามาร click ที่ ภาพเลย

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Resistant , Support and Trading Range - Part 3

ห่างจากการตีแนวรับแนวต้านกันไปพอสมควร จาก Part 1:  Resistant, Support - Part 1   และ
 Part 2 :   Resistant, Support - Part 2

มาคุยกันต่อ ถึงการตีเส้นแนวนอนธรรมดา แต่ใช้ประโยชน์ในการเป็นสัญญาณ ซื้อ หรือขาย กันได้ง่ายๆ.  วิธีที่จะพูดถึงการตีที่ แกป (Gap)

วิธีที่สอง : ตีเส้นที่แกป (Gap)

ราคาหุ้นตอนที่เปิดตลาด ตอนเช้า หรือเปิดตลาดช่วงบ่าย เรามักจะพบราคาเปิดนั้น แตกต่างจากราคาของช่วงก่อนหน้า  ราคาเปิดสูงกว่าแท่งราคาก่อนหน้า ก็เปิดกระโดดขึ้น (Gap Up) หรือราคาเปิดต่ำกว่าแท่งราคาก่อนหน้า ก็เปิดกระโดดลงมา (Gap Down) ทำให้กราฟ เกิดแท่งราคาที่ ห่างกัน เปิดเป็นช่อง (Gap) ให้เห็น ทำให้ช่วงราคาตรงแกป ที่ถูกกระโดดข้ามไปนั้น ไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น. สาเหตุของการเกิด Gap มีได้จากหลากหลายปัจจัย จากข่าว หรือจากเหตุการณ์ หรือจากผลประกอบการ แต่ก็ล้วนทำให้นักลงทุนคาดหวังราคา ในวันถัดไปแตกต่างจากราคาในวันก่อนหน้า คาดหวังสูง ราคาเปิดก็ขึ้นเยอะ. คาดหวังว่าเลวร้าย ราคาเปิดก็ลงเยอะ


     


เมื่อเกิดการเปิดแกป (Gap) ช่องว่างของราคานั้นล่ะ ที่จะกลายเป็น แนวรับแนวต้าน ถ้าเปิด Gap ขึ้น ช่องว่างก็เป็น "แนวรับ" (Support Line)  เมื่อเปิด Gap ลง ช่องว่างก็กลายเป็น "แนวต้าน" (Resistant Line)  การตีเส้นแนวรับแนวต้าน ใน Gap ก็จะตี แบบนี้

กรณีเปิด Gap ขึ้น ให้ตีเส้นแนวนอน ที่ จุดสูง (high) ของขอบ ล่าง ของช่องว่าง






กรณีเปิด Gap ลง ให้ตีเส้นแนวนอน ที่ จุดต่ำ (Low) ของขอบ บน ของช่องว่าง 



เมื่อเวลาผ่านไป แท่งราคา เปลี่ยนทิศ กลับมาในช่องว่าง เมื่อแท่งราคาปิดช่องว่าง และแท่งราคาตัดเส้น แนวรับแนวต้านที่แกป ก็ถือเป็นการยืนยันการเปลี่ยนทิศทาง. เรียกว่า "ปิดแกป" (Gap Filled) or ( Closed Gap)