Wave Riders Technical Course Online

Wave Riders Technical Course Online
เรียน Technical Course online สามาร click ที่ ภาพเลย

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

The Fractal : ฝ่ามือเทรด


           จุดกลับตัวของราคา จึงมีความสำคัญในการนำมาช่วยในการพิจารณาแนวโน้ม และกำลังของแนวโน้มได้เช่นกัน และจุดกลับตัวยังใช้ในการพิจารณาตีเส้นแนวรับ (Support Line) เส้นแนวต้าน (Resistant Line) และเส้นแนวโน้ม (Trend Line) อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายถึงหลังจากนี้ ดังนั้นการหาจุดกลับตัวของราคาจึงเป็นสิ่งจำเป็นของการใช้กราฟเทคนิคอล

            แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าจุดกลับตัวอยู่ตรงไหน เป็นยังไง

            ย้อนไปครั้งที่เรียน เทคนิคอลเป็นครั้งแรก ผมมีปัญหาเรื่องการหาจุดกลับตัวในกราฟก็เกิดคำถามเหมือนกันว่า จะรู้ได้ยังไงจุดกลับตัวมันอยู่ตรงไหน ได้คำตอบมาจากอาจารย์ว่า “มันอยู่ในฝ่ามือ” .... อ๊ะ!!! ยังไงกัน จุดกลับตัวในกราฟ มันจะมาอยู่ในฝ่ามือได้ยังไง ?? !!...

            ลองหงายฝ่ามือซ้ายขึ้นมาสิ แล้วมองไปที่นิ้วทั้งห้า จะเห็นว่านิ้วกลางปลายนิ้วสูงที่สุด นิ้วชี้นิ้วโป้งต่ำลงมาทางซ้าย นิ้วนางนิ้วก้อยต่ำลงมาทางขวา มือของคนเราปกติก็เป็นแบบนี้กันทุกคน

           คราวนี้กลับไปมองกราฟ ลองมองหาแท่งราคาที่เรียงกัน 5 แท่ง แบบนิ้วมือของเรา แท่งราคาตรงกลางที่สูงที่สุดเปรียบเทียบกับนิ้วกลาง แท่งราคาทั้งสองด้านที่ลดต่ำลงไป เปรียบได้กับ นิ้วโป้งนิ้วชี้ และนิ้วนางนิ้วก้อย ดังนั้น High Price ของแท่งราคานิ้วกลาง ก็คือ จุดกลับตัว (Pivot Point) นั่นเอง




            อัยย่ะ?!! ….. เล่นกันง่ายๆ เยี่ยงนี้ เลยรึ ???

            เมื่อราคาเข้าใจถึงความสำคัญของจุดกลับตัวบนกราฟราคาแล้ว การจะหาจุดกลับตัว ที่มีรูปแบบการเรียงตัวของแท่งราคา โดยใช้การเปรียบเทียบกับนิ้วมือบนฝ่ามือนั้น เทคนิคในหาจุดกลับตัวแบบนี้ ศัพท์ทางเทคนิคอล เรียกว่า ‘Fractal’ เพื่อความชัดเจน เรามักจะใส่เครื่องหมาย ‘ ^ ’ เอาไว้ที่ แท่งนิ้วกลาง หรือปลายของแท่งกลาง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า แท่งราคานี้เป็นจุดกลับตัว

            ดร.บิล วิลเลี่ยมส (Bill Williams, Ph.D.) เป็นคนแรกที่นำเสนอวิธีการหาจุดกลับตัว ด้วยวิธีการ ‘Fractal’ เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fractal ได้จากหนังสือ Trading Chaos ; Applying Expert Techniques To Maximize Your Profits by Bill Williams, Ph.D.)

       

               กราฟราคามันไม่ได้ กลับตัวกันเป็น 5 แท่งเรียงกัน อย่างนั้นทุกครั้ง เมื่อดูแท่งราคากันไป เราก็มักจะมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วแท่งราคาสีแดง สีเขียว หรือแท่งที่มีไส้เทียนยาว หรือ แท่งราคาเป็น Doji หรือ Hammer หรือ Shooting Star มันมีผลแตกต่างกันไหม (รูปแบบราคาต่าง อธิบายอยู่ใน “โต้คลื่นหุ้น...รู้ทันเทคนิค”)

              จะบอกว่าที่จริงแทบไม่มีผลแตกต่างกันเลย จุดสังเกต คือ ในกรณีราคากำลังวิ่งขึ้น แล้วมีแท่งราคา 5 แท่งเรียงกัน ที่มี High Price ของแท่งตรงกลางสูงที่สุด แล้ว Low Price ของแท่งที่ 1, 2 ต่ำลงกว่าแท่งที่ 3 และ High Price ของแท่งที่ 4, 5 ลดต่ำลงกว่าแท่งที่ 3 เป็นใช้ได้แล้ว ส่วนแท่งที่3 อาจจะเป็นกลุ่มของแท่งราคาที่มี High Price Low Price เท่าๆ กันก็ได้


วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จะขึ้นเขา ... อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย... จะได้ไม่ติดดอย

...   ในตลาดขาลง หรือตลาดหมี ใครๆ ก็เศร้า เหงา เฉา ติดดอย ... ปลอบใจกันไป ... ซับน้ำตากันไป ...
แต่พอตลาด เปลี่ยน กลับมาเป็นขาขึ้น หรือตลาดกระทิง ก็เริ่มคึกคัก ลุ้นลงจากดอยกันใหญ่ ...
พอราคาเท่าทุน หรือได้กำไร นิดหน่อย ก็รีบขายกัน ซะแล้ว ...
....  เวลาตลาดขึ้น ถ้าจะซื้อ ก็ถือไปได้ ไม่เห็นจะต้องรีบขายเลย ถ้ามันยังไม่ถอยลงมาก็ถือลุ้นกันไป ... ถ้าราคาถอยลงมา ก็ต้องมีแนวราคาที่จะใช้ตัดสินใจว่า จะถือต่อ หรือขายซะ ...​
แต่แนวราคาที่ว่า มัน ตรงไหน กันล่ะ ...
.
.. ในการเทรดด้วยเทคนิคคอล เป็นเรื่องจะเป็น ที่ก่อนเข้าซื้อ ต้องทำ แผนการเทรด (Trading Plan) ทุกครั้ง จะต้องมี ราคาซื้อ (Entry Price) , ราคาที่จะหยุดขาดทุน ( Initial Stop) และ จำนวนที่จะซื้อ (Position Size) เป็นแผนไว้อย่างชัดเจน ก่อนที่จะซื้อเสมอ
.. ไม่มี สาม อย่างนี้ ถือว่า แผนการเทรด (Trading Plan) มันไม่ครบ ...

ปัญหา ส่วนใหญ่ ของมือใหม่หัดเทรด ก็คือ

- มีแต่ราคาซื้อ อย่างเดียว ... พอราคาลง ก็ทำอะไรไม่ถูก ก็รับความเสี่ยงไปเต็มๆ หรือ
- มีราคาซื้อ มีราคาหยุดขาดทุน แต่ตั้งราคาไม่เหมาะสม พอราคาถอยมาโดน ก็ขาย แล้ว ราคามันก็เด้งกลับ .. แบบนี้ ต้อง ทบทวนว่าตั้งราคายังไง
- มีราคาซื้อ มีราคาหยุดขาดทุน แต่ไม่คำนวณ จำนวนที่จะซื้อ เพื่อจำกัดความเสี่ยง ทำให้ซื้อเยอะเกิน OverTrade โดยไม่รู้ตัว ....​
- หรือ มีแผนอย่างดี ครบทั้งสามอย่าง .. แต่ไม่มีวินัย ไม่ทำตามแผน ราคาถอยมาถึงราคาที่ต้องขาย ก็ไม่ยอมขาย เสียดาย ต่อรองราคา ... กลายเป็น พอราคาถอยเยอะๆ ลงเร็ว ก็ เกินจุดที่จะกล้าขาย ... กลายเป็น กัดฟัน ถือลงทุน ก็ได้ (ว่ะ)

... ราคาหยุดขาดทุน (Initial Stop) ก็จะเป็น ประเด็นสำคัญ ที่จะช่วยจำกัดความเสี่ยงได้ แล้วจะตั้งราคาตรงไหน กัน ล่ะ ...​ ที่จริง ด้วยความรู้ทางเทคนิคคอล มันก็สามารถนำใช้ใน ได้ หลากหลาย เช่น
ใช้แนวรับ แนวต้าน (Support - Resistant) เป็นแนวหยุดขาดทุนก็ได้ (อ่านได้จาก บทความ Resistant and Support Part 1 , Resistant and Support Part 2 ,  Resistant and Support Part 3 )
..
.. หรือ อาจจะใช้ เส้นค่าเฉลี่ย Moving Average มาช่วยในการวางราคาหยุดขาดทุนก็ได้ โดยปกติ ถ้าหุ้นตัวไหน ที่ซื้อขาย ทำกำไร เป็น รอบก็อาจจะใช้ เส้น EMA15  เป็นแนวรองรับเคลื่อนที่ (Dynamic Support)  หรือ ถ้า จะซื้อเพื่อถือลงทุน ตามแนวโน้มรอบใหญ่ ก็อาจจะใช้ เส้น EMA35 มาช่วยดูก็ได้ ...
ซึ่งถ้า ราคาขยับขึ้นไปเรื่อย เส้นค่าเฉลี่ย ก็จะวิ่งตามขึ้นไปเอง ...​ถ้าราคาถอยมา แล้ว ราคาปิด (Close) มันยืนบนเส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้ ก็ขายไปซะ .
.
... พอบอกอย่างนี้ ก็มีปัญหา มาถามกันอีกว่า แล้ว ถ้า ราคามันตกเส้นระหว่างวัน จะ ทำยังไง ต้องราคาปิดวันไหม ... เรื่องแบบนี้ มันก็ไม่ได้ มีสูตรสำเร็จ หรอกนะ ....  มันก็ อยู่ที่ประสบการณ์ของแต่ละคนเองว่าสามารถตีความกราฟ ได้ดีขนาดไหน ..​โดยส่วนตัว จะดู Volume Buy ประกอบด้วย ถ้า Volume Buy กับ Sell มันมียอดพอๆ กัน ก็รอลุ้นจนจบแท่งราคานั้น .. แต่ถ้า Volume Sell มากกว่า Buy แบบ 35/65 หรือ 30/70 ขึ้นไป ก็อาจจะไม่ต้องรอจบวัน ก็ได้ ราคาหลุดเส้นลงมา พร้อม Volume Sell ทะลัก ก็โยนซ้าย ตามไปเลย จ้า ...​ไม่ต้องตั้งขาย ..​รอเด้ง
.
..​   มีอีกวิธี นึง ที่จะเอามาใช้บ่อยๆ ...​ก็คือ  ใช้ Safety Belt ....  นั่งรถขึ้นเขา เดินทาง เพื่อความปลอดภัย เรายังคาดเข็มขัดนิรภัย ... แล้วทำไมเวลา เทรดหุ้น จะคาดเข็มขัดนิรภับบ้างไม่ได้ ...
วิธี วาง แนว Safety Belt ก็คือ ...​ดูว่าเวลาราคาขยับขึ้นมาต่อเนื่อง  ก็เอาแท่งทีมีราคา Low ที่สูงสุด  ไว้เป็นหลัก แล้วดูราคา Low price ของแท่งนั้น ..  แล้วดูราคาถอยไปทางซ้าย มองหาแท่งราคาที่มีราคาต่ำ Low price อยู่ต่ำกว่า ลงไป 2 แท่ง  เอาราคา Low Price ของแท่งนั้นเป็น แนวราคา Safety Belt
...

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Intrinsic Value VS Market Price



            นักลงทุนแบบเก็งกำไร ก็ต้องเรียนรู้ตนเอง และเรียนรู้วิธีการที่เหมาะกับตนเอง ในการเลือกวิธีการลงทุนในแบบฉบับของตนเอง เพื่อที่จะสร้างผลกำไรสูงสุดได้ ไม่ว่าจะด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือการวิเคราะห์ทางเทคนิค ก็เป็นการนำความรู้มาประเมินความน่าจะเป็นของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นในอนาคต การกำหนดแผนการลงทุน จึงจำเป็นที่นักลงทุนจะต้องทำ เพื่อกำหนดราคาที่จะซื้อ จำนวนหุ้นที่จะซื้อ ราคาที่ยังถือต่อหรือขายทิ้ง และเป้าราคาที่จะขายทำกำไร ก็ต้องมีการกำหนดให้ชัดเจน และปรับปรุงให้เข้ากับสถานะการณ์ที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา

            การใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน มาเก็งกำไรราคาหุ้นในอนาคต ก็สามารถทำได้ แต่อาจจะต้องมองเป็นการซื้อและถือมากกว่า จะซื้อขายบ่อยๆ เป็นรอบเล็กๆ คงไม่ได้ เพราะข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการประเมินสถานะการณ์นั้น กิจการจะมีการแสดงงบการเงินแสดงผลประกอบการทุกๆ 3 เดือน ดังนั้นนักลงทุนในแนวทางนี้ จึงต้องสามารถจำลองสถานะการณ์ของกิจการในอนาคต ประมาณการรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร/ขาดทุนของกิจการในอนาคต และประเมินความน่าจะเป็นของ มูลค่ากิจการ หรือมูลค่าที่เหมาะสม (Intrinsic Value) ของราคาหุ้นนั้นๆ ออกมา ซึ่งถ้าเป็นกิจการที่ไม่ซับซ้อน ก็สามารถทำได้ไม่ยากนัก แต่ก็ต้องระวังด้วยว่า กว่างบการเงินของกิจการจะออกมา ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนความคาดหวังในกิจการไปเรียบร้อยแล้วก็ได้ หรือราคาหุ้นอาจจะวิ่งเกินราคาที่เหมาะสมไปแล้วก็ได้

            ส่วนการใช้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เป็นการใช้ราคาซื้อขาย และปริมาณการซื้อขายที่ผ่านมา นำไปคำนวณด้วยเครื่องมือคำนวณทางสถิติต่างๆ แสดงผลออกมาเป็นกราฟ เป็นภาพแสดงผลในลักษณะต่างๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นของราคาหุ้น วิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้นว่าแนวโน้มของราคากำลังอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง ซึ่งสามารถใช้กราฟ Time Frame ที่แตกต่าง มาวิเคราะห์แนวโน้มราคาในระยะสั้น ระยะกลาง หรือ ระยะยาว เช่น Yearly, Monthly Chart ใช้วิเคราะห์แนวโน้มราคาในระยะยาว Weekly, Daily Chart ใช้วิเคราะห์แนวโน้มราคาในระยะกลาง หรือ Hours, Minutes Chart ใช้วิเคราะห์แนวโน้มราคาในระยะสั้น แต่ว่า Technical Analysis ยังมีวิธีการที่หลากหลาย เป็นการใช้ข้อมูลทางสถิติของราคา และปริมาณการซื้อขายมาคำนวณ แล้วแสดงผลผ่านเครื่องมือทางเทคนิคต่างๆ ออกมา สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดผ่านทางกราฟเทคนิค

            บนหลักการเก็งกำไร ซื้อถูก-ขายแพง หรือใครจะบอกว่าซื้อแพงแล้วขายแพงกว่าก็ตาม การที่จะเกิดลักษณะนั้นได้ แสดงว่า ราคาหุ้นจะต้องมีแนวโน้มขยับเพิ่มขึ้นในอนาคต หรือที่เรียกกันว่า “ขาขึ้น” ดังนั้นการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค จึงใช้กราฟ และเครื่องมือทางเทคนิคต่างๆ เพื่อแยกแยกสภาวะแนวโน้มของราคาหุ้นในอนาคต ว่า มีแนวโน้มเป็น “ขาขึ้น” หรือ “ขาลง” หรือ “ออกข้าง”

            นักลงทุน ที่จะเก็งกำไร โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค จึงต้องหาเครื่องมือทางเทคนิคที่ตนเองใช้ได้อย่างชำนาญ เลือก Time Frame ที่ตนเองจะใช้ในการวิเคราะห์ สัญญาณซื้อ-ขาย ให้เหมาะสมกับสไตล์ของตนเอง เลือกหุ้นที่ เหมาะกับแนวทางของตนเอง และมีวินัยวางแผนในการลงทุนอย่างรัดกุม

            จากภาพ แสดงภาพกราฟเปรียบเทียบ Market Price และ Intrinsic Value ของราคาหุ้น ของกิจการที่มีการเติบโตในอนาคต ภาพแบบนี้เรามักจะพบเห็นอยู่เสมอ เพราะ Intrinsic Value จะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นไปตามผลประกอบการของบริษัท ที่มีการออกรายงานผลประกอบการมาทุกไตรมาส แต่ Market Price กลับเคลื่อนไหวตามความคาดหวังของนักลงทุนในตลาด


ภาพเปรียบเทียบ Market Price และ Intrinsic Value

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

History of Technical Analysis



Technical Analysis ที่แพร่หลายในปัจจุบัน เป็นการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาจากข้อมูลปริมาณการซื้อขายในอดีต เพื่อนำมาคาดการณ์ความเป็นไปได้ของทิศทางของราคาในอนาคต ... ความรู้ด้านนี้ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายศึกษาค้นคว้าวิจัย มาหลายร้อยปี .. หาจะย้อนประวัติศาสตร์ของ Technical Analysis ที่เราใช้กันในปัจจุบัน .... คงต้องไปตั้งต้นกันตั้งแต่ ศตวรรษที่ 18

..

Munehisa Homme (1724-1803) พ่อค้าข้าว ในสมัยโชกุนโตกุกาว่า ที่ใช้การบันทึกข้อมูลการประมูลซื้อขายข้าว กับสภาพอากาศ นำมาวิเคราะห์ คาดการณ์อนาคต ในการเก็งกำไรราคาข้าว ทำกำไรร่ำรวย จนไม่มีใครเทียบได้ ... ซึ่งวิธีการบันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ราคาเหล่านั้น กลายมาเป็น CandleStick Pattern Signal ในปัจจุบัน

..

อีกคนที่ไม่พูดถึงไม่ได้ Jose หรือ Joseph Penso De La Vega (1650-1692) ชาวสเปน ที่เป็น Trader ในยุคเฟื่องฟูของ Amsterdam Stock Exchange ซึ่งเขียนหนังสือ Confusion Of Confusions ที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรในตลาดหุ้นเป็นครั้งแรก และเป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้

..

และคนที่จุดกระแส Technical Analysis ให้กลับมาเกิดงานวิจัยอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน คงต้องยกให้

Charles Henry Dow (1851-1902) นักเขียนชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้ง The Wall Street Journal บทความ บทวิเคราะห์ต่างๆ ของ Dow ได้สร้างให้เกิด Dow Theory จนกลายเป็น ความรู้รากฐานของ Technical Analysis ที่ได้ถูกต่อยอดจากกูรู ทั้งหลาย ออกมามากมาย ...

Dow Jones Industrial Average ถูกใช้ครั้งแรกในปี 1896 เป็นค่าเฉลี่ยในการติดตามหุ้น 12 บริษัท .. จนได้รับความนิยม และกลายเป็นดัชนี ที่นักลงทุนนิยมใช้ในการชี้วัดพฤติกรรมของตลาดหุ้น ไปในที่สุด

..

William Peter Hamilton (1867-1929) บรรณธิการคนที่ 4 ของ The Wall Street Journal ที่ได้ทำการรวบรวมงานเขียนของ Charles H. Dow ออกมาเป็นหนังสือ The Stock Market Barometer ในปี 1922 และสนับสนุน Dow Theory กลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้น

..

ในระหว่างปี 1920-1930 Richard W. Schabacker นำผลงานของ Dow และ Hamilton มาศึกษาต่อขยายผล ต่อยอดความรู้ ออกมาเป็นหนังสือทาง Technical Analysis เล่มแรก "Stock Market Theory and Practice and Technical Market Analysis" ซึ่งได้กลายเป็นต้นตำราให้ Technical Analyst ศึกษาเพิ่มเติมกันอีกมากมาย

..




ในปี 1948 , Robert D. Edwards และ John Magee ออกหนังสือ "Technical Analysis of Stock Trends" ... ทำให้เกิดความรู้ต้นแบบของ Technical Analysis อย่างที่เราได้ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ... ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ แนวรับ แนวต้าน Trend Line , Price Pattern และอีกหลายหลายความรู้ ถูกเรียบเรียงความรู้ และเจาะลึกถึงพฤติกรรมราคา อย่างละเอียดละออ ... ซึ่งหนังสือ เล่มนี้ ปัจจุบัน ได้ถูกปรับปรุงตลอดมา อย่างสม่ำเสมอ จนปัจจุบันเป็น Edition 10th แล้ว ... ถือได้ว่าเป็นตำราพื้นฐาน ที่ Technical Analyst จะต้องอ่านศึกษากันเลย

..

หลังจากนั้น ก็มี Technical Analyst อีกมากมายสร้างผลงานออกมามากมาย แต่ที่โดดเด่นมากๆ ในช่วงต้น ศตวรรษ 20 คงไม่มีใครเกิน 2 คนนี้..

.

William D. Gann (1878-1955) ,ผู้ที่พัฒนา Technical Anlysis Tools มากมาย เช่น Gann Angles, Square of 9 , Hexagon หรือ Circle of 360 ... กลายเป็น Gann Tools ที่โปรแกรมกราฟต่างๆ มีให้ใช้อยู่เสมอ ...

..

อีกคน.. ก็คือ Ralph Nelson Elliott (1871-1948) เจ้าของ Elliott's Wave Theory ที่มีชื่อเสียง อันโด่งดัง นั่นเอง ...

R.N. Elliott ได้ศึกษาการเคลื่อนไหวราคาในตลาดหุ้น จนได้ค้นพบความสัมพันธ์และรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาซื้อขายหุ้นในตลาด.. เรียกว่า Wave Principle .... ซึ่งปัจจุบันมี ผู้ที่ยอมรับในทฤษฎีนี้ และเรียนรู้ฝึกฝนความรู้เรื่องคลื่นนี้มากมาย ไปทั่วโลก

...

หลังจากนั้นก็ยังมี Technical Analyst อีกมากมาย ที่คิดค้น ทฤษฎีใหม่ เครื่องมือใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ...

...

ความรู้ด้าน Technical Analysis ยังถูกพัฒนาต่อไปอย่างกว่างขวาง ไม่หยุดยั้ง .... จนกลายเป้นความรู้ที่หลายหลาย เรียนกันไม่หมดสิ้น

..

ถึงวันนี้ คุณเริ่มเรียนรู้ Technical Analysis กันรึยัง..




By Wave Riders Pui


<--- Previous  :  เทรดง่ายๆ ด้วย Three Line Break Chart
---> Next :  Intrinsic Value VS Market Price




วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทรดง่ายๆ ด้วย Three Line Break Chart

    กราฟส่วนใหญ่ ที่ นักลงทุนด้วยเทคนิคคอล ใช้งานกันจะ เป็น CandleStick Chart แล้วใช้ Indicator ต่างๆ ใส่เข้าไป บางคนก็ใช้ MACD , EMA หรือ บางคนก็ใช้ RSI , หรือ Stochastic  ทำให้บางครั้งใช้ Indicator อะไร บ้างก็ไม่รู้เต็มแน่นกราฟ ไปหมด ...​จนไม่รู้ อะไรเป็นอะไร   ...

   แล้วบางคนก็ยัง ตีเส้นตรง เส้นเฉียง  เส้นไฟโบ เข้าไปอีก กางเป็นตาข่าย เลอะเทอะไปหมด ...
เลยมานั่งคิดว่า มันจะมีอะไร บ้างไหม ที่ มันใช้งานง่ายๆ ไม่ต้องมี Indicator มากมาย หรือ ต้องตีเส้นอะไร เยอะแยะ ...  ก็ทำให้มาเจอ Three Line Break Chart  กราฟที่อยู่เหนือกาลเวลา

... Three Line Break Chart  เป็นกราฟที่คิดโดยญี่ปุ่น แต่ Steve Nison ได้นำเสนอให้โลก รู้จัก โดยเขียนไว้ในหนังสือ Beyond Candlestick  ซึ่งเป็นหนังสือความรู้ เกี่ยวกับ CandleStick ที่มีชื่อเสียง และน่าอ่าน น่าสะสมไว้ในครอบครอง ...



     Three Line Break Chart หรือ TLB นั้น แท่งราคาแต่ละแท่งจะเรียกว่า "Line"  ลักษณะของแท่งราคาของ TLB จะไม่มีการซ้อนกัน แต่จะเรียง ต่อกัน ในลักษณะ "ตูดต่อหัว"  
     เพราะเกิดจากการใช้ Close Price ของ Candlestick ที่เกิด New High หรือ New Low ในทิศทางเดียวกับแท่งราคาก่อนหน้า มาสร้าง แท่ง Line ขึ้นมา 
     ถ้าแท่ง Candle ไม่ได้มีการทำ New High หรือ New Low ของแท่งราคาก่อนหน้า แท่ง Line ของ TLB ก็จะไม่ถูกพลอต ออกมา ...​นั่นก็คือ ถ้า Candle แกว่งออกข้างแคบลงๆ TLB จะอยู่นิ่งๆ ไม่สร้างแท่งราคาใหม่ขึ้นมา ...​ ดูภาพตัวอย่าง  แท่งราคาวิ่งขึ้นเป็น สีขาว และแท่งราคาวิ่งลงเป็น สีแดง


     ที่เรียกว่า Three Line Break Chart ก็เพราะว่า  เวลาที่ ราคา วิ่งสวนทางกับ ทิศทางของแท่งราคาที่ผ่านมา  TLB จะไม่สร้างแท่งราคาใหม่ จนกว่า ราคาจะวิ่งกลับทิศ ข้าม 3 Line หรือ 3 แท่ง นั่นเอง ..
    ก็คือ  ถ้า ราคากำลังวิ่งขึ้น ... ทุกครั้งที่ราคา New High ... TLB จะสร้างแท่งใหม่ สีขาว เฉพาะส่วนที่เกินจากแท่งราคาเดิม  และเมื่อราคา ถอยลง TLB จะยังไม่สร้างแท่ง สีแดง จนกว่า ราคา จะลงมาต่ำกว่า 3 แท่ง สีขาว ... เมื่อราคาถอยลงมาต่ำกว่าแท่งสีขาว .. TLB จึงจะสร้างแท่งราคาสีแดงขึ้นมา 
    เมื่อราคาลงมาเป็นแท่งสีแดง แล้ว หากราคา New Low อีก TLB ก็จะสร้างแท่งสีแดงอันใหม่เฉพาะส่วนราคาที่ต่ำลงมา ...​และจะไม่สร้างแท่งราคาสีขาว ถ้าราคาไม่วิ่งสวนกลับขึ้นไป สูงกว่า 3 แท่ง

   ดังนั้น TLB จะตัดความผันผวนของ ราคา ในช่วง sideway แคบๆ ออกไปจนหมด ... เหลือแต่ แท่งราคาหน้าตาง่ายๆ ให้เราเห็น ....  สนุกล่ะ 
..
    TLB จึงสามารถ ใช้จุดกลับตัว มาตีเส้นแนวรับ แนวต้าน ได้ ง่ายๆ เลย ล่ะ เพราะ มันสามารถมองเห็นจุดกลับตัวได้อย่างชัดเจน  ...
     เราก็จะสามารถใช้ การ Break แนวรับ แนวต้าน เป็นสัญญาณ ในการ เข้า ซื้อ หรือ ขาย ได้ ตามปกติ เหมือนตอนที่เรา ใช้ Candlestick เลย ทีเดียว ...​อิอิ ... ง่ายเลย

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Resistant , Support and Trading Range - Part 3

ห่างจากการตีแนวรับแนวต้านกันไปพอสมควร จาก Part 1:  Resistant, Support - Part 1   และ
 Part 2 :   Resistant, Support - Part 2

มาคุยกันต่อ ถึงการตีเส้นแนวนอนธรรมดา แต่ใช้ประโยชน์ในการเป็นสัญญาณ ซื้อ หรือขาย กันได้ง่ายๆ.  วิธีที่จะพูดถึงการตีที่ แกป (Gap)

วิธีที่สอง : ตีเส้นที่แกป (Gap)

ราคาหุ้นตอนที่เปิดตลาด ตอนเช้า หรือเปิดตลาดช่วงบ่าย เรามักจะพบราคาเปิดนั้น แตกต่างจากราคาของช่วงก่อนหน้า  ราคาเปิดสูงกว่าแท่งราคาก่อนหน้า ก็เปิดกระโดดขึ้น (Gap Up) หรือราคาเปิดต่ำกว่าแท่งราคาก่อนหน้า ก็เปิดกระโดดลงมา (Gap Down) ทำให้กราฟ เกิดแท่งราคาที่ ห่างกัน เปิดเป็นช่อง (Gap) ให้เห็น ทำให้ช่วงราคาตรงแกป ที่ถูกกระโดดข้ามไปนั้น ไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น. สาเหตุของการเกิด Gap มีได้จากหลากหลายปัจจัย จากข่าว หรือจากเหตุการณ์ หรือจากผลประกอบการ แต่ก็ล้วนทำให้นักลงทุนคาดหวังราคา ในวันถัดไปแตกต่างจากราคาในวันก่อนหน้า คาดหวังสูง ราคาเปิดก็ขึ้นเยอะ. คาดหวังว่าเลวร้าย ราคาเปิดก็ลงเยอะ


     


เมื่อเกิดการเปิดแกป (Gap) ช่องว่างของราคานั้นล่ะ ที่จะกลายเป็น แนวรับแนวต้าน ถ้าเปิด Gap ขึ้น ช่องว่างก็เป็น "แนวรับ" (Support Line)  เมื่อเปิด Gap ลง ช่องว่างก็กลายเป็น "แนวต้าน" (Resistant Line)  การตีเส้นแนวรับแนวต้าน ใน Gap ก็จะตี แบบนี้

กรณีเปิด Gap ขึ้น ให้ตีเส้นแนวนอน ที่ จุดสูง (high) ของขอบ ล่าง ของช่องว่าง






กรณีเปิด Gap ลง ให้ตีเส้นแนวนอน ที่ จุดต่ำ (Low) ของขอบ บน ของช่องว่าง 



เมื่อเวลาผ่านไป แท่งราคา เปลี่ยนทิศ กลับมาในช่องว่าง เมื่อแท่งราคาปิดช่องว่าง และแท่งราคาตัดเส้น แนวรับแนวต้านที่แกป ก็ถือเป็นการยืนยันการเปลี่ยนทิศทาง. เรียกว่า "ปิดแกป" (Gap Filled) or ( Closed Gap)

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

Old HomeWork การบ้านอันเก่าๆ

ว่างๆ ก็เลยเอา การบ้าน เก่าๆ ของปีที่ผ่านมา เอามาให้ดูกัน
เป็น ตัวอย่าง เป็น ไอเดียให้ ว่า ดูยังไง ทำยังไง เตรียม แผนแบบไหน
ไม่ได้เอามา ชี้นำ นะครับ ... เพราะ พวกนี้ เป็นภาพในอดีตทั้งนั้น ...
เอามาใช้กับราคาหุ้นปัจจุบันไม่ได้ ... มันขึ้นไปหมดแล้ว ... ฮ่าๆๆ

อันแรก เป็น WHA 60min , 28-12-2012 ,11.00am
ก็นับคลื่น ไว้ มองว่า กำลังจะจบคลื่น 3 ในบริเวณ กรอบสีเขียว ...​
ซึ่งต่อไปก็คงจะพักคลื่น 4  ไปข้าง แล้ว ดีดขึ้นไปอีกทีเป็น คลื่น 5



จนถึงวันนี้เป็น อย่างไรกันบ้าง แอบตามไปดูกราฟ กัน ...
อัยยะ .... จบ คลื่น 4 แล้วดีดคลื่น 5 ไปแล้วจริงๆ



.
.
การบ้าน ตัวต่อไป  ...
GUNKUL , Day , March - 2012
ตอนนั้น ดูแล้วน่าจะจบ Wave 5 ไปแล้ว ...
แต่ต่อมาราคา ทำ New High ขึ้นมาได้อีก ....​ทำให้ ดูเหมือน ว่า กำลังเข้าสู่ Impulse Wave ชุดใหม่



และแล้วตอนนี้ มา Update คลื่นกัน หน่อย
ดูเหมือน ราคาขึ้น แล้ว ... มาตามดูกันต่อไป ว่า จะไปจบตรงไหน....
...


มีการบ้าน อีกตัว ที่ ทำไว้
BEAUTY , 60min & 120min , 3-1-2013
ทำไว้เมื่อต้นเดือนนี้ เอง ....​


ตอนนี้ ไม่ต้องบอกใครก็รู้ ว่า น้องสวย เขา แซบ ขนาดไหน ....


มีให้ดูอีกตัวนึง เป็น ตัวอย่างการ ตีเป้า Fibonacci

TTCL , Day& 120min , 3-10-2012



อีกอันหนึ่ง .... ขอ ของนอกบ้างนะ

AAPL ,  30min & 5 min , 19-11-2012




สุดท้าย เลย ... เอาใจ ขาซิ่ง ....
IPO - WHA วันแรก เข้าตลาด 8-11-2012 , 3 min






...
ยังมีการบ้าน สนุกๆ แบบนี้ อีก เยอะเยะ เลย .....
ขยันทำการบ้าน กัน หน่อย นะครับ ....


Wave Rider Pui



วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

Wave Riders โต้คลื่น ... รับปีใหม่


การใช้ Elliott Wave ในการลงทุนจริงในตลาด มันไม่ง่ายนัก เพราะมันต้องเรียนรู้ กฎและเงื่อนไข (Rules & Conditions) ต่างๆต่างของ คลื่น ทำความเข้าใจ ขนาด รูปแบบ .. ความสัมพันธ์ด้านราคา และเวลา ของ คลื่นแต่ละชุด  .. Degree ของคลื่น ... การมองคลื่นย่อยในคลื่นใหญ่ ... การแยกแยกคลื่นหว่าง Impulsive Wave และ Corrective Wave
...
การยืนยันการจบชุดของคลื่น ด้วยเส้น Trend Line ต่างตามกฎ
อีกทั้งยังต้องใช้เวลา ในการฝึกฝน สะสมประสบการณ์ การอ่านการเคลื่อนไหวของกราฟ ในอดีต จำนวนมาก ให้เห็นคลื่นแทบทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นจริง ..

ดังนั้นจึงมีคนจำนวนมาก ที่ศึกษา Elliott Wave แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ...

และอีกสิ่งหนึ่ง ที่เป็นกับดักทางความคิดของ คนที่ศึกษาเทคนิคคลื่น คือ ไม่เปิดใจให้กว้างพอ
...
เพราะ เรื่องคลื่น เป็นเรื่องของการตั้งสมมุติฐาน บนพื้นฐานของกฎ และเงื่อนไข (Rules & Conditions) และ สร้างรูปแบบ ความน่าจะเป็นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ (Probabilitiy Scenario) แล้วเมื่อเวลาเดินหน้าไป เราก็จะค่อยๆ ตัด Scenario ที่มันฝืนกฎทิ้งไป จนสุดท้าย เหลือ เพียงไม่กี่ แบบ และ คลื่นก็จะเฉลยตัวเองในที่สุด
...
ดังนั้น นักโต้คลื่น ... จะต้อง มีหัวใจที่เปิดกว้าง มีความคิดอย่างนักวิทยาศาสตร์ ตั้งสมมุติฐาน และตรวจสอบ กฎและเงื่อนไข (Rules & Conditions) อยู่ตลอดเวลา และ ตัด Scenario ที่มันไม่ใช่ทิ้งไป
..
.. นั่นหมายความว่า ในบางขณะ ของการเดินทางของคลื่น เราอาจสามารถมอง ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในอนาคต ได้ถึง 8-9 แบบ และเมื่อคลื่นราคาเดินทางไป จนใกล้จบชุดของคลื่น ก็จะตัดแบบที่เป็นไปไม่ได้ทิ้งไป จนเหลือ ไม่กี่แบบ ....
และเมื่อจบชุด หนึ่งไป ขึ้นต้น คลื่นชุดใหม่ ความน่าจะเป็น ก็จะกลับมา หลายหลาย อีกครั้ง ...
..
ในการลงทุน โดยใช้คลื่น จึงไม่สามารถ ทำได้ตลอดเวลา เพราะเมื่อ มีความเป็นไปได้ ในอนาคต อีกมากมาย การเข้าไป ซื้อใน จังหวะนั้น จึงมาความเสี่ยงสูง มาก ...​ ในจุดนั้น หากจะลงทุน เข้าซื้อ จึงต้องใช้ ความสามารถของเทคนิคคอล ด้านอื่น การวาง Stop Loss เข้ามาช่วยในการลงทุน
ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการพอร์ท ของ นักลงทุนแต่ละคน ...
แต่เมื่อคลื่น เข้าสู่ช่วงที่ ความน่าจะเป็นเหลือไม่กี่แบบ และ ยืนยัน ได้ด้วย เทคนิคคอลด้านอื่น ด้วยแล้ว จึงจะมั่นใจได้อย่างเต็มที่ .....
..
คลื่น Elliott ก็จึงเป็นเพียง เครื่องมือในการลงทุน ที่จะช่วย ในการจำลอง ความเป็นไปได้ ของสถานะการณ์ในอนาคต ให้กับนักลงทุนที่ใช้ความรู้ด้านนี้ ช่วยในการลงทุน
ยังมีนักลงทุน อีกมากมาย ที่ไม่มีความรู้เรื่อง คลื่น แต่ก็สามารถประสบผลสำเร็จ ได้มากมาย ....
..
จึงอยากจะขอเตือน นักลงทุน ที่จะศึกษาเรื่อง คลื่นไว้ว่า ....
" .... จงอย่ายึดติด ... "   คลื่นมันพลิกผัน พริ้วไหว ปั่นป่วน แปรเปลี่ยน ได้ตลอดเวลา
" .... จงเปิดใจให้กว้าง..." รูปแบบของคลื่นที่เรามองเห็น อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด ที่มันมี อาจยังมีรูปแบบ ที่เรายังคิดไม่ถึงอีก ก็ได้

".... จงทบทวนย้อนกลับอยู่เสมอ..." เมื่อเวลาดำเนินไป คลื่นที่เราดูไปตลอดทาง และคิดว่ามันถูก แต่เมื่อคลื่นมันถึงจุดจบของชุดคลื่น ...​เราอาจพบว่า ทั้งหมด ที่นั่งหลังแข็งนับมาแรมเดือน แรมปี ... เราอาจผิดพลาดตั้งแต่ จุดเริ่มต้น เลยก็ได้ ...

ของยกตัวอย่าง การนับคลื่น ไว้ สัก 1 Sceanrio ...
ในกราฟ SET ชุดนี้ .... เป็น Week Chart และสมมุติฐานว่า ตั้งแต่เข้าตลาดมา ...​SET วิ่งขึ้นเป็น Impulse Wave .... มาตลอด .... . (อ้าว .. อาจจะสงสัย แล้วมันไม่ใช่แบบนี้เหรอ ... ขอตอบว่า ไม่รู้สิ ... ใครจะรู้ได้ว่า ยังมีรูปแบบอื่น ที่เรายังนึกไม่ถึงอยู๋ไหม ) .....

รูปแรก : SET 1974 - 1981 ....

.
.
รูปสอง : SET 1978- 1984 ....


.
.
รูปสาม : SET 1982 - 1988 ....

.
.
รูปสี่ : SET 1986 - 1992 ....

.
.
รูปห้า : SET 1990 - 1995 ....


.
.
รูปหก : SET 1993 - 1999 ....


.
.
รูปเจ็ด : SET 1997 - 2003 ....

.
.
รูปแปด : SET 2002 - 2007 ....

.
.
รูปเก้า : SET Month 1974 - 2011 ....



กราฟ ทั้งหมด ที่แสดงมาให้ดู นี้ ใช้เพื่อการศึกษา ประกอบการนับคลื่น ....​ไม่ได้มีจุดประสงค์ ที่จะชี้นำการลงทุน แต่อย่างใด ... 
ดังนั้น ขอให้ พิจารณา อย่างรอบครอบ ...


Happy New Year 2013


Wave Rider Pui
01-01-2013 
.
.
.