http://waveridersclub.blogspot.com/2013/04/history-of-technical-analysis.html
จนถึงปัจจุบัน วิชาการด้าน Technical Analysis ก็เริ่มแตกยอดทางความคิด ต่างๆ ออกมามากมาย แต่โดยภาพรวมแล้ว Technical Analysis แต่ละอย่างที่ถูกคิดค้นขึ้นมานั้น เป็นการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงสถิติของการเคลื่อนที่ของราคา แล้วปริมาณการซื้อขาย ในสภาพต่างๆ ของตลาด และคำนวณ วิเคราะห์ในเชิงสถิติ สร้างเครื่องมือ Indicator และทฤษฎีต่างๆ ขึ้นมา ในการอ่านค่าจะกราฟ ซึ่งแสดงพฤติกรรมราคาหุ้น ที่เคลื่อนไหว ในแต่ละวัน
วิชาการเหล่านี้ บ้างก็เป็นที่ถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ นานา ถึงความถูกต้องแม่นยำ ถึงการตีความ ตามความหมายของผู้ที่ได้เรียนรู้ ว่าถูกต้องเป็นไปตาม หลักการ ของผู้คิดค้นทฤษฎี ต่างๆ หรือไม่
จนเกิดเป็นความต้องการที่จะต้องการ การบ่งชี้ว่า คนที่เรียนตัวว่าเป็น กูรู เป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิค เหล่านี้ ที่ให้ความเห็น หรือให้คำแนะนำกับนักลงทุน หรือเปิดสอนความรู้ต่างๆ เป็นผู้ที่มีความรู้จริง ในทางเทคนิคอล หรือไม่
จนกลายเป็น ต้องมีหลักเกณฑ์ ในการวางมาตรฐานรับรองความรู้ ทางเทคนิคอล กัน เพื่อเป็นการยืนยันให้กับ องค์กรที่จะจ้างนักวิเคราะห์ เหล่านี้ไปทำงาน หรือให้เขียนบทวิเคราะห์ หรือ ให้ดูแลพอร์ท การลงทุน และได้รับการยอมรับจากนักลงทุน โดยทั่วไป
องค์กรสากล ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ในการให้การรับรองความรู้ด้าน Technical Analysis มีหลักๆ 2 องค์กร ได้แก่
1. IFTA (International Federation of Technical Analysts)
http://www.ifta.org