Wave Riders Technical Course Online

Wave Riders Technical Course Online
เรียน Technical Course online สามาร click ที่ ภาพเลย

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Spread Price ช่วงราคาหุ้น .... มันมีอะไรซ่อนอยู่

     นักลงทุนทุกคน รู้กัน อยู่แล้วว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศใช้ ช่วงราคา ของหุ้นในตลาดฯ   ไว้ทั้งหมด 8 ระดับราคา  โดยแต่ละระดับราคา มีมูลค่าของช่วงราคาที่แตกต่างกันไป (ตามภาพ)  เช่น ราคาหุ้นที่ต่ำกว่า 2 บาท ช่วงราคาละ 0.01 บาท  เท่านั้น ค่อยๆ ขึ้น พอราคาหุ้นเป็น 2 บาท ราคาถัดไป จะเปลี่ยนช่วงราคาเป็น 0.02 บาท ราคาถัดไป จึงกลายเป็น 2.02 บาท ไปจนราคาถึง 5 บาท ก็จะเปลี่ยนขยับช่วงราคาขึ้นเป็น 0.05 บาท ไป เรื่อยๆ จนถึงระดับราคา ที่มากที่สุดคือ หุ้นตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป ช่วงราคาเป็น ช่วงละ 2.00 บาท



         ประเด็นที่จะถาม ก็คือ เห็นช่วงราคาแบบนี้ เห็นอะไรไหม  เห็นโอกาสทำกำไร กันไหม Opportunity น่ะ เห็นกันไหม  .....   นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่เห็น กันหรอก เพราะจะมองว่า  ช่วงราคาที่ประกาศไว้นี้ ก็เป็น กติกาของ ตลาดหลักทรัพย์ ฯ....

        ผมจะทำอะไร ให้ดู  จะลองทำเอง ก็ได้ จะได้เข้าใจ  เอาข้อมูลช่วงราคา ไปใส่ ใน Excel กัน 
คือ แบบว่า อยากรู้ว่า แต่ละช่วงราคา มันมีการเพิ่มขึ้นของราคา เป็น กี่ เปอร์เซ็นต์กัน แน่ 

        มาดู ะดับราคา ที่ 1 กัน ราคาช่วงนี้ เริ่มต้นที่ 0.01 บาท จนถึง 1.99 บาท เพิ่มขึ้นช่วงละ 0.01 บาท
ซึ่ง ช่วงราคา 0.01 บาท นี้ เพิ่มขึ้นจาก ราคาเริ่มต้น 100% ( 0.01 / 0.01)  และ คิดเป็น 0.05% ของ ราคา 1.99 บาท (0.01 / 1.99 x100% = 0.5%)  และ ระดับราคานี้ จาก 0.01 บาท ไปจนถึง 1.99 บาท ราคาจะต้องขยับ 199 ครั้ง ถึงจะผ่านพ้นช่วงราคานี้
        เพื่อความเข้าใจมากขึ้น   มาดู ระดับราคาที่ 2  ราคาเริ่มต้น 2.00 บาท จนถึง 4.98 บาท เพิ่มขึ้นช่วงละ 0.02 บาท   ก็หมายความว่า ช่วงต้นของระดับราคา ที่ 2 บาท ราคาเพิ่มขึ้น ช่วงละ 0.02 / 2   = 1%
แล้วพอราคาไป จนถึงช่วงสุดท้าย คือ 4.98 บาท ราคาเพิ่มเป็น 5.0 บาท แสดงว่าราคาเพิ่มขึ้น = 0.02/5.0 = 0.4%     และใช้ระยะทางในการขยับ 150 ช่องราคา ราคาถึงจะข้ามไปในระดับราคาถัดไป  



          ก็แสดงว่า ในช่วงต้นๆ ของทุกๆช่วงราคา จะมี  %ที่เพิ่มขึ้น ของราคาสูงมากกว่า ช่วงปลายๆ ของช่วงราคาก่อนที่จะข้ามช่วงราคา ไปช่วงราคาถัดไป 


          ดูในตารางกันให้ดีๆ  จะเห็นว่า ระดับราคาที่ 3 เริ่มต้นจาก 5 บาท ไป 10 บาท นั้น เป็นระดับราคาที่ มีจำนวนช่องน้อยที่สุด  ... เรียกว่ามีระยะทางสั้นที่สุด   ... ราคาวิ่ง ขึ้นไป เท่าไหร่ (100 ช่อง)  ก็ข้ามระดับราคาไป ระดับราคาถัดไปได้แล้ว

          ข้อสังเกตต่อไป  ระดับราคา ที่ 2 (2 ไป 5 ) ระดับราคาที่ 3 (5 ไป 10 ) ระดับราคาที่ 4 (10 ไป 25) และระดับราคาที่ 5 (25 ไป 100)  ทั้ง 4 ระดับ ราคา มีการเพิ่มขึ้นของช่องราคา ในตอนเริ่มต้นสูง ถึง 1% ต่อช่วงราคา    ในขณะที่ ระดับราคา ของหุ้นที่ราคาแพงๆ 100 บาท ขึ้นไป มี ช่วงราคาเพิ่มขึ้นเริ่มต้น เพียงแค่ 0.50%เท่านั้น  (น้อย โคตรๆ .... ซื้อไป แล้วเมื่อไหร่ มันจะกำไรเยอะๆ )

          ทุกๆระดับราคา จะเหมือนกัน คือ เมื่อราคาขยับเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ ท่อนปลาย ของระดับราคา %ราคาที่เพิ่มขึ้นก็จะลดน้อยถอยลงไป  เป็น 0.5% บ้าง  0.4% หรือ บางระดับราคาแค่ 0.25% เท่านั้นเอง

            คราวนี้ พอจะรู้แล้วใช่ไหม ว่า ถ้าซื้อหุ้นแล้วหวังเก็งกำไร จากส่วนต่างของราคา ควรจะซื้อหุ้นที่ ระดับราคาไหน  .... 


             มีอีกเคล็ดลับ  มาเปิดเผย .... นักลงทุน ทุกคน รู้เหมือนกันว่า  ราคาหุ้นทุกวัน จะมีการกำหนด Floor Price และ Ceiling Price  โดยคิดจาก ราคาปิด (Close Price) ของวันก่อนหน้า และนำมา ลบ ออก 30% เป็น ราคา Floor Price   และ บวก เพิ่ม อีก 30% เป็นราคา Ceiling Price  ....

            แล้วไง .... มันก็เรื่องปกติ ที่เห็นกันอยู่ทุกวัน   .... แปลกตรงไหน
            
             ถามง่ายๆ นะ เคยนับ ช่วงราคากันไหม ว่า ราคาปิด เป็นแบบนี้ แล้ววันรุ่งขึ้น ราคาลิ่ง (Ceiling) มันเป็น ระยะทาง เท่าไหร่ ....   ไม่ได้ถาม ว่า ราคาเป็นเท่าไหร่ แบบนั้น ใครก็คำนวณเป็น ...
เอากันชัดๆ นะ  ถามว่า จากราคาปิด วันก่อนหน้า ราคาจะต้อง ขยับขึ้น กี่ ช่อง  ถึงไปจะถึง ราคา Ceiling Price   ...   เคยนับกันไหม   .....  อั๊ยยะ !!!  

           แต่ละคนเทรดหุ้นกันมา .... มันต้องมีความอยาก จะได้หุ้นลิ่ง กันสักครั้ง ... สิน่า   .... แต่บางคน ทำไม มันลิ่ง กันได้ แทบทุกวัน ...   ฮึฮึ  ..... 

           ที่จะอธิบายตรงนี้ มันเป็นโอกาส  ในการเทรด ที่หลายคนมองข้ามไป ....  ถาม ง่ายๆ แบบนี้ นะ 
หุ้นทุกตัว มันมี Ceiling Price ที่ + 30% ของราคาปิด วันก่อนหน้ากันเหมือนๆ กันทุกตัว

            แต่ถ้ามีหุ้น ที่เปิดตลาดมา แล้วออกตัว วิ่งแรงๆ  2 ตัว  ตัวแรก ต้องวิ่ง 54 ช่อง ถึงจะ ลิ่ง  
กับอีกตัว วิ่งแค่ 34 ช่อง แล้วได้ลิ่ง   ..... จะเลือกซื้อตัวไหน ...  คำตอบมันชัดอยู่แล้ว   ....  ใช่ไหม

             เกิดอะไร ขึ้น ทำไม ราคาที่เพิ่มขึ้น 30%เท่ากัน มันวิ่งด้วยจำนวนช่อง ที่ไม่เท่ากัน  คำตอบมันอยู่ที่ การเปลี่ยนข้ามช่วงราคา ในระยะ 30%  

            ไป ดู ตัวอย่าง  จะคำนวณให้ดู เทียบกัน ระหว่าง  หุ้น 3 ตัว มีราคาปิด วันก่อนหน้า เป็น  3.84 บาท,  4.00 บาท และ 4.80 บาท ตามลำดับ  จะเห็นว่า ราคาหุ้น ทั้ง 3 ราคา แทบไม่แตกต่างกันเลย  
 แต่ จำนวนช่อง ในการ วิง่ไป หา Ceiling Price มัน ต่างกัน เอาเรื่องอยู่นะ  .... 





        เห็นแบบนี้แล้ว ..... อยากจะ เทรด ซิ่ง ... ให้ได้ ลิ่ง กับเขาบ้าง   คงพอจะไหว รึเปล่า .... 
    
        ยังไงก็ตามตรงนี้ ก็เป็นแค่ข้อสังเกตุ เล็กๆ ...  หุ้นมันจะลิ่งหรือไม่ มันก็อยู่ที่แรงซื้อ ที่จะมาผลักดันราคาอยู่ดี  ต่อให้ ระยะทางสั้น แต่ ไม่ใครมาซื้อ มาซิ่ง ... มันก็ไม่มีทางลิ่ง แน่นอน ...

        แต่จะให้เทรด ซิ่งแค่ไหน  เรื่องของ Stop Loss และการจัดการความเสี่ยงในการเทรด และวินัย ในการเทรด ก็ยังเป็นเรื่อง สำคัญที่สุดอยู่ดี   .... 



 โชคดี  ในการลงทุน ทุกคน ครับ 

  Wave Riders Pui


















วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ทำยังไง เมื่อใจไม่กล้า Stop




หลายๆ ครั้ง ที่มีการพูดคุยกันเรื่อง Stop Loss ทีไร ก็จะมีคำถามแบบนี้ ทุกที

"ราคาหลุด Stop ระหว่างวัน ขายเลยไหม หรือ รอจบวันก่อนค่อยตัดสินใจ"


 คนที่ถามแบบนี้ คือ เห็นราคาหุ้นของตัวเอง ลงจนหลุดแนว Stop Loss ที่วางแผนเอาไว้ แล้วทำขายทิ้งใจไม่ได้ อยากเก็บหุ้นไว้ อยากจะลุ้นว่ามันเด้ง กลับมายืนเหนือแนว Stop ก่อนสิ้นวันได้ไหม ว่างั้น ???


Fear to Stop Loss มันเป็น Obstacle อุปสรรค อันดับแรก ของ Trader


ถามตัวเอง ดีกว่าครับ ว่า ราคาหลุด Stop แล้วทำใจ ขายทิ้งเลยระหว่างวันได้ไหม

ถ้า คำตอบ คือ ได้ ... ราคาหลุดระหว่างวัน ก็ "เขวี้ยง" มันไปเลย

ถ้า คำตอบ คือ ไม่ได้ ก็รอ ใกล้ๆ จบวัน .... ปิดต่ำกว่า Stop แน่ๆ ก็ขาย ATC ท้ายตลาดไปเลย

ถ้า ยังทำใจไม่ได้อีก (เฮ้อ..!!)   ก็รอให้ ปิดวันไปเลย แล้วถ้าปิด ต่ำกว่า Stop จริงๆ ก็ค่อยขายวันรุ่งขึ้น

แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร ก็ตาม ก็ต้องยอมรับ สิ่งที่จะตามมา
วันรุ่งขึ้น เจอเปิดกระโดดลงแรงๆ ก็ต้องยอมขาย รับชะตากรรมไป .... ห้ามมาบ่น ว่า "รู้งี้ .. รู้งั้น" แล้วไม่ยอมขายทิ้ง ยอมเป็น วีไอ จำเป็น 

ประเด็น สำคัญ ไม่ใช่อยู่ที่ ราคาหลุด Stop แล้วจะขายตอนไหน ...
เพราะไม่ว่าจะขายตอนไหน ณ เวลานั้น Moment ที่ เราสั่งขายหุ้น ออกไป ...
รู้เหรอ ว่าขายแล้วจะลงต่อ หรือ ขายแล้วจะเด้งขึ้น .... คำตอบ คือ ไม่รู้

แต่สิ่งที่รู้อยู่แก่ใจ คือ เราตัดสินใจวางแนว Stop ในราคาที่เรา ไม่ยอมขายทุนไปมากกว่านี้ หรือ ไม่ยอมให้กำไรลดลงไปกว่านี้อีกแล้ว  และเราตัดสินใจเลือกราคานั้น ในขณะที่เราวางแผน อย่างมีสติรอบคอบดีแล้ว

ดังนั้น การสั่งขายทิ้งหุ้น ออกไป ณ เวลานั้น มันเป็นการที่ตัดสินใจ ที่ดีที่สุด อยู่แล้ว ... จงเคารพตนเอง มีวินัยในตนเอง ... จะเกิดอะไรจะตามมา จงยอมรับมันครับ

ปัญหาใหญ่ ของคน ที่ ไม่ยอมขาย ที่ราคาหลุด Stop Loss คือ ...

".....​กลัวขายแล้วมันจะเด้ง .... แต่ไม่กลัวราคามันไหลลงไปเรื่อยๆ... "

".... ไปกังวล กับสิ่งที่มันยังมาไม่ถึง สิ่งที่จะเกิดในอนาคต จนไม่ได้เห็นความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า.... "   



คิดใหม่ เถอะครับ ... 

"... คิดเสียใหม่ว่า เงินลงทุนก้อนนี้ มันเป็นเงินก้อนสุดท้าย ของชีวิต ที่จะยอมให้มันเสียหายไปไม่ได้ ..." 

"... โอกาสในตลาดหุ้น มันยังมีมาให้อีกเรื่อยๆ ยอมเสียหายเล็กน้อยตอนนี้ เพื่อมีต้นทุนที่ใหญ่พอที่จะ  ทำกำไรที่ใหญ่กว่าในคราวหน้า..."   


Wave Riders Pui

Focus Loss , Control Loss .... Profit will be unlimited..







วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จะเล่นหุ้น ... มีฮาโดเคน กันรึยัง


          หลายวันก่อนได้ โพสบทความสั้นๆ ไว้บน My Wave Rider Fan Page ... เห็นหลายคน ถูกออก ถูกใจ ... ก็เกรงว่า เมื่อเวลาผ่านไป มันจะหายไป ใน Time Line ขอเอา มาไว้ใน Blog ด้วย ดีกว่า จะได้ ไม่หาย คนมาตามอ่านทีหลังได้
.



.

          เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ได้เห็น คุณพ่อท่านหนึ่ง เอาลูกอายุประมาณ 4-5 ขวบ นั่งตัก เล่นเกมส์ Street Fighter พ่อสอนลูกว่าเล่นยังไง กดปุ่มไหนเตะ ต่อย กระโดด แล้วก็หยอดเหรียญ ให้ลูกเล่น

          เด็กน้อย กดปุ่มทันที ... ครับแน่นอนไม่ได้เลือกตัวเล่น จึงได้ ริว มาสู้ทันที
.
          Round 1 เริ่ม เด็กน้อย เล่นแบบงงๆ ปนกับพ่อคอยเชียร์ และแอบช่วยกด เตะต่อย แต่ก็แพ้ไปอย่างรวดเร็ว
.
          Round 2 เริ่มอีกครั้ง พ่อเชียร์ลูก ".. ให้กดต่อยเยอะๆ ลูก." เด็กน้อย กดปุ่มรัวเป็นชุด ริวเดินเข้าไปต่อย เคน เป็นชุด จนล้ม เด็กน้อยได้เรียนรู้แล้วว่า "...อ่อ แบบนี้เองที่จะชนะ.." เด็กน้อยจึง ใส่ไม่ยั้ง กดมันทุกปุ่ม โยกคันโยกไปมา ริวกระโดดเข้าไปปล่อยหมัดชุด เตะรัวออกไป ใส่เคน จนชนะในที่สุด ....
เย้..!! เสียงเขียร์ของพ่อ และรอยยิ้มของเด็กน้อย ยังไม่จางหาย
.

          Round 3 ... Start .. แน่นอนคราวนี้เด็กน้อยรู้แล้วว่าต้องทำยังไง ... ริวเดินหน้า ปล่อยหมัดชุด เตะออกไปมากมาย แถมปล่อย ฮาโดเคน ออกมาด้วย ...ชนะครับ You Win .,
.
          เด็กน้อยใช้วิธีเดิมชนะผ่าน 3 ตัวรวด ... สนุกเขาล่ะ ชนะตลอด
          พอเข้าตัวที่ 4 คู่ต่อสู้เริ่มเพิ่มระดับความยาก มีการ ถอยหลัง หลบ ตั้งการ์ด ย่อตัว เด็กน้อยเริ่ม โจมตีไม่เข้าเป้า ...และโดนต่อยไปหลายที พลังของ ริว ลดลงไปเยอะเลย เขาแก้ปัญหาด้วยการ กดปุ่มให้ถี่ขึ้น เร็วขึ้น เพื่อจะ 'เอาคืน' ...และ แน่นอนครับ เด็กน้อยแพ้แล้ว ... You Lose
          เด็กน้อย หันมา ขอเหรียญพ่อเพิ่ม จะเล่นอีก ... พ่อบอกว่า เหรียญหมดแล้ว....
.
           ผมเดินจากมา .... คิดได้ว่า ที่เด็กน้อยคนนั้นเล่นเกมส์ มันช่างเหมือนกับ การเทรดจริงๆ มือใหม่ที่เข้าสู่ตลาด แค่สั่งซื้อขายเป็น ก็ทำกำไรได้ในตลาดขาขึ้น ได้กำไรง่ายๆ ... สมองสั่งการทันที "อ๋อ แบบนี้เอง ... "

           มือใหม่ทั้งหลาย จึงพยายามทำกำไรเพิ่ม ด้วยการซื้อขายให้มากครั้งเข้าไว้ กำไรก็ได้เพิ่มมาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ทำกำไรมาได้เรื่อยๆ ในตลาดขาขึ้น ... พอตลาดเริ่มโหด เริ่มเหวี่ยงขึ้นลง พักตัว มือใหม่เหล่านี้ ก็โดนหนักๆ เข้าไปก็พยายามซื้อขาย หนักขึ้น เพื่อจะเอาคืน ...สุดท้ายเงินหมด ต้องเติมเงิน หยอดเหรียญ กันใหม่
..
          ในเกมส์ Street Fighter ตัวละครแต่ละตัว มีจังหวะเฉพาะตัว มีท่าพิเศษ ท่าไม้ตายแตกต่างกันไป ผู้เล่น มักจะเลือกตัวละครที่ชอบ หัดเล่นให้เข้าจังหวะ และหัดปล่อยท่าไม้ตาย ให้เป็น เพื่อจะได้ชนะผ่านไปสู่ระดับสูงๆ ได้ ... บางคนสามารถเล่นได้หลายตัว พอเล่นโหมดแบบแท็คทีม จึงสามารถเลือกตัวเล่น ที่แตกต่าง เพื่อที่จะชดเชยจุดอ่อน และประสานกันได้ ทำให้เป็นการเล่น ที่ไร้พ่าย ชนะรวด จน Clear Game
..
          เทรดเดอร์ เองก็ไม่ต่างกัน ต้องมีการฝึกฝนเทคนิคต่างๆ สร้าง Trade Setup ที่เป็นท่าไม้ตาย ในการซื้อขายใช้ทำกำไร ในแนวทางของตนเองขึ้นมา เช่นกัน
..
          ตอนเล่น Street Fighter เราจะพยายามฝึกออกท่าไม้ตายตัวของเราให้ได้ทุกท่า แม้แต่ Super Combo ท่ายาก พอทำได้ รู้สึกว่า มันเทพมาก ...สะใจ
แต่เอาเข้าจริงๆ เล่นให้ชนะ มันไม่ได้อยู่ที่ท่าไม้ตายมากนัก แต่อยู่ที่การจับจังหวะคู่ต่อสู้ จังหวะเราโจมตี ปล่อยพลัง หลบ ถอย การ์ด บางที ท่าง่ายๆ ก็ชนะผ่านได้ ถ้าจับหวะซัด ได้เต็มๆ
.
           เทรดเดอร์ ก็เหมือนกัน ไม่ต้องท่ายาก เอาท่าง่ายๆ แต่จับจังหวะสวยๆ ก็ทำกำไรงามๆ ได้เหมือนกัน .
.
แล้วคุณล่ะ มี ฮาโดเคน ของตัวเอง รึยัง .. ฝึกฝนจับจังหวะกันรึยัง
.
ทบทวนตัวเองสิครับ ทุกวันนี้ ยังกดปุ่ม รัวๆ ในการเทรด เหมือนเด็กน้อย คนนั้น เพราะอารมณ์ อยากเอาคืน อยู่รึเปล่า


... Wave Riders Pui

.

.

.

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

8 วิถี ในการหยุดขาดทุน - 8 Ways to Stop Loss

        การนำความรู้เทคนิคอล มาใช้ในการซื้อขายหุ้น การมีราคาขายทิ้ง หรือ Stop Loss ในทุกครั้งที่เตรียมตัวจะซื้อหุ้น เป็นเรื่องจำเป็น ที่จะขาดไม่ได้เลย แต่วิธีการกำหนด ว่า ราคาไหน ควรจะใช้เป็น Stop Loss กลับกลายเป็นปัญหาคาใจ ของใครหลายๆ คน ..
        .
        ทำไม จะไม่เป็นปัญหา พอบอกว่า จะซื้อ 20 บาท Stop 19 บาท  ... แล้วก็ซื้อไป 20 บาท ตอนเช้า พอเปิดบ่ายมา ราคาไหลลงมา ที่ 19 บาท เป็น Bid 1 เหมือนจะลองใจกันเลย ว่า ... "เอายังไง ... ตั้งใจแล้วแล้วนี่ จะ Stop ขายทิ้งไหมล่ะ ... หุหุ ...!!! "

       สักพักราคามันก็เขย่า 19.0  ... 19.10 .... 19.20 .... 19.10 ... 19.0 ... ทันใดนั้น .... 18.90 ....
       เฮ้ย !!! หลุดแล้ว ตกใจอ่ะ ....  ขายดีกว่า  ราคาขยับ Bid 1 = 18.80 , Offer 1 = 18.90
       ไม่ไหวแล้ว ขายดีกว่า แต่ไม่ขาย 18.90 หรอกนะ  ตั้งขาย 19.0  ....
       แล้ว ตลาดก็ให้สิทธิ์ นั้นทันที  .... Match 19.0 แล้วราคา ก็ขยับ 19.0 .... 19.10 ..... 19.20 ...  19.30 ... 19.40 ... ขึ้นไป ปิดตลาดที่   19.80  .... เป็นไง ช้ำใจไหมล่ะ  ....

      แล้วคำถาม สุดฮิต ก็ถาโถม เข้ามา .... ทำไม ล่ะ ... ทำไม ...เป็นเยี่ยงนี้ ... กรู ทำอะไร ผิดไปเหรอ ....

     ..   แล้วความคิด ก็แว๊บ เข้ามา .. "ไปถามพี่ปุย WaveRiders ดีกว่า"  ... เข้า ask.fm/WaveRidersPui  ถามเลย ... "... พี่ปุยครับ ... เวลาตั้ง Stop Loss แล้วราคามันลงมาที่ Stop เราต้องรอให้จบวันดูราคาปิดก่อน หรือ ขายเลย ล่ะครับ ... "  

     ... คุณรู้ไหม ถ้าเจอคำถาม แบบนี้ ผมจะตอบยังไง... เป็นเมื่อก่อนตอบอธิบายกัน ยาวเหยียดเลย ต้องดู Volume Buy/Sell ยังไง ตั้ง Buffer แนว Stop Loss ไว้กี่ช่อง ... ตอนนี้เหรอ ตอบง่ายครับ ...
หยิบ หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า  มาเปิดหน้า 64 อ่านเลย ครับ ..อธิบายไว้ละเอียดเชียว  (ฮ่าๆๆ ... ขายของตลอด)

        แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ที่จริงแล้ว วิธีการวาง Stop Loss แบบเทคนิคอล มันไม่ได้มีแบบเดียว มีอย่างน้อยที่ผมใช้ หรือเคยใช้ บ่อยๆ ก็ยังมี ตั้ง 8 แบบ ที่จะเอามาเล่าสู่กันฟัง

        ตั้ง 8 แบบ เชียวรึ .... น่าสนใจละสิ   ... มีอะไร บ้าง มาฟังกันแบบสรุปก่อนนะ จะได้รู้ Concept ของแต่ละแบบ


             

      แบบแรก :  Initial Stop หรือ Breakout Pyramid

               เป็นวิธีการ ง่ายๆ ที่ใช้กับ การวาง Stop Loss ในเวลาที่ราคาหุ้น มีการ Break Out แนวรับหรือแนวต้าน  หรือ เวลาที่ราคาหุ้น Break Out ออกจากการพักตัว วิ่งข้ามราคา High Price   เราก็วาง Stop Loss ที่แนวราคาที่เป็นจุดกลับตัวของราคาล่าสุดก่อนการ Break out ก็ง่ายๆ  แค่นี้เอง ... เนอะๆ!!!





     แบบสอง  :  X-Bars Stop 

           แบบนี้ก็ตามชื่อเลย (X-Bars นะ ไม่ใช่ X-Bra หรือ X-men ) คือ ใช้จุด Low Price ของแท่งราคา ที่ถัดจากแท่งราคา ต่ำลงไป กว่าเดิมอีกกี่แท่ง ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 1 แท่งก็เรียกว่า 1-Bar Stop
ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 2 แท่งก็เรียกว่า 2-Bars Stop หรือจะเอา 3 แท่ง เป็น 3-Bars Stop
หรือใน  หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า (อยู่ในคลื่น 16) เราจะเรียก 3-Bars Stop ว่า Safety Belt 
             ลองไปอ่านกันดูนะครับ
             หรือ อยู่ในบทความ นี้   "จะขึ้นเขา ... อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย... จะได้ไม่ติดดอย"
              http://waveridersclub.blogspot.com/2013/07/blog-post.html

     แบบสาม :  MA Stop 

            ก็เป็นการใช้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Line) ใช้เป็นแนวราคาในการ Stop
           ใช้เส้น MA ก็ดีนั้น เส้นมันก็ขยับตามราคา ไปเรื่อยๆ ก็ง่ายดี ไม่ต้องกังวลมาก ราคาถอยลงมาหลุด เส้น MA ที่เราเลือกใช้เมื่อไหร่ ก็ขายทิ้ง
           แต่ก็มีปัญหา อีกว่า แล้วใช้เส้นค่าเฉลี่ย เท่าไหร่ ดี  .... อืม
           มันก็มีตั้งหลายแบบ บางคนก็ใช่ SMA (Simple Moving Average)  ที่ 10 , 25 , 50 , 100 ก็มี หรือ
           บางคน จะใช้ เส้น 5, 15, 35, 90  แบบที่ผม อธิบายไว้ใน   หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า ที่เรียกว่า EMA Knights ก็ได้ หรือ ใครจะใช้ เส้นค่าเฉลี่ยแบบพิเศษ ที่เรียกว่า Alligator   ซึ่งถูกคิดค้นโดย Dr. Bill Williams ในหนังสือ Trading Chaos ก็ได้ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว
            อ่านบทความเกี่ยวกับ EMA Knights ได้ที่ นี่
            http://waveridersclub.blogspot.com/2010/11/2-5-ema.html

       แบบที่สี่ :  Resistant / Support Line

          แบบนี้เกิดมาจากหลักการที่ว่า " ... เมื่อแนวรับ/แนวต้าน ถูกราคาทะลุผ่านได้  แนวรับจะกลายเป็นแนวต้าน หรือแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับ ... "
          ราคา Break out  แนวต้านขึ้นไปได้แล้ว ไม่ควรจะถอยย้อนกลับลงมาใต้แนวต้านนั้น เราจึงใช้แนวต้านที่ราคาทะลุผ่านไปได้เป็น Stop Loss
         แต่ว่าหลักการนี้ ควรจะเลือกใช้กับแนวต้านที่มีนัยยะสำคัญ เช่น แนวต้านของ Trading Range ที่ราคาในอดีต วิ่งชนไม่ผ่านมากนานหลายเดือนก็ไม่ผ่านสักที

         ลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวรับ แนวต้าน ใน บทความนี้
         http://waveridersclub.blogspot.com/2012/11/resistant-support-part-2.html


          หรือ ใช้กับ การเปิดกระโดด เป็น Gap ที่เป็น Breakaway Gap , Continuous Gap หรือ Exhaustion Gap  เป็นต้น ...  ถ้าราคากระโดดเป็น Gap แล้ว ก็ไม่ควรถอยลงมาจนราคาปิด Gap
เมื่อเข้าซื้อหลังจากที่ราคาเปิดกระโดด ถ้าวันนั้นหรืออีก 1-2 วันถัดไปราคาถอยลงมาปิด Gap (Gap Filled) ก็ต้อง Stop Loss ทิ้งไป ..

           อธิบายไว้ในบทความ  เห็นโอกาสในช่องว่าง กันไหม ( Opportunity in Gap ) 
           http://waveridersclub.blogspot.com/2014/01/opportunity-in-gap.html 

           (หมายเหตุ : ทั้งเรื่องแนวรับ แนวต้าน และ แกป มีอธิบายไว้ใน   หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า โดยละเอียด พร้อมมีคลิป ที่ใช้ QR-Code ยิงเปิดดูประกอบได้ด้วย ... จ้า)

       แบบที่ห้า :  Trend Line - Speed Line Stop

           การใช้ Trend Line มาช่วยในการ Stop Loss ก็ทำได้ ในเวลาที่ราคาวิ่งแล้วพักตัว แล้วก็ไปต่อ เราสามารถตีเส้น Trend Line ผ่านจุดลกับตัว ที่ราคาพักตัวนั้น จะได้เส้นเฉียงที่บอก Trend ให้กับเรา

          เมื่อราคาอ่อนตัว อ่อนกำลังลงมาจนไม่สามารถวิ่งอยู่เหนือเส้น Trend Line ที่เราได้ตีไว้ ราคาลงมาเป็นการบอกว่า เราควรจะต้องขาย Stop Loss ออกมาเพื่อความปลอดภัย เพราะไม่รู้ว่า ราคาที่ตก Trend Line นั้น มันแค่อ่อนแรงพักตัว แล้วไปต่อ หรือว่ากลับตัวเปลี่ยนทิศวิ่งเป็นขาลงเลย รึไม่

          เมื่อราคาตก Trend Line เราจึงควรขายออกไปก่อน แต่ถ้าตรงกันข้าม ราคา วิ่งแรงขึ้น เชิดชันขึ้นจนราคาออกห่างจาก เส้น Trend Line  ไปมากแล้ว แบบนี้เราก็ควรจะตี Speed Line แนบไปกับการพักตัวย่อยๆ ในราคารอบใหม่ เพื่อทำการ Lock Profit เอาไว้





             แบบที่ หก  :  Volatility Stop 

                   Volatility แปลว่า  ความไม่แน่นอน  ในที่นี้หมายถึง ราคาหุ้นที่มีลักษณะความผันผวน ขึ้นลงไม่แน่นอน  หุ้นที่มีการเหวี่ยงตัวขึ้นลง แรงๆ บ่อยๆ ก็จะถือว่าเป็นหุ้นที่มี High Volatility  คือ มีความผันผวนสูง  ส่วนหุ้นที่เหวี่ยงตัวขึ้นลงไม่รุนแรง ก็เป็น หุ้นที่มี Low Volatility
               
                   ดังนั้น Tools ที่ใช้ในการ Stop Loss ด้วย Volatility ของราคาหุ้น ก็จะใช้ ATR - Average True Range นำมาคำนวณ และสร้างเครื่องมือมาใช้ในการช่วยวาง Stop Loss เช่น

                   -- Chandelier Exit  by Alexander Elder
                   -- Volatility Stop by J. Welles Wilder
                   -- ATR Band  by J. Welles Wilder
                   -- ATR Trailing Stop  by Chester Keltner                
                   -- Keltner Channel  by Chester Keltner ... เป็นต้น


            แบบที่ เจ็ด :  Parabolic SAR

                   Parabolic SAR คำว่า SAR  ย่อมาจาก Stop And Reversal เป็น เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย J. Welles Wilder, Jr. อยู่ในหนังสือ New Concepts in Technical Trading Systems ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1978
                  Parabolic SAR จะสร้างจุดขึ้นมารองรับใต้ แท่งราคา ในเวลาที่หุ้นวิ่งขึ้น และจะกลับไปอยู่ด้านบนของแท่งราคาในเวลาที่หุ้นวิ่งลง ดังนั้นเวลาที่ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นอยู่ แล้วพอราคาชะลอตัว SAR จะบีบเข้าหา แท่งราคา เมื่อแท่งราคาไหนที่ถอยทะลุ SAR ได้  SAR หายไปจากด้านล่างของแท่งราคา ไปอยู่ด้านบนของแท่งราคา
                 เมื่อเกิด SAR กลับข้างถ้า แท่งราคาถัดไปลง ต่ำกว่า Low ของแท่งราคาที่เกิด SAR พลิกกลับ จึงเป็น เวลาที่เหมาะที่จะ ขายหุ้นได้




            แบบที่ แปด :  Timing Stop

                  Stop Loss แบบนี้ล่ะ ที่ประหลาดที่สุด เพราะไม่ได้ดูที่ราคา แต่เป็นดูที่เวลา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ก็ควรจะต้อง Stop Loss ขายหุ้น ออกไป  โดยดูจากการเคลื่อนที่ของราคาในอดีตที่ผ่านมา นำมาประเมินการวิ่งของราคาในช่วงเวลาถัดไป ว่าจะสามารถวิ่งไปได้ไกล อีกกี่แท่ง
                  เมื่อถึงเวลาที่คาดไว้ ก็พิจารณา อาการของราคา หรือ Indicator อีกที ถ้ามีอาการอ่อนแรงให้เห็น ก็ขายออกไปตาม เป้าหมายเวลา
                  การ Stop Loss ด้วยเวลาแบบนี้ จึงประโยชน์มากกับ การเทรดในสินค้าที่มี Time Dilution เช่น Option เป็นต้น
                  วิธี ที่ใช้ในการ ทำ Timing Stop หรือ Tempo Stop แบบนี้ ก็มี

                    --  Time Cycle
                    --  Fibonacci Time Projection by Elliott Wave
                    --  Swing Counting by John Crane
                    --  TD Sequential Count by Thomas DeMark



     
           การเลือกใช้  Stop Loss ให้เหมาะสมกับ สินค้าที่เทรด เหมาะสมกับสไตล์ของตนเอง หรือเหมาะกับ Trade Setup ของตนเอง จึงต้องเลือกใช้ให้เป็น ซึ่งความรู้ในการใช้ Stop Loss แต่ละแบบ ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเอาได้ จากการ Search ใน  Google หรือ YouTube

          หรือถ้าใครอยากจะรู้ อยากจะเรียน ก็บอกได้ว่า ผมสอนวิธีการใช้ Stop Loss ทั้งหมดนี้ อยู่ใน อบรม เทคนิคอล ที่จัดที่ Stock2morrow.com  โดยสอนกระจายอยู่ใน 3 หลักสูตรการอบรม คือ

          1.  Technical 4 วัน - สอนมือใหม่ รู้จักใช้เทคนิคอล
                 http://www.stock2morrow.com/course/courses_list.php?id=4

          2.  Swing Trade Style - 3 วัน
                 http://www.stock2morrow.com/course/courses_list.php?id=6

          3. Opportunity of Making Profit Technics เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า - 3 วัน
                 http://www.stock2morrow.com/course/courses_list.php?id=83


          สนใจเรียนรู้อะไร ก็ตามไปลองเรียนกันแบบละเอียดลึก แบบใช้งานได้จริงๆ กันเลย



Wave Riders Pui



.
.
.
.
.

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มาตรฐานความรู้ Technical Analysis มันมีไหม ??

   ถ้าจะพูดถึงความรู้ เกี่ยวกับ Technical Analysis ซึ่งมีประวัติศาสตร์ ด้านวิชาการมาไม่นานนี้  ก็เป็นระยะเวลา 100-200 ปี มานี้เอง แต่ที่เป็นจุดเปลี่ยนทำให้เกิดกระแสความสนใจในวิชาการด้านนี้ คงต้องยกให้ Charles Henry Dow ซึ่งก็ได้ ทำสรุปอย่างย่อไว้ใน บทความนี้ แล้ว

http://waveridersclub.blogspot.com/2013/04/history-of-technical-analysis.html

    จนถึงปัจจุบัน วิชาการด้าน Technical Analysis ก็เริ่มแตกยอดทางความคิด ต่างๆ ออกมามากมาย แต่โดยภาพรวมแล้ว Technical Analysis แต่ละอย่างที่ถูกคิดค้นขึ้นมานั้น เป็นการเก็บข้อมูลวิจัยเชิงสถิติของการเคลื่อนที่ของราคา แล้วปริมาณการซื้อขาย ในสภาพต่างๆ ของตลาด และคำนวณ วิเคราะห์ในเชิงสถิติ สร้างเครื่องมือ Indicator และทฤษฎีต่างๆ ขึ้นมา ในการอ่านค่าจะกราฟ ซึ่งแสดงพฤติกรรมราคาหุ้น ที่เคลื่อนไหว ในแต่ละวัน

    วิชาการเหล่านี้ บ้างก็เป็นที่ถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ นานา ถึงความถูกต้องแม่นยำ ถึงการตีความ ตามความหมายของผู้ที่ได้เรียนรู้ ว่าถูกต้องเป็นไปตาม หลักการ ของผู้คิดค้นทฤษฎี ต่างๆ หรือไม่
จนเกิดเป็นความต้องการที่จะต้องการ การบ่งชี้ว่า  คนที่เรียนตัวว่าเป็น กูรู เป็นนักวิเคราะห์ทางเทคนิค เหล่านี้ ที่ให้ความเห็น หรือให้คำแนะนำกับนักลงทุน หรือเปิดสอนความรู้ต่างๆ  เป็นผู้ที่มีความรู้จริง ในทางเทคนิคอล หรือไม่
    จนกลายเป็น ต้องมีหลักเกณฑ์ ในการวางมาตรฐานรับรองความรู้ ทางเทคนิคอล กัน เพื่อเป็นการยืนยันให้กับ องค์กรที่จะจ้างนักวิเคราะห์ เหล่านี้ไปทำงาน หรือให้เขียนบทวิเคราะห์ หรือ ให้ดูแลพอร์ท การลงทุน และได้รับการยอมรับจากนักลงทุน โดยทั่วไป

     องค์กรสากล ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ในการให้การรับรองความรู้ด้าน Technical Analysis มีหลักๆ 2 องค์กร ได้แก่

       1. IFTA (International Federation of Technical Analysts)
         http://www.ifta.org


วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

นับ 9 นับ 13 แบบ Sequential Count เขานับกันยังไง

     เทคนิคการนับ แบบ Demark เป็นการนับรอบเวลา เพื่อคาดการณ์ รอบเวลาของการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น จากการเริ่มต้นมีแนวโน้ม ไปจนถึงช่วงเวลาที่อ่อนแรงใกล้จบแนวโน้ม ที่ ชื่อว่า

Sequential Count Technics

 
     ผมเองได้เริ่มเรียนรู้ Technical Analysis และได้รับการชี้แนะเทคนิคนี้ มาตั้งแต่ปี 2004 หลังจากนั้น ก็ห่างหายไปพักใหญ่ๆ แล้วก็กลับมา ปัดฝุ่น เมื่อปี 2008 หาหนังสือ เกี่ยวกับ Demarks Technics มาศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากอีกหลายตำรา และจากใน Youtube ด้วย จากนั้นก็ได้ นำมาใช้ในการนับเวลา มาโดยตลอดอย่างสม่ำเสมอ

    ขอแบ่งปัน Clip บน Youtube ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ เทคนิค เหล่านี้ ไว้ บนนี้
สามารถ เข้าไปดู ใน playlists ที่รวบรวมไว้ให้ ได้เลย

     http://www.youtube.com/playlist?list=PLA357DBD4AB70F1FE
 



       นอกจากนี้ ก็มีจดบันทึกสรุป เอาไว้ เพื่อการทบทวนของตนเองด้วย   เพื่อเป็นการแบ่งปัน ให้กับผู้ที่สนใจ ศึกษา เทคนิคนี้   จึงขอ แชร์ไว้ให้อ่าน กัน เป็นการเพิ่มพูนความรู้

        ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นี้ ยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ให้ศึกษา ... นี่เพียงแค่เป็นการจุดประกาย เท่านั้น


      บันทึกส่วนตัวนี้  ทำไว้สำหรับ ผู้ที่สนใจจะเพิ่มพูนความรู้ ให้กับตนเอง กรุณาไม่นำไปแจกจ่าย หรือนำไปใช้เพื่อการหารายได้ หากต้องการแบ่งปันให้กับผู้อื่น ก็ขอให้แชร์ บทความนี้ ต่อไป

     สำหรับ TD Sequential Count มีสอน ออนไลน์ อยู่ใน คอร์ส Advanced Strategic Trading เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า บน www.skilllane.com
      กดลิงค์ เพื่อไปดู คอร์สออนไลน์ เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า 
      เรื่อง TD Sequential Count  จะอยู่ใน Day 3  ทั้งตอน จะสอนเกี่ยวกับ เรื่องนี้ ทั้งหมด

      ตัวอย่างประโยชน์ ในการ นำ TD Sequential Count ไปใช้ มีตัวอย่าง ที่เคย อธิบายไว้ ตาม คลิปนี้

       
        แต่ก็เป็นเพียง เนื้อหาโดยย่อๆ ยังมีวิธีการใช้งาน อย่างอื่น ร่วมกับ เครื่องมือต่างๆ อีกหลากหลาย
        ให้เรียนรู้ใน คลาส ออนไลน์  ใครสนใจก็ลงเรียนได้เลย


         ส่วนปัญหา ไม่มีกราฟใช้งาน TD Sequential Count ได้  ตอนนี้ก็ได้มีการพัฒนาให้สามารถใช้ได้แล้ว
         eFinance มีแล้ว แต่จะต้องเป็นแบบ เสียค่าบริการ
         Bisnews ก็มีใช้แล้ว แต่ไม่มีใน Indicator ที่ติดตั้งมาในโปรแกรม จะต้อง เพิ่ม Study ของเครื่องมือเข้าไปเพิ่ม ซึ่งจะมีให้ Download สำหรับคนที่ลงเรียน ในคอร์สออนไลน์ เท่านั้น
         MT4  ก็มี สามารถไป Download ได้ ตาม Link นี้  https://ufile.io/946ef   หมดอายุ Jan. 12, 2017

          หวังว่าจะสนุกสนาน กับการ เรียนรู้ การนับแท่งราคา




     Wave Riders Pui


..
..



วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

Technical Analysis in 1 Day

    เนื่องจากมี คนถามหา คลิป สอน คลาส เทคนิคอล ที่เคยได้ไปบรรยาย ของวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โครงการ “กลยุทธ์การบริหารเงินลงทุนให้ได้…ผลตอบแทนที่ดีที่สุด” (CSI รุ่นที่ 2)

     ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก โครงการหนึ่งเลย เพราะ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้ในการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ตลาดหุ้น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ  เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมทราบถึงวิธีการลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนดีที่สุด (Optimal Return) ภายใต้ความเสี่ยงที่สามารถจัดการได้
   
    ถ้าใครสนใจ ก็สอบถามรายละเอียด ไปที่

          หลักสูตรวิชานวัตกรรมการลงทุนวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
          ศูนย์ศึกษาวิภาวดี อาคาร TST TOWER (หลังธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่)
            ชั้น 22 ห้อง 2201
            เลขที่ 21 ถนนวิภาวดีรังสิต ซอย 9 แขวงจอมพล เขต จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900
            ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   http://www.doctorwe.com/category/variety
            หรือ www.csirsu.com/csi
            Email: invest.rsu@gmail.com

            หรือ https://www.facebook.com/DoctorweClub
            ติดต่อสอบถาม คุณก้อย โทร. 081-173-9000

     โครงการของเขาดีจริง ก็ขายของให้เขาหน่อย

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

How to Use QR Code ในหนังสือ โต้คลื่นหุ้น ... เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า


ใครที่ยังไม่ได้ มีหนังสือ "โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า" เล่มนี้มาไว้ในครอบครอง ต้องบอกว่า พลาดโอกาสที่จะได้ เรียนรู้ ทีเด็ด วิธีการใช้กราฟเทคนิค ในการลงทุน




    หนังสือหุ้นเล่มนี้ บอกตามตรงว่า ใช้เวลาทำนานมาก คือห่างจากเล่มแรก ถึง 2 ปี เพราะแก้แล้วแก้อีก
ต้นฉบับทำออกมาแล้ว ก็แก้ไข เรียงเรียงใหม่ หาทางหาวิธี ที่จะอธิบาย กราฟเทคนิค ให้อ่านเข้าใจได้ง่ายที่สุด
    แล้วก็ ได้ทำอะไรหลายอย่าง ที่หนังสือหุ้นเล่มอื่นๆ ยังไม่เคยทำมาก่อน

    อย่างแรก คือ จับหนังสือตะแคง ครับ ขนาดหนังสือก็เท่า พ๊อกเก็ตบุ๊ค ปกติ แต่ทำออกมาในแนวตะแคง เพื่อให้ อ่านง่าย เห็นภาพกราฟ ประกอบโตๆ เต็มหน้า

   อีกอย่าง คือ เล่มแรก ที่ผ่านมาจะโดน ถามบ่อยมาก ว่า กราฟ ในหนังสือ ใช้กราฟอะไร ตั้งกราฟยังไง ทำไม่เป็น หรือ ผู้อ่านนึกภาพตามไม่ออก เพราะเป็นภาพนิ่ง ก็หาทางออก โดยทำ คลิป บรรยายเพิ่มเติมขึ้นมา แล้ว ก็ใช้ QR Code มาช่วยให้เกิดความสะดวกในการเปิด ดู คลิปเหล่านั้น

   แต่ปัญหา ที่ตามมาก็คือ QR Code ใช้ยังไง ใช้ไม่เป็น ... เอ่อ ... เอาล่ะสิ แล้วยังไงดีล่ะ
ก็เลยเป็นที่มา ในการทำ คลิป อธิบายการใช้งาน QR Code กับหนังสือ "โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า"

   ก็ ขอแนะนำวิธีการใช้ QR Code ในหนังสือ ตามคลิปนี้ เลยนะครับ



วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

6 เหตุผล ที่ต้องซื้อ "โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า"

6 เหตุผล ที่ต้องซื้อ "โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า"

     หนังสือโต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลฟ้า เล่มนี้ เป็น เล่มที่ 2 ที่เขียนออกมาให้ได้อ่านกัน หลังจากห่างจากเล่มแรกไปร่วม 2 ปี  มีหลายคนถามมาตลอดว่า เมื่อไหร่ จะออกหนังสือเล่มใหม่สักที  คราวนี้คงได้สมใจกันล่ะ
     "เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า" เล่มนี้ มีอะไรมากมายได้ทำให้ ทุกคนได้แปลกใจกัน ถ้าจะสรุป ก็คงจะได้ ถึง 6 เหตุผล หลักๆ ที่ ทำให้ต้องมีไว้ในครอบครอง กัน เลย
   

     1.  วางตะแคง  
   
      "เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า" เล่มนี้ ออกแบบให้ วางรูปแบบหนังสือ ตามแนวยาว  ทำให้ มีความสะดุดตา โดดเด่นไม่เหมือนหนังสือเล่มไหน ในร้านหนังสือ แน่นอน




          2. มี 2 แถว

            เนื้อหาในเล่มวางตัวอักษรไว้ 2 แถว ทำให้ อ่านง่าย กวาดตา อ่านนิดเดียวก็จบบรรทัดแล้ว หยิบมาอ่านนานๆ แล้วไม่ปวดหัว ปวดตา


       3. กราฟเต็ม

        ภาพกราฟประกอบเนื้อหา สีสรรสวยงามชัดเจน และเต็มหน้า เห็นรายละเอียดของกราฟชัดเจน ไม่ต้องอ่านไป เพ่งตาดูกราฟไป


      4. มี TIPS 

             TIPS ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ทิป ที่ให้ตอนจอดรถ หรือให้พนักงานยกกระเป๋า แต่เป็น TIPS เคล็ดเทคนิค ที่สรุปใจความสำคัญ ของเทคนิควิเคราะห์กราฟ  มีแทรกไว้มากมายตลอดเล่ม


      5. มี QR code

            ต้องบอกว่า แค่อ่าน มันคงไม่พอ มันต้องมีภาพเคลื่อนไหว ประกอบไปด้วย ตลอดทั้งเล่ม จะมี QR Code ให้ผู้อ่านสามารถ ใช้ มือถือ หรือ Tablet เอามายิง QR Code ด้วย App : QR Reader เพื่อที่จะเข้าไปดู คลิป อธิบาย ต่างๆ ประกอบเนื้อหาแต่ละบท ใน ยูทูป ได้ด้วย


      6. ไม่ใช่แค่เทคนิคอล

        นอกจากความรู้ด้านเทคนิคอล ในการใช้ Indicator ในการวิเคราะห์กราฟ แล้ว ภายในเล่ม ยังมีอธิบาย วิธีจำกัดความเสี่ยง วิธีการซื้อหุ้น วิธีการขายหุ้น ที่จะทำให้ ลดโอกาส ในการขาดทุนจนหมดตัว แล้ว ยังสามารถ สร้างโอกาส ในการ ทำกำไรทะลุฟ้า ได้จริงๆ อีกด้วย





            6 เหตุผล นี้ เป็นแค่เพียงบางส่วนของอีกมากมายหลายข้อ  ที่จะทำให้ ต้องหยิบ หนังสือ "โต้คลื่นหุ้น ... เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า"   ขึ้นมาแล้ว เดินไปจ่ายเงิน เอากลับไปอ่านที่บ้าน  ... เพราะมันคุ้มค่าแก่การมีไว้ในครอบครองจริงๆ































วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557

เข็มทิศนำเทรน DMI


          ในการเดินทางในชีวิตจริง เราอาจจะต้องใช้ทั้งเข็มทิศ และแผนที่ คอยบอกเส้นทางในการเดินทาง และสภาพของเส้นทางที่เราจะเดินทางผ่าน ส่วนในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ถ้าราคาหุ้นเป็นแผนที่เดินทาง เข็มทิศ ก็คงจะเป็น Indicator ชื่อ DMI – Directional Movement Index ซึ่งสามารถหาใช้งานได้ในโปรแกรมกราฟที่ได้มาตรฐานทั่วไป

DMI ใน Aspen Graphics

 DMI ใน eFin Smart Portal


 DMI ใน Bisnews Professional


           DMI หรือ Directional Movement Index แค่ชื่อก็บอกแล้วว่า Indicator นี้ใช้บอกทิศทาง ก็คือ มันเป็น Indicator ทีใช้ในการบอก ทิศทางของราคา หรือ Trend นั่นเอง ซึ่ง DMI นั้นเป็น Indicator ที่ถูกสร้างจากการประกอบร่างของ Indicator 2 ตัว คือ
          
          Plus/Minus Directional Index (+DI/-DI) มีหน้าที่ ในการบอกทิศทางของราคาว่าเป็น Trend Up ขาขึ้น หรือ Trend Down ขาลง หรือ Sideway พักตัวไปข้างๆ

           Average Directional Index (ADX) มีหน้าที่ บอกพลังของ Trend ถ้ามีค่ามากก็แปลว่า Trend มีพลังแข็งแรงมาก มีค่าน้อยก็แปลว่า Trend มีพลังน้อย

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

8 เหตุผลที่ คนควรขายหุ้น



          เคยเป็นอย่างนี้กันบ้างไหม?? จะลงทุนในหุ้น ศึกษาหาหุ้นกิจการดี วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือดูกราฟมองหาสัญญาณเทคนิคกันแทบหลังหัก กำเงินเข้าซื้อหุ้นด้วยความมั่นใจเปี่ยมล้น แต่สุดท้ายตกม้าตายตอนจบ เพราะไม่รู้จะขายตรงไหน ราคาวิ่งขึ้นก็ลุ้นว่าจะขึ้นไปได้อีกไหม พอราคาถอยลงก็เชื่อว่าราคาหุ้นจะกลับขึ้นไปได้อีก แล้วก็ไม่ได้ขายหุ้นที่ซื้อมา แล้วก็เก็บหุ้นไว้ต่อไปไม่ได้ขาย ปัญหาแบบนี้ ถ้ายังไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไร มันก็จะเกิดแบบเดิมกลับมาอีก ลองมาดูกันว่า ถ้าจะขายหุ้น เราควรจะขายเพราะอะไร ขายเมื่อไหร่

1. Sell on Stop

จุด Stop Loss ของนักเทคนิคอล มีเครื่องมือมากมายหลายวิธี มาช่วยในการกำหนดแนวราคาที่ต้องขายหุ้นทิ้ง เช่น Safety Belt, เส้น EMA หรือแนวรับแนวต้านก็ได้ การวางแนวราคา Stop การยกขยับ Stop ตามไปเมื่อราคาวิ่งขึ้น เป็นวินัยที่จำเป็นในการเข้าซื้อหุ้น และการถือหุ้น ซึ่งช่วยป้องกันการขาดทุนจำนวนมากๆ เมื่อราคาหุ้นไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

เมื่อจะเข้าซื้อหุ้น จึงต้องกำหนด Stop Price เพื่อนำไปประเมินความเสี่ยง (Risk) และคำนวณหาจำนวนหุ้นที่จะซื้อ (Position Sizing) จะเป็นการจำกัดความเสี่ยงในการขาดทุน (Limit Loss) ไว้ไม่ให้ขาดทุนมากเกินกว่าที่จะรับได้ และป้องกันต้นทุนเอาไว้ แผนการซื้อขายหุ้น เป็นสิ่งที่ต้องทำไว้ให้ชัดเจน ทั้งจุดเข้าซื้อ จุดยอมขายทิ้ง และเป้าหมายที่จะทำกำไร

ดังนั้นเมื่อราคาถอยมาถึง Stop Price จึงต้องรักษาวินัยของตนเอง ขายหุ้นออกไป เพื่อควบคุมความเสี่ยง และจำกัดการขาดทุนเอาไว้ ส่วนรูปแบบ และสไตล์การลงทุนของแต่ละคนจะเป็นตัวกำหนดวิธีการวาง Stop Price ที่เหมาะสม เลือกวิธีการที่เหมาะสม และรักษาวินัยตามนั้นให้ได้ 


2. Sell when Wrong

เหตุผลที่เข้าซื้อหุ้นไม่ว่าจะด้วยการวิเคราะห์ทางพื้นฐาน หรือทางเทคนิค ก็ตาม หรือแม้ว่าจะซื้อตามข่าวก็เถอะ ถ้าเหตุการณ์ทีเกิดตามมามันไม่เป็นไปตามข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อ มันก็ถือว่า “ผิด” (Wrong) การตัดสินใจขายหุ้นที่เข้าซื้อผิด เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เร็วที่สุด

ดูพื้นฐานหุ้นดี คาดว่ากิจการจะเติบโต แต่พอประกาศผลประกอบการ หรือดำเนินธุรกิจไปแล้ว ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ก็ต้องขายทิ้ง

ดูกราฟ มีสัญญาณเทคนิคดี ราคาหุ้นวิ่ง เทรดเดอร์คาดว่าจะวิ่งไปได้ไกล เข้าซื้อไปแล้ว แต่สิ่งที่ตามมากลายเป็นว่า ราคาไม่ไปแล้ว ถอยหลังลงก็ต้องยอมรับสภาพขายทิ้งไป หรือฟังข่าวว่ามาอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อแล้วซื้อตามเขาไป ถ้าข่าวไม่เป็นจริง เป็นแค่ข่าวหลอกข่าวลือ ก็ต้องขายหุ้นทิ้งเหมือนกัน

เมื่อผิด ก็ต้องยอมรับว่า “ผิด” เข้าซื้อหุ้น เพราะเข้าใจผิด คิดผิด มองผิด ควรขายทิ้งอย่างไว ไม่ควรดื้อดึง ติดหุ้น ติดดอย หลายคนรู้ตัวว่าซื้อผิด แต่ไม่ยอมรับตัวเอง ดื้อดึงหาข้ออ้างต่างๆ นานา หาเหตุผลมาหลอกตัวเอง ให้ถือหุ้นต่อไป ด้วยความหวังที่ไม่มีเหตุผล ไม่มีข้อเท็จจริงมารองรับ ถ้ายังแก้นิสัยตรงนี้ไม่ได้จะมีอาการติดหุ้น ติดดอยต่อไปเพราะซื้อหุ้นผิดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เห็นหุ้น Break Out New High คิดว่าหุ้นจะวิ่งไปไกล เข้าซื้อไปแล้ว แต่กลายเป็นวิ่งวันเดียวแล้วเลิก ราคาถอยกลับลงมาใต้แนวราคาที่ Break Out ไป กลายเป็น False Break อาการพยายามมองหา Indicator มาหาข้ออ้างต่างๆ ไม่ยอมขายหุ้น แล้วถือหุ้นต่อไป จนสุดท้ายทนไม่ได้ขายหุ้นขาดทุนออกมา เสียหายยิ่งกว่าเดิม

อาการผิดพลาดอีกอย่างพวกคาดหวัง หรือ Bias ในใจ หลอกลวงตัวเอง ดูกราฟเห็น Pattern แล้ว ใจเร็วรีบเข้าซื้อก่อนที่จะเกิด Confirm Pattern เห็นหุ้นกำลังจะ Break Out กลัวตกรถ รีบเข้าซื้อก่อน Break Out และอีกเยอะแยะที่รีบเข้าซื้อก่อนที่ Confirm Buy Signal จะเกิดขึ้น แต่ราคาไม่ได้วิ่งตามที่คาดหวัง ดันผิดคาด ราคาดันทำ “เข็มขัดสั้น” (คาดไม่ถึง) ...

อาการเข็มขัดสั้น นี่มันแสบนะ มือใหม่จะเป็นกันบ่อย ใจเร็วด่วนได้ จะด้วยความงก หรือกลัวตกรถ หรืออะไรก็ไม่รู้ เข้าซื้อก่อนเกิด Confirm Signal แล้วพอไม่เป็นไปตามนั้นจะออกอาการ อึ้งๆ งงๆ ในหัวจะออกอาการขัดแย้งเหมือนมี 2 ข้างทะเลาะกัน ข้างหนึ่งจะบอกว่า “แย่แล้ว ... Stop เลย ... ขายทิ้งเถอะ”
อีกฝ่ายจะบอกว่า “ไม่หรอก ... เดี๋ยวมันก็ไป ... ดูสิ Indicator ตัวนั้น ยังบอกอยู่เลยว่า มันยังไปได้อยู่” สุดท้ายก็ไม่ได้ทำอะไรปล่อยให้ราคาไหลลงไปเรื่อยๆ จนเกินจุดที่จะกล้าขายขาดทุน

ดังนั้นจะเข้าซื้อด้วยเหตุผล หรือเหตุการณ์อะไรก็ตาม ถ้าราคาไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ผิดพลาด ผิดทาง ก็ต้องขายทิ้ง ซึ่งดีทีสุด คือ ซื้อเมื่อราคาเกิด Confirm Buy Signal แล้วดีที่สุด ถึงจะซื้อแพงขึ้นอีกนิด แต่ Sure กว่า มั่นใจมากกว่า เสี่ยงน้อยกว่า มันก็น่าจะดีกว่า มิใช่หรือ


วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

เห็นโอกาสในช่องว่าง กันไหม ( Opportunity in Gap )

     การที่ราคาแท่งก่อนหน้า หรือวันก่อนหน้าปิดไปแล้ว ราคาแท่งถัดมาหรือวันถัดมา เปิดกระโดดขึ้นหรือลง ข้ามราคาไปช่วงหนึ่ง และราคาวิ่งต่อไปในทิศทางเดิม โดยไม่มีการถอยมาปิดช่องว่างนั้น เกิดเป็นภาพ Gap ขึ้นมาในกราฟ  อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของราคาอย่างนั้นขึ้นมา

      ข่าว (News) หรือข้อมูลใหม่ (New Information) ที่เกี่ยวข้อง หรือกระทบถึงปัจจัยพื้นฐานของกิจการ หรือส่งผลกระทบถึงความคาดหวังของนักลงทุนให้เกิดมุมมองต่อราคาหุ้น ที่เปลี่ยนแปลงไปจากราคาเดิมโดยสิ้นเชิง ทำให้เมื่อตลาดเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง ราคาเริ่มต้นซื้อขายกันแตกต่างกันไปราวฟ้ากับดิน ถ้าเป็นข่าวดีทำให้นักลงทุนเชื่อว่า ราคาเดิมที่ปิดตลาดไปนั้น มันต่ำเกินไป เมื่อเปิดตลาดอีกครั้ง ราคาก็จะกระโดดขึ้นไป เป็น Gap Up แล้ว วิ่งขึ้นต่อไปจนจบวัน ถ้าเป็นข่าวร้าย ทำให้นักลงทุนคิดว่าราคาเดิมที่เป็นอยู่ มันสูงเกินไป เมื่อเปิดตลาดอีกครั้งราคาก็จะกระโดดลง เป็น Gap Down และราคาวิ่งลงไปต่อจนจบวัน



        การเกิด Gap สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ ในกราฟรายวัน (Daily Chart) ราคาปิดไปที่ราคาหนึ่ง แล้ววันรุ่งขึ้น เปิดกระโดดขึ้นหรือลงไปที่อีกราคาหนึ่ง หรือกราฟรายสัปดาห์ (Weekly Chart) ราคาวันศุกร์ปิดไปที่ราคาหนึ่ง แล้ววันจันทร์เปิดตลาดแล้วกระโดดขึ้นหรือลง ไปที่ราคาที่ต่างออกไปเลย หรืออาจจะเกิดในช่วงที่มีวันหยุดยาวหลายๆ วันก็ได้ เพราะในประเทศตลาดปิด แต่ต่างประเทศไม่ได้ปิดด้วย พวกนี้ก็จะเกิดกับกลุ่มที่อ้างอิงกับตลาดต่างประเทศ

       การวิเคราะห์ทางเทคนิค เรื่องของ Gap Analysis มีการแยกประเภทของ Gap ไว้เป็น 4 ประเภท คือ

          1. Common Gap หรือ Area Gap
          2. Breakaway Gap
          3. Continuation Gap หรือ Runaway Gap
          4. Exhaustion Gap