การเกิด Gap สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในกราฟรายวัน (Daily Chart) ราคาปิดไปที่ราคาหนึ่ง แล้ววันรุ่งขึ้น เปิดกระโดดขึ้นหรือลงไปที่อีกราคาหนึ่ง หรือกราฟรายสัปดาห์ (Weekly Chart) ราคาวันศุกร์ปิดไปที่ราคาหนึ่ง แล้ววันจันทร์เปิดตลาดแล้วกระโดดขึ้นหรือลง ไปที่ราคาที่ต่างออกไปเลย หรืออาจจะเกิดในช่วงที่มีวันหยุดยาวหลายๆ วันก็ได้ เพราะในประเทศตลาดปิด แต่ต่างประเทศไม่ได้ปิดด้วย พวกนี้ก็จะเกิดกับกลุ่มที่อ้างอิงกับตลาดต่างประเทศ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค เรื่องของ Gap Analysis มีการแยกประเภทของ Gap ไว้เป็น 4 ประเภท คือ
1. Common Gap หรือ Area Gap
2. Breakaway Gap
3. Continuation Gap หรือ Runaway Gap
4. Exhaustion Gap
Credit Picture : http://en.wikipedia.org/wiki/Gap_(chart_pattern)
เมื่อเจอ Gap ไม่ต้องตกใจ ว่าราคากระโดดเพราะอะไร ให้ Action ก่อน หาสาเหตุทีหลัง ขอสรุปการใช้ Gap ไว้อย่างนี้
ถ้าราคากำลังวิ่งขึ้นลงระหว่างแนวรับแนวต้าน หรือราคา Sideway ไม่มี Volume ซื้อขาย แล้วเจอราคากระโดดเป็น Gap อยู่ในแนวรับแนวต้าน ไม่ว่าจะ Gap Up หรือ Gap Down ให้คิดไว้ก่อนว่า เป็น Common Gap และไม่ต้องทำอะไร
ถ้าราคากำลังวิ่งขึ้นลงระหว่างแนวรับแนวต้าน หรือราคา Sideway แล้วราคาขยับเข้าใกล้แนวรับ หรือแนวต้าน แล้วราคากระโดดข้ามแนวรับ หรือแนวต้านไปเลย ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็น Breakaway Gap แล้วดูใน Time Frame ที่เล็กลงไป ดู Throwback หรือ Pullback ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเปิดกระโดด เมื่อ Throwback หรือ Pullback จบแล้ว ราคาขยับ New High หรือ New Low ไปในทิศทางที่กระโดด เกิด Entry Signal ก็จะเป็นจังหวะเข้าได้
จากในภาพ จะเห็นว่า ราคาหุ้นใน Daily Chart ด้านขวาเกิด Breakaway Gap จะเห็นว่าแท่งราคาที่เปิดกระโดดขึ้นมามี Volume มากขึ้นชัดเจน เมื่อดูใน 60min-Chart ด้านซ้าย เป็นการขยายในกรอบสีเขียว หลังจาก Breakaway Gap ก็รอจน Throwback จบแล้ว ราคา Break Out New High ขึ้นไปต่อ ก็ถือว่าเป็น Buy Signal เข้าซื้อ แท่งราคาที่ Break Out ก็มี Volume เพิ่มขึ้นมากด้วย เป็นการยืนยันการวิ่งขึ้นต่อไป
อ้าว!! บางคนสงสัย ว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพอราคามันเปิดกระโดดไป แล้ว เป็น Continuation Gap หรือ Exhaustion Gap …อืม...??
Continuation Gap และ Exhaustion Gap เมื่อเปิดกระโดดแล้วจะมีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้น ทั้งสองกรณี แต่จะต่างกันที่ Continuation Gap จะมีปริมาณซื้อขาย ตามทิศทางที่กระโดด แต่ Exhaustion Gap จะมีปริมาณซื้อขายตรงข้ามกับทิศทางที่กระโดด
Exhaustion Gap ที่เปิดกระโดดขึ้น แต่จะพบ Volume Sell มากขึ้น แล้วเทขายกดราคาลงมาจนราคาปิด Gap แล้วก็ลงแรงเลย ถ้าเปิดกระโดดลง จะพบ Volume Buy เข้ามาซื้อมากขึ้นๆ ค่อยๆเติมซื้อ จนราคายกขึ้นมาปิด Gap แล้วราคาก็วิ่งขึ้นหลังจาก ปิด Gap
ถ้าราคาวิ่งมาไกลแล้ว ราคาเปิดกระโดด ไม่ว่ากระโดดขึ้น หรือกระโดดลง ให้สงสัยว่าเป็น Exhaustion Gap ไว้ก่อน แล้วดู Volume กับ Throwback หรือ Pullback ใน Time Frame ที่เล็กลงไป ถ้าเห็นมี Volume สวนกับทิศทาง และราคาเริ่มปิด Gap เป็นการยืนยันการเป็น Exhaustion Gap เมื่อปิด Gap แล้วราคาจะวิ่งไปอย่างแรง แสดงว่าเกิด Exit Signal
ในขาขึ้น เปิด Gap กระโดดขึ้น แล้วราคาถอยลงแรงจนปิด Gap พร้อมแรงขายมากมาย ถ้าเจอแบบนี้ มีหุ้นให้เริ่มขายออก แต่ต้องเข้าใจไว้ก่อนว่า Exhaustion Gap ที่ปิดไปนั้น ไม่ใช่ Entry Signal ไม่ใช่สัญญาณที่จะมาเปิด Short Sell ตรงนี้
ส่วน Exhaustion Gap ในขาลง ราคาจะเปิดกระโดดลง แต่แรงขายจะหายไป จะมีแรงซื้อกลับเพิ่มขึ้น แล้วดันราคาวิ่งขึ้นจนปิด Gap แล้วก็เริ่มขึ้นต่อไป และอย่างที่บอกไว้แล้วว่า ตรงนี้ไม่ใช้เป็น Entry Signal ก็แปลว่า Gap ที่ปิดไปนั้น ไม่ใช่ Buy Signal ในการเข้าซื้อ
แต่ถ้าราคาวิ่งมาแล้ว เปิด Gap แล้วดูใน Time Frame ที่เล็กลงไปแล้ว เห็นทำ Throwback หรือ Pullback จบแล้ววิ่งไปต่อ พร้อม Volume ที่มากขึ้นก็แสดงว่าเป็น Continuation Gap ซึ่งสามารถประมาณการวิ่งของราคาต่อไปได้ ตามภาพด้านล่าง จะเห็นว่าระยะห่างราคาจากกึ่งกลาง Breakaway Gap ที่จุด A ไปจนถึงกึ่งกลาง Continuation Gap ที่จุด B ราคาจะวิ่งต่อไปเท่ากับระยะราคา AB โดยประมาณไปยังจุด C (ระยะ AB = ระยะ BC)
อ้าว!! บางคนสงสัย ว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพอราคามันเปิดกระโดดไป แล้ว เป็น Continuation Gap หรือ Exhaustion Gap …อืม...??
Continuation Gap และ Exhaustion Gap เมื่อเปิดกระโดดแล้วจะมีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้น ทั้งสองกรณี แต่จะต่างกันที่ Continuation Gap จะมีปริมาณซื้อขาย ตามทิศทางที่กระโดด แต่ Exhaustion Gap จะมีปริมาณซื้อขายตรงข้ามกับทิศทางที่กระโดด
Exhaustion Gap ที่เปิดกระโดดขึ้น แต่จะพบ Volume Sell มากขึ้น แล้วเทขายกดราคาลงมาจนราคาปิด Gap แล้วก็ลงแรงเลย ถ้าเปิดกระโดดลง จะพบ Volume Buy เข้ามาซื้อมากขึ้นๆ ค่อยๆเติมซื้อ จนราคายกขึ้นมาปิด Gap แล้วราคาก็วิ่งขึ้นหลังจาก ปิด Gap
ถ้าราคาวิ่งมาไกลแล้ว ราคาเปิดกระโดด ไม่ว่ากระโดดขึ้น หรือกระโดดลง ให้สงสัยว่าเป็น Exhaustion Gap ไว้ก่อน แล้วดู Volume กับ Throwback หรือ Pullback ใน Time Frame ที่เล็กลงไป ถ้าเห็นมี Volume สวนกับทิศทาง และราคาเริ่มปิด Gap เป็นการยืนยันการเป็น Exhaustion Gap เมื่อปิด Gap แล้วราคาจะวิ่งไปอย่างแรง แสดงว่าเกิด Exit Signal
ในขาขึ้น เปิด Gap กระโดดขึ้น แล้วราคาถอยลงแรงจนปิด Gap พร้อมแรงขายมากมาย ถ้าเจอแบบนี้ มีหุ้นให้เริ่มขายออก แต่ต้องเข้าใจไว้ก่อนว่า Exhaustion Gap ที่ปิดไปนั้น ไม่ใช่ Entry Signal ไม่ใช่สัญญาณที่จะมาเปิด Short Sell ตรงนี้
ส่วน Exhaustion Gap ในขาลง ราคาจะเปิดกระโดดลง แต่แรงขายจะหายไป จะมีแรงซื้อกลับเพิ่มขึ้น แล้วดันราคาวิ่งขึ้นจนปิด Gap แล้วก็เริ่มขึ้นต่อไป และอย่างที่บอกไว้แล้วว่า ตรงนี้ไม่ใช้เป็น Entry Signal ก็แปลว่า Gap ที่ปิดไปนั้น ไม่ใช่ Buy Signal ในการเข้าซื้อ
แต่ถ้าราคาวิ่งมาแล้ว เปิด Gap แล้วดูใน Time Frame ที่เล็กลงไปแล้ว เห็นทำ Throwback หรือ Pullback จบแล้ววิ่งไปต่อ พร้อม Volume ที่มากขึ้นก็แสดงว่าเป็น Continuation Gap ซึ่งสามารถประมาณการวิ่งของราคาต่อไปได้ ตามภาพด้านล่าง จะเห็นว่าระยะห่างราคาจากกึ่งกลาง Breakaway Gap ที่จุด A ไปจนถึงกึ่งกลาง Continuation Gap ที่จุด B ราคาจะวิ่งต่อไปเท่ากับระยะราคา AB โดยประมาณไปยังจุด C (ระยะ AB = ระยะ BC)
คราวนี้ เวลาที่เจอราคาเปิดกระโดด ไม่ต้องงง ไม่ต้องตกใจกันแล้ว แต่น่าจะเปลี่ยนเป็นดีใจที่ได้เห็นโอกาสของช่องว่าง และใช้โอกาสนั้นกันอย่างคุ้มค่าที่ได้พบเห็นกัน ....จัดไป ลุย โลด
Wave Rider Pui
บทความแนะนำ
1. Clip How Pro Trading
2. ความเสี่ยงจำกัด... ผลตอบแทนไม่จำกัด
3. เทรดง่ายๆ ด้วย Three Line Break Chart
<---- Previous ... The Fractal : ฝ่ามือเทรด
----> Next : ....
.
.
ขอบคุณครับ สำหรับวิทยาทานนี้
ตอบลบขอดวงปัญญาจงเพิ่มพูนแก่ผู้ให้ความรู้เป็นทาน ต่อไปด้วยครับ
ไม่ทราบว่าหลักการนี้สามารถนำมาใช้กับ S50 TF60 ได้ด้วยหรือไม่ครับ
เพราะบ่อยครั้งเคย short ตามน้ำไปทันทีที่ทำ gap เปิดตลาด
แต่แล้วแท่งราคาถัดไปกลับค่อย ๆ ซึมขึ้นมาจนมาปิด gap ได้ในช่วงบ่าย
ณ นาทีนั้น เกิดความกลัวว่า นี่มันปิด gap ได้แล้วนี่ ซึ่งก็น่าจะวิ่งไปในทิศทางนั้นต่อเป็นแน่
เลยปิดสัณญาณไปพร้อมกับเข้าเนื้อเกือบ 10 จุด ซึ่งมันก็ขึ้นไปต่ออีกนิดหน่อยจนหมดวัน
แต่พอวันรุ่งขึ้นก็ทำอาการแบบเดียวกันอีก คือเปิด gap ลงมาด้านล่าง
.
.
.
ยังไม่เข็ดบวกกับคิดว่า มันจะโดนแบบนี้ได้ทุกไม้เชียวหรือ
สุดท้ายก็โดนอีกจริง ๆ นั่นแหละ . . .
หลังจากนั้นเวลาเจอ gap ทีไม่กล้า take action อะไร
ต้องรอเข้าเวลาที่เห็นชัด ๆ ว่ามันไหลขึ้นหรือลงเป็นแท่งยาว ๆ ผ่านแนวรับ-แนวต้าน
หรือ trend line ก็แล้วแต่ที่เราลากไว้ ถ้าเปิดทำ gap หลุดแนวรับแนวต้านกลับไม่กล้าเข้า
แสดงว่าต่อไปถ้า TF60 เปิด gap ยังไม่ต้องรีบเข้า แต่ให้ดู volume แท่งถัด ๆ ไป
พร้อมกับเปิด TF เล็กสัก 10 นาทีอีกหน้า แล้วดูการแกว่งประมาณนั้นหรือเปล่าครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
บทความดีมากๆ เลยครับ ขอบพระคุณครับ
ตอบลบ