Wave Riders Technical Course Online

Wave Riders Technical Course Online
เรียน Technical Course online สามาร click ที่ ภาพเลย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Divergence บอกอะไร ... กันแน่

          Divergence ในทาง เทคนิคอล หมายถึง การที่กราฟราคาหุ้น กับ Indicator ขยับในทิศทางที่แตกต่างกัน ไม่สอดคล้องกัน โดยปกติ Indicator ที่ใช้ดูสัญญาณ Divergence จะเป็นเครื่องมือประเภท Oscillator เช่น RSI, ROC (Rate of Change), MACD, Stochastic หรือ MACD Oscillator ซึ่งเครื่องมือพวกนี้ จะใช้แสดงพลังของราคา หรือ Momentum ของราคา หรือ การเหวี่ยงของราคา

          ในสภาพปกติ ถ้าราคาหุ้นวิ่งขึ้น Oscillator ก็ควรแสดงผล วิ่งขึ้นด้วย เป็นการแสดง Momentum ของราคาที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าราคาถดถอยลง Oscillator ก็ควรที่จะลดถอยลง แสดง Momentum ของราคาที่ลดลง ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของราคา กับ Oscillator ที่สอดคล้องกัน เขาเรียกว่ามัน “Agree” กัน
          ถ้าราคาหุ้นกับ Oscillator มันเกิด “Disagree” กันขึ้นมาล่ะ  คือ ราคาวิ่งขึ้น New High แต่ Oscillator กลับขึ้นนิดเดียว หรือ ราคาลง New Low แต่ Oscillator กลับถอยลงนิดเดียว เขาจึงเรียกรวมอาการพวกนี้ว่า Divergence

          Divergence ถ้าเกิดขึ้นแล้ว มันหมายถึงอะไร ?? 
          
          มันมีความเชื่อของ Trader มือใหม่อยู่ว่า ถ้าเห็น Divergence แปลว่า ราคาหุ้น มันจะกลับตัว คือ ถ้าราคาวิ่งขึ้นอยู่แล้ว พอเกิด Divergence แล้ว ราคาหุ้นจะเปลี่ยนเป็นวิ่งลง หรือ ราคากำลังวิ่งลง พอเห็น Divergence แล้ว ราคากำลังจะกลับตัวขึ้นไป ถ้าถามว่ามันถูกไหม ก็ขอตอบว่า มันไม่จริง  ก็มีบ้างที่กลับตัวจริงๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ราคาจะกลับตัวทุกครั้งที่เกิด Divergence

          ในความเป็นจริง Divergence มันแสดงกำลังของการเคลื่อนที่ของราคาที่ลดน้อยถอยลง คือราคาวิ่งขึ้น New High แล้วเกิด Divergence Oscillator ก็แปลว่า การที่ราคาเคลื่อนที่ New High ขึ้นไปได้นั้น พลังของราคานั้นมันลดลงกว่าการวิ่งขึ้นครั้งก่อน เป็นไปได้ที่ราคาหุ้นจะถดถอยลงมาหลังจากวิ่งขึ้นจบแล้ว หรืออาจจะพักตัวออกข้างก็ได้ ดังนั้น การเกิด Divergence ไม่ได้หมายความว่า ราคาหุ้นจะเปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นมาเป็นขาลง

[ การเกิด Divergence หมายความว่า ราคาหุ้นแค่หมดแรง ไม่ใช่จะเปลี่ยนทิศทาง สัญญาณอื่นจะมายืนยันการเปลี่ยนทิศภายหลัง ]

          ในหุ้นที่มีพลังสูงๆ วิ่งขึ้นต่อเนื่องมายาวนาน เวลาที่ จะเปลี่ยนทิศเป็นขาลง อาจจะเกิด Divergence ได้ 2 ถึง 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นก็ได้ ก่อนที่จะกลับทิศเป็นขาลง ส่วนในขาลงที่ราคาดำดิ่งลงไปลึกๆ ก็เหมือนกัน กว่าจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ ก็อาจจะเกิด Divergence หลายๆ ครั้งก่อนก็ได้ 

           ตัวอย่างกราฟในภาพด้านล่าง จะเห็นว่า MACD ไหลลงต่อเนื่องทำ Divergence ไปหลายครั้ง ราคาก็ยังไม่เปลี่ยนทิศเป็นขาลง จนกระทั่ง EMA เกิด Dead Cross และราคาทำ New Low ลงมาใต้แนว Support Line ทางด้านขวาของภาพกราฟ ตรงนั้นถึงจะยืนยันการเปลี่ยนทิศเป็นขาลง



       

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วิกฤติเกิด รับมือยังไง


ลงทุนอย่างไร ในสภาวะวิกฤติ ... เป็นคำถามของใครหลายคน

      ในหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยผ่านสภาวะวิกฤติมาหลายต่อหลายครั้ง ... บ้างก็เป็นวิกฤติเศรษฐกิจจากต่างประเทศ บ้างก็เป็นวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยเอง บางครั้งก็มาจากภัยธรรมชาติ หรือการก่อวินาศกรรม และอีกหลายครั้งมากจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ในเหตุการณ์แต่ละครั้งมีผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และการลงทุนในประเทศ มีทั้งหนักเบา ระยะสั้นยาว แตกต่างกันไปตามแต่ละเหตุการณ์

      บางวิกฤติเป็นเหตุการณ์ที่ค่อยๆ เกิดสามารถคาดการณ์ผลกระทบได้ อาจจะไม่เกิดการตกใจเทขายกันรุนแรง แต่จะค่อยๆ ลงลึกยาวนาน ก่อนลงและระหว่างลงจะมีสัญญาณทางปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิคเตือนให้เห็นก่อนล่วงหน้า และระหว่างทางเห็นระยะๆ ทำให้เราสามารถปรับพอร์ทการลงทุนได้ทัน




      แต่สภาวะวิกฤติที่เกิดเป็นข่าวร้าย แบบฉับพลันทันที มวลชนส่วนใหญ่ตกใจ และมีความกังวลราคาหุ้น ส่วนมากจะถดถอยลง รวดเร็วและรุนแรง จากการตกใจขาย ตอบรับกับข่าวร้ายทันที ในกรณีแบบนี้ สิ่งที่นักลงทุนเองจะต้องทำ คือ การมีสติ คิดวิเคราะห์อย่างรอบคอบ อาจจะต้องดูสภาพโดยรวมของตลาดด้วยว่าเป็นอย่างไร เป็นขาขึ้น หรือขาลง หรือยังไม่ทิศทางชัดเจน ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น เตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดตามมา หากสภาพตลาดเป็นขาขึ้นอยู่ การตกใจแบบนั้นจะส่งผลระยะสั้น ลงเร็วรุนแรง และจะเด้งกลับอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหุ้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เลย ราคาอาจลงน้อยมาก แต่ถ้าสภาพตลาดเป็นขาลงอยู่แล้ว หรือไม่ชัดเจนรอการตัดสินใจ ข่าวร้ายแบบนี้จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเทขายอย่างรุนแรง ลงลึก หรือเปิดกระโดดที่แนวรับถัดลงไปเลยก็ได้ แล้วเด้งกลับขึ้นมาจากแรงซื้อบางส่วน ซึ่งจะเด้งไม่แรงนัก และพร้อมจะลงต่อได้ด้วย

      ดังนั้นนักลงทุนเอง ต้องวิเคราะห์ แยกแยะเหตุการณ์ และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมา อย่างมีสติ และมีวิจารณญาณอย่างดี ข้อมูล (Information) ต่างๆ ที่ได้รับมาในปัจจุบันค่อนข้างรวดเร็ว และขาดการตรวจสอบกลั่นกรอง โดยเฉพาะจาก Social Media ต่างๆ ที่แชร์ส่งต่อกันมา แนะนำให้ แยกข้อมูลออกเป็น 4 ประเภท คือ
 1. ความจริง (Facts)
 2.ความคิดเห็น หรือการคาดการณ์ (Comments or Forecasts)
 3. รายงานข่าว (News or Announcement)
 4. ข่าวลือ (Rumors)

      ความจริง (Facts)  เป็นข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่สะท้อนให้เห็นผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์ เช่น มีการปิดถนน ยึดสนามบิน ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ หรือภัยธรรมชาติ กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร หรือการดำเนินธุรกิจ หรือการปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบ หรือเปลี่ยนแปลงค่าระวางเรือ Facts จะกระทบพื้นฐานของกิจการ หรือโดนผลประกอบการตรงๆ ก็จะทำให้ราคาหุ้นที่โดนกระทบตรงๆ ปรับตัวลงอย่างแรง แต่กิจการที่โดนกระทบทางอ้อมก็จะมีอาการตกใจลงด้วย

      ความคิดเห็นหรือการคาดการณ์ (Comments or Forecasts) จะเห็นบทวิเคราะห์ หรือการคาดการณ์อนาคตต่างๆ จากสถาบันทางเศรษฐกิจ การเงินต่างๆ หรือจากนักวิเคราะห์ นักวิชาการต่างๆ เช่น การคาดการณ์ยอดการส่งออกประจำปี หรือประเมินตัวเลข GDP ของประเทศ หรือความคิดเห็นจากนักวิชาการต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ข้อมูลเหล่านี้ ล้วนเป็นการคาดเดา อนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เอามาประกอบการตัดสินใจในแนวโน้มระยะยาวพอได้ แต่ไม่มีผลกระทบอะไรรุนแรง

      รายงานข่าว (News or Announcement) คือ รายงานผลประกอบการ หรือข่าวที่นำเสนอรายละเอียดเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว หลายครั้งราคาหุ้นมักจะเกิดการรับรู้ผลประกอบการไปก่อนหน้าแล้ว จนราคาขึ้นมา overvalue กลายเป็นว่า ข่าวดีมา แต่ราคาขึ้นนิดหน่อย หรือราคาลง หรือข่าวดีที่รายงานผลประกอบการออกมาดี แต่ตลาดรับรู้ผลซื้อขายกันไปหมดแล้ว หลังจากประกาศผลประกอบการออกมา ราคาก็จะขยับเพราะข่าวไม่มากแล้ว แต่ถ้าเป็นผลประกอบการเลวร้าย ก่อนประกาศผลจะราคาจะลงจากการคาดการณ์รอบหนึ่ง พอประกาศผลประกอบการออกมาว่าแย่จริงๆ ราคาก็จะโดนเทขายอีกรอบหนึ่ง หรือกรณีที่เป็นการแถลงข่าวที่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยตรง เช่น ข่าวยุบสภา หรือปรับคณะรัฐมนตรี เป็นต้น ก็จะมีผลกับอารมณ์ตลาดโดยรวม

       สุดท้าย ข่าวลือ (Rumors) ข้อมูลพวกนี้ ส่วนมากจะมาตามสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่มีที่มาของแหล่งข่าว ส่งต่อๆ กันมา โดยที่คนส่งก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เห็นในมือถืออ่านแล้วตกใจ ชอบใจ สะใจ ก็กดแชร์ออกไปเลย ข้อมูลพวกนี้กระจายรวดเร็ว แพร่ออกไปอย่างขาดสติ หลายครั้งข่าวลือพวกนี้ทำให้ราคาหุ้นโดนขายกดลงมาอย่างรุนแรง

       หากนักลงทุนควรประเมินว่า ข้อมูลที่ได้รับมาเป็นข้อมูลประเภทไหน มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นโดยรวม หรือกระทบราคาหุ้นเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม หรือกระทบเฉพาะกิจการบางแห่งเท่านั้น หรือเป็นเพียงข่าวลือ ที่กระทบใจคน ไม่ได้มีผลกระทบต่อพื้นฐานของกิจการ อาจจะเป็นจังหวะที่ดี ที่นักลงทุนจะได้เข้าซื้อของดีราคาถูกก็ได้ ... แต่หากเพิ่งเข้าซื้อหุ้นบางตัวไป แล้วตลาดตกใจในข่าวจนราคาหุ้นที่เราเพิ่งซื้อจนราคาหลุดต่ำกว่า Stop Loss เราทำแผนไว้ก็ต้องทำตามวินัยขายทิ้งไปตามแผน แล้วค่อยใช้กราฟเทคนิคหาจังหวะดีๆ ใหม่อีกครั้ง ถ้าเป็นหุ้นที่ถือลงทุนมาพอสมควรแล้ว ก็พิจารณาผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีผลกระทบไม่ดีโดยตรง ก็ควรขายออกให้เร็ว มีผลกระทบบ้างจะทยอยขายทำกำไรไปบ้างก็ได้ไม่ว่ากัน หรือไม่มีผลกระทบเลยแต่ลดราคาลงมาให้เยอะจะซื้อเก็บเพิ่มก็ไม่มีใครว่ากัน ...

       ในสภาวะวิกฤติ มีโอกาสอยู่เสมอ รับทราบข้อมูลอะไรมาแล้ว ตั้งสติให้ดี อย่ามัวแต่ตกใจ หรือตื่นเต้นดีใจ แชร์ให้คนนั้นคนนี้ แต่ปล่อยจังหวะดีๆ ที่จะต้องซื้อหรือขาย ให้ผ่านเลยไปอย่าน่าเสียดาย....

 Wave Riders Pui


วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เลือกหุ้น หุ่นดี ด้วย CANSLIM


เทคนิค CANSLIM คืออะไร?? คำถาม ลอยมาหา หลังจากมีหนังสือแปล เรื่องนี้ออกมา และมีหลายๆ คนพูดถึง ... ก็ขอตอบ อธิบายให้เข้าใจกัน

CANSLIM เป็นระบบวิธีการเลือกบริษัทในการซื้อหุ้นลงทุน คิดโดย William J. O'Neil เป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นประธานของหนังสือพิมพ์ธุรกิจชื่อ Investor’s Business Daily ด้วยวิธีของเขา ทำให้เขาสามารถทำเงินจากตลาดในช่วงปี 1953 ถึง 1990 ได้อย่างมหาศาล โดยมีการแบ่งเป็นประเด็นในการพิจารณาตามตัวอักษร มีทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่

C - Current quarterly earnings per share

เป็นการเปรียบเทียบกำไรต่อหุ้น (EPS) ของ Quarter ปัจจุบันกับ Quarter เดียวกันของปีที่แล้ว เช่น ปัจจุบันเป็น Q1/2015 ก็เทียบกับ Q1/2014


A – Annual Earnings Growth

ดูการเติบโตของผลกำไรต่อเนื่องตลอด 5 ปีสุดท้าย ควรมีการสะสมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 ปีสุดท้าย


N – New Product, New Management or New High

หมายถึง การมีสินค้าใหม่ บริการใหม่ หรือเทคโนโลยีใหม่ มานำเสนอให้กับลูกค้า หรือผู้บริหารใหม่ ทีมบริหารใหม่ ผู้ร่วมทุนรายใหม่ นโยบายการบริหารใหม่ หรือราคาทำ New High


S – Small Supply Large Demand Shares Outstanding

หมายถึง ปริมาณหุ้นที่มีให้ซื้อขายได้ในตลาด การที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดน้อย (Low Supply) เมื่อหุ้นมีความต้องการจากนักลงทุนมากขึ้น (High Demand) ราคาจะขยับเพิ่มขึ้นได้รวดเร็ว ดังนั้นหากเทียบหุ้น 2 บริษัท ที่มีสภาวะอื่นเหมือนกันทุกอย่าง ปริมาณหุ้นของกิจการที่มีน้อยกว่า จะมีโอกาสวิ่งเพิ่มขึ้นได้รวดเร็วกว่า

L – Leader

เลือกหุ้นที่เป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือมีสภาพแข็งแกร่งกว่าตลาด หรือหุ้นตัวอื่นในกลุ่มเดียวกัน

I – Institutional Sponsorship

เลือกหุ้นที่มีกลุ่มสถาบันการเงิน ธนาคาร กองทุนต่างชาติ หรือ Thai NVDR เหล่านี้ เข้ามาซื้อถือลงทุน

M – Market Decision

ทิศทางของตลาด เป็นสิ่งสำคัญอีกองค์ประกอบ ต่อให้ทุกอย่างดีหมด แต่ถ้าสภาพตลาดเริ่มเป็นขาลง หรือซึมเซาออกข้าง หรือขึ้นมาสูงมากจนไปต่อยากแล้ว นักลงทุนมีความกลัวกังวลในการเข้าซื้อหุ้น ก็อาจจะไม่ใช่จังหวะที่ดีในการเข้าซื้อหุ้นก็ได้


วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

กราฟแท่งราคาอ้วนผอมตามปริมาณซื้อขาย - EquiVolume Chart

       เคยเขียน เรื่อง Volume  ก่อนหน้านี้ นานแล้ว แล้วก็ไม่ได้มี บทความเกี่ยวกับ Volume ออกมาอีกเลย   (แค่ดู Volume ได้ก็มันส์แล้ว  http://waveridersclub.blogspot.com/2011/05/volume.html )

       ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามี นักลงทุนให้ความสนใจ เรื่อง Volume กันมากขึ้น และมีหลักสูตร สอนเกี่ยวกับ Volume ให้เลือกเรียนกัน เยอะเลย ...​ดีครับ ... จะได้มีความรู้กันมากขึ้น  แต่การดู Volume เทียบกับ ราคา ก็ไม่ง่าย เพราะไม่มี Pattern ของ Volume ที่ชัดเจน แบบ Price Pattern
       การดู Volume จึงต้องดูประกอบกับ Price Chart คือ ต้องดูว่า แท่งราคา มี Spread (ความสูงของแท่งราคา) มากหรือน้อย และ ดูว่า Volume ของแท่งนั้น มาก หรือน้อย ซึ่งก็จะทำให้เกิด Combination ของแท่งราคาพร้อม Volume ออกมาเป็นแบบหลักๆ 4 แบบ คือ
        1. Price Spread  กว้าง  -  Volume มาก
        2. Price Spread  กว้าง  -  Volume น้อย
        3. Price Spread  แคบ -  Volume มาก
        4. Price Spread  แคบ  -  Volume น้อย

       แต่ใน ทฤษฎีเกี่ยวกับ Volume ไม่ว่าจะเป็นของโบราณ Wyckoff Method ของ Richard Wyckoff หรือ ระบบยุคใหม่ VSA - Volume Spread Analysis ของ Tom Williams หรือเทรดเดอร์ ที่มีชื่อเสียงด้ายการอ่าน Volume ในอดีตที่ผ่านมาอีกมากมาย ก็มักจะ แยก พฤติกรรมของ Price และ Volume ออกมาต่างหาก อีก 2 แบบ คือ   Buying Climax และ Selling Climax ที่จะเป็นแท่งราคาที่มี Volume มากมายผิดปกติแตกต่างจาก แท่งราคาอื่นๆ รอบข้าง อย่างเป็นได้ชัด ...
      และ แท่งราคา  Buying Climax และ Selling Climax นี้ล่ะ ที่จะเป็นแท่งราคาที่จะแสดงให้เราเห็นว่า แรงซื้อ และแรงขาย ของตลาดกำลังจะกลับทิศทางแล้ว
       Buying Climax  เป็นสภาวะราคาที่ มีการเขาไปไล่ซื้อหุ้นจำนวนมากๆ ของมวลชนในระยะเวลาอันรวดเร็ว และเป็นจุดที่รายใหญ่ จะขายของออกมาให้
       Selling Climax จะเจอในบริเวณใกล้จุดต่ำ ที่ราคาใกล้จะกลับตัวเป็นขาขึ้น แรงขายออกจนราคาลงมาลึก เมื่อเกิด Climax จะเป็นแนวราคาที่ รายใหญ่ รับซื้อไม่อั้น สิ่งที่เกิดตามมา คือ หลังจากเกิด Selling Climax ราคาแทบจะหยุดการลงทันที



       แต่การดู Volume กับ Price เทียบกันก็เป็นเรื่องไม่ง่าย ต้องใช้การสังเกตุ และการตีความ ด้วยประสบการณ์ ในการเทรดจริง อีก พอสมควร ... ไม่ขอ อธิบาย ตรงนี้เยอะ เดี๋ยวจะผิดประเด็น ของบทความนี้ ...​ เอาเป็นว่า ...​ จะดีไหม ถ้าแท่งราคา มันอ้วนได้ ผอมได้ ตาม Volume ที่เกิดขึ้น ของแท่งราคา นั้นๆ  ...​ แท่งนี้ กิน Bid-Offerr เข้าไปเยอะ พุงกาง อ้วนเป็นตุ่ม เลย กับอีกแท่งนึง กิน Bid-Offer เข้าไปน้อยเหลือเกิน ก็จะผอมๆ  ...

     ด้วยแนวความคิดนี้  Richard W. Arms. Jr. ได้พัฒนา กราฟ EquiVolume ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นกราฟราคาที่สามารถแสดง ข้อมูล  2 มิติ ไว้ในแท่งเดียวกัน คือ บอกทั้ง ราคา และ Volume
     EquiVolume จะเป็นแท่งราคา สี่เหลี่ยมตันๆ ไม่มีหาง  ขอบบนของแท่ง คือ High Price  ขอบล่างของแท่ง คือ Low Price  ส่วนความกว้างของแท่งราคา บอก Volume  แต่จะไม่ได้บอก Volume เป็นตัวเลข แต่จะเป็นการสร้างกราฟ ให้เกิดการเปรียบเทียบขนาด ของ Volume แท่งล่าสุด กับ Volume ที่ผ่านทั้งหมดในอดีตย้อนหลังไป 4 เดือน ในการฟรายวัน Day Chart ก็ประมาณคร่าวๆ ย้อนหลังไป 100 แท่ง แล้วคำนวณ ออกมาเป็น สัดส่วน Volume ของแต่ละแท่ง เทียบกับ Volume ย้อนหลังทั้งหมด แล้ววาดออกมาเป็น แท่งราคาต่างๆ ที่มี ความอ้วนผอมแตกต่างกัน ไป

         สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ จะสามารถเห็นกราฟ แล้วเข้าใจได้ ทันทีเลยว่า แท่งราคาไหน มี Volume มาก แท่งไหน Volume น้อย ... (ตามภาพกราฟ ตัวอย่างด้านล่าง)
.
ขอบคุณภาพประกอบสวยๆ จาก StockCharts.com
(http://stockcharts.com/school/doku.php?id=chart_school:chart_analysis:equivolume)




   

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เลือกหุ้นดีเข้า Watchlist มีวิธีอย่างไร

          ในความเป็นจริงมีวิธีทางเทคนิคอลมากมายที่สามารถแสดงให้เห็นว่าราคาหุ้นกำลังเป็น Trend ขาขึ้น และมีแนวโน้มว่าราคายังจะไปต่อได้อีก อย่างไรก็ตามขอยกตัวอย่างแนะนำวิธีการง่ายๆ แบบนี้

1.Trend Up 
          อย่างแรกเลยเราควรจะดูภาพใหญ่ว่า ราคาหุ้นในขณะนี้กำลังเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน พยายามมองหาหุ้นที่ราคาเป็นขาขึ้น และยังขยับตัวไม่มาใน Week Chart สิ่งที่แสดงว่าราคาหุ้นเป็นขาขึ้นก็คือ ราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย (Price Above EMA) หรือ MACD > 0
 (การใช้ EMA หรือ MACD ยืนยันว่าราคามีแนวโน้มเป็นขาขึ้น อธิบายโดยละเอียดไว้ใน หนังสือ “โต้คลื่นหุ้น...รู้ทันเทคนิค”)

2.Break Out Important Resistant 
          ในกราฟ Week Chart จะเห็นราคาย้อนหลังไป หลายเดือนทีเดียว มองหาหุ้นที่ราคาเพิ่งจะมีการวิ่งผ่านยอดสูงเดิมในอดีต (Break Out Last High) มาได้ไม่นาน หรือเพิ่งจะทะลุผ่าน แนวต้านที่มีนัยยะสำคัญ เช่น เป็นแนวต้านที่มีการทดสอบหลายครั้งในอดีต
(การวางแนวรับแนวต้าน อธิบายโดยละเอียดไว้ใน หนังสือ “โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า”)



          ภาพกราฟ Week Chart ของ TPIPL นี้แสดงให้เห็นว่า ราคาได้ขยับขึ้นมาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย และMACD > 0 เป็นการยืนยันแล้วว่า Price Trend Up และราคาได้มีการวิ่งทะลุผ่านแนวต้านในอดีตขึ้นไปได้ละกำลังพักตัวอยู่ แบบนี้ Save Chart เก็บเข้า Watch List ได้เลย

3. Day Chart Show Price Begin Trend 
          หลังจากได้กราฟภาพใหญ่มาแล้ว ก็มาดูกราฟ Day Chart ว่ามีอาการ Price Begin Trend รึยัง พยายามดูบ่อยๆ จนเห็นสัญญาณเกิดขึ้น คือ ราคามีการวิ่งขึ้นเข้าหาแนวต้าน พร้อมกับ DMI แสดงว่าราคาเริ่มมีการวิ่งขึ้นอย่างเป็น Trend น่าสนใจ คือ เส้น DI+ อยู่ด้านบน และเส้น ADX ขยับขึ้นมาอยู่ระหว่าง 20-30 แสดงว่า Price Begin Trend 
(การใช้งาน DMI อธิบายโดยละเอียดไว้ใน หนังสือ “โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า”)



         จากภาพกราฟ จะเห็นว่า TPIPL มีการขยับตัวขึ้นมาใกล้แนวต้านสีฟ้าแล้ว และ DI+ (เส้นสีเขียว) อยู่ด้านบน พร้อมกับ ADX (เส้นสีดำ) มาขยับอยู่ในพื้นที่สีเหลือง คือ 20-30 แล้ว เป็นอาการ ที่พร้อมออกตัวแล้ว ถ้าเห็นกราฟราคาหุ้นตัวไหนทำแบบนี้ ให้ เริ่มเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และเตรียม Trading Plan พร้อม เช่น ถ้าราคาวิ่งข้ามแนวต้านสีฟ้าไปได้จะซื้อที่ราคาเท่าไร จะวาง Stop Loss ที่ราคาเท่าไร และจะซื้อกี่หุ้น อย่าลืมคำนวณด้วยว่า ถ้าโดน Stop Loss ขึ้นมาจริงๆ จะเสียเงินเท่าไร เป็นจำนวนเงินที่ยอมรับได้ไหมที่จะต้องเสียไป ถ้ายอมรับไม่ได้ ก็แสดงว่าซื้อหุ้นมากเกินไป ให้ลดจำนวนหุ้นที่จะซื้อลง

          ลองคัดเลือกหุ้นจาก กลุ่มอุตสาหกรรมก่อน แล้วมาเลือกหุ้นรายตัวด้วยกราฟ Week และกราฟ Day อีกที พยายามหาหุ้นให้ได้ตั้งแต่ยังไม่วิ่ง แค่ขยับตัวอยู่ในกรอบ เฝ้าดูไปเรื่อยๆ วิ่งขึ้นทะลุกรอบบนได้เมื่อไหร่ ก็จะได้เข้าซื้อตั้งแต่ต้น Trend

          วิธี เลือกหุ้น ที่จริงมันไม่ได้ยาก ... ในชีวิตจริง สิ่งที่ยาก คือ การ ห้ามใจตัวเอง ...
มีสติ อยู่ทุกขณะ  ...อย่าปล่อยให้ใจลอย หลุดไปกับความอยาก ตอนที่เห็นราคาหุ้น ตัวที่เราไม่ได้ทำการบ้านไว้  มันวิ่งขึ้นแรง ...  ...เพราะเข้าทีไร มันจะโดนทุกที  ...
.
Wave Riders Pui

.
.
.










วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

โต้คลื่นหุ้น .... เมาคลื่น ภาค 1

.    
.
     มักจะถูกถาม อยู่เรื่อยว่า นามปากกา Wave Riders แล้ว ทำไม ไม่ค่อย คุย เรื่อง คลื่น ให้ฟัง เลย
     อืม  .... นั่นสินะ    คิดอยู่นาน แล้ว ว่า จะคุย เรื่อง นี้ ให้ฟังดีไหม   .....
     .
      เรื่อง คลื่น เป็น เรื่อง ที่ยาก และ ซับซ้อนมากๆ   การจะ อธิบาย ให้ ฟัง แล้ว เข้าใจได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก .... หลายคน อยาก รู้เรื่อง คลื่น แล้ว ก็ไปเรียน ไป อ่าน ไปศึกษา กับ ใคร ต่อใคร ที่สอนๆ กันอยู่  ...
ที่เกิดขึ้น ตามมา คือ หลายคน ก็สอนไม่ หมด บางคน ก็ท่องตำราสอน ... คนสอนก็มึน คนเรียน ก็เมา  ...
..
   นับไปนับมา ผิด บ้าง ถูกบ้าง  ... แล้ว พอนับ ไม่ตรงกัน ก็ งง ถกเถียง ทะเลาะกัน วุ่นวายไปหมด .. ก็น่าปวดหัว ถึง ไม่ค่อยอยากคุย เรื่อง คลื่น เพราะไม่อยากไปเถียงกับใคร มันเสียเวลา  ...
..
    หลายคน นับ คลื่น จะนับ เอาให้ถูก จะนับ เอาให้เป๊ะ กลายเป็น เทพแห่งคลื่น  ..... ไม่ว่า กัน ครับ
ผม ก็เคยเป็น แบบนั้น ....
.
.   สุดท้าย เจอประโยค นึง ... ถามกลับมา ... นับคลื่นถูก กับ นับคลื่นไม่ถูก  ทำกำไร ต่างกันไหม ...
... มันก็ต่าง อยู่นะ    ... แต่ .... ไม่มากเท่าไหร่ ...  เรานับ เป็น Wave 3  เขานับ เป็น Wave C  ... สุดท้าย มันก็เข้า ที่เดียวกัน ขายทำกำไร ใกล้ๆ กัน ...
..
  เพื่อน รุ่นพี่ ก็ด่า  .... ปุย ... มึงจะนับ เอา เท่ หรือ มัน จะเทรด ทำกำไร  ..... อูย .... มัน จี๊ด.... ถึงใจเลย
...
เพราะ บางที่เรานับ คลื่น ไป จน ไปเอส จนโลภ จนคิดไป ว่า จะเอาให้สุดคลื่น  ทั้งที่จริงๆ แล้ว การเทรด ทำกำไร มันไม่อยู่ ที่การ ซื้อถือ ให้สุดคลื่น สักหน่อย  ....
..
 นั่น จึงเป็น 1 ในเหตุผล ที่ ไม่ค่อย คุย เรื่อง คลื่น ให้ฟังมากนัก ..
...
ก่อนจะ เริ่ม ทำความเข้าใจ เรื่อง คลื่น  ..
ขอ บอกไว้ก่อนว่า เรื่อง คลื่น เป็นการ นำหลักการ กฎ และ ข้อสังเกตุ หลายอย่างมาประกอบกัน สร้าง สมมุติฐาน ของการเคลื่อนที่ ของ ราคา ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต  (Trade Scenario)
บางขณะคาดการณ์ การเกิดของ ราคาในอนาคต ได้ มากมาย ถึง 7 8 9 แบบ  ซึ่ง มันมากเกินไป  (Too Much Alternation)  ไม่สามารถ เทรดได้  .... เพราะตลาด ผันผวน และ พักตัว
..
อาจจะต้องรอให้เวลาผ่านไป ราคาเคลื่อนที่ไป จน สามารถ ตัด รูปแบบ ต่างๆ ทั้งออกไปได้ จนเหลือ เพียง 2-3 แบบ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้เท่านั้น ... จึง สามารถ นำ มาวาง Trading Strategy จัดแผนกลยุทธ์ในการเทรด ได้   ... เรียกว่า "ใช้การสงบ สยบ ความเคลื่อนไหว"
..
ดังนั้น การมองการเคลื่อนที่ของราคา ด้วย ทฤษฎีคลื่น  จึงไม่สามารถ ฟันธงได้ ทุกครั้งไปว่า ราคาในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นอย่างไร .... ราคา จะเฉยตัวตนของ คลื่น ที่แท้จริง ว่าเป็น คลื่นอะไร กันแน่ เมื่อราคาได้ผ่าน คลื่นนั้นไปแล้ว ถึง 2 ช่วงคลื่น
...
เรา จะรู้ว่า คลื่น 3 จบ แล้ว เมื่อ คลื่น 5 เกิดขึ้นแล้ว เราจะรู้ว่า  คลื่น 5 จบแล้ว เมื่อ คลื่น B เกิดขึ้นแล้ว
...
เรื่อง ของ คลื่น มันจึงเป็นการ บอก "ความน่าจะเป็น" (Probability) เท่านั้น ....
...
มา รู้จัก คลื่น กัน
...

[1] .. Motive Wave หรือ Impluse Wave 

จะเป็นการเคลื่อนที่ของราคา ที่ไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มหลัก หรือ Large Trend จะประกอบด้วย 5 คลื่น ย่อยๆ   เวลาที่ Label จะใช้ตัวเลข 1-2-3-4-5 
.
โดยมีคลื่น 1, 3, 5 ที่เคลื่อนที่ ตาม Trend 
.
และคลื่น 2 และ 4 ที่เคลื่อนที่ สวนกัน Trend
..
เมื่อจบ Impulse Wave จะ ถดถอย ด้วย Corrective Wave 
ซึ่งจะมีองค์ ประกอบ มี 3 คลื่นย่อย หรือ 5 คลื่นย่อย หรืออาจมากกว่าก็ได้ เวลาที่ Label Wave จะใช้ตัวอักษร A-B-C -D-E หรือ W-X-Y-XX-Z ....



[2] . Impulse Wave จะเป็นขาลง Down Trend ก็ได้ 
ก็จะพบ เป็น 5 คลื่นย่อย ในขาลง และเมื่อครบก็จะ Rebound เป็น 3 คลื่นย่อย เป็นลง 1-2-3-4-5 แล้ว เด้งขึ้นเป็น A-B-C
..
ดังนั้น คลื่น 1,3 และ 5 เมื่อ อยู่ในทิศทางเดียวกับ Trend ก็แสดงว่า แต่ละคลื่น เป็น Impulse Wave แต่ละคลื่นก็จะมี 5 คลื่นย่อยภายใน ..
.
ส่วน คลื่น 2 และ 4 มีลักษณะ สวน Trend ทั้งคู่จึงเป็น Corrective Wave ดังนั้นคลื่นย่อยภายใน คลื่น 2 และคลื่น 4 ก็จะมีคลื่นย่อยเป็น 3 คลื่น หรือ 5 คลื่น ก็ได้ ...

..




วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2558

Price Pattern ... รูปแบบกราฟ ...หลอกลวงตา


         มักจะมีคำถาม มาเรื่อยๆ ว่า  Price Pattern ต่างๆ เช่น Double Top, Head and Shoulder Reversal มีวิธีการดูยังไง ?

         ก่อนตอบต้องขออธิบายก่อนว่า Technical Analysis นั้นเกิดมากจากนักวิเคราะห์เก็บข้อมูลการซื้อขายและปริมาณการซื้อขาย เก็บสถิติในอดีต สร้างกราฟราคาขึ้นมา เพื่อประเมินแนวโน้ม และความผันผวนของราคาหุ้น ซึ่งนักวิเคราะห์ ได้สังเกตพบว่า เมื่อกราฟเกิดเป็นรูปร่าง แบบเดิมๆ จากพฤติกรรมการซื้อขายของนักลงทุนในตลาดในลักษณะใกล้เคียงเดิม ราคาจะเดินทางต่อไปในรูปแบบที่ซ้ำกันกับที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จึงเกิดเป็นทฤษฎีที่เรียกว่า Chart Pattern หรือ Price Pattern ขึ้นมา

          รูปแบบราคา หรือ Pattern ของกราฟเหล่านั้น มีมากมายหลายแบบ แต่สามารถแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม คือ

      1.รูปแบบกลับตัว (Reversal Pattern) คือ เมื่อราคาวิ่งขึ้นหรือลงในทิศทางที่ชัดเจน จากนั้นชะลอตัวเกิด Pattern ได้สำเร็จ ราคาจะเปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลง หรือ จากขาลงเป็นขาขึ้น

      2.รูปแบบต่อเนื่อง (Continuous Pattern) คือ เมื่อราคาวิ่งขึ้นหรือลงในทิศทางที่ชัดเจน จากนั้นชะลอตัวเกิด Pattern ได้สำเร็จ จะเป็นการยืนยันว่าราคาจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม

          รูปแบบราคาใน Pattern ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเกิดในขณะที่ราคาชะลอตัว อ่อนแรง หรือมีการพักตัว ไม่ว่าราคาจะวิ่งขึ้นหรือวิ่งลง เมื่อวิ่งจนอ่อนแรงแล้วราคาจะพักตัว ขณะที่พักตัวแทบทุก Pattern จะพบว่า ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ลดน้อยลงเรื่อย กราฟราคา ก็จะเหวี่ยงตัวสร้าง Pattern จนกระทั่งราคากลับมามีทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจน ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างมากอีกครั้ง



           สังเกตุจากภาพด้านบนขวามือ จะเห็นว่าราคาวิ่งขึ้นตามลูกศร สีเขียว จากนั้นราคาชะลอตัว หรือพักตัวทำ Pattern บางอย่าง หลังจากนั้น ราคาวิ่งขึ้นทะลุออกจาก Pattern วิ่งขึ้นไปต่อ เป็น Continuous Pattern ส่วนภาพบนซ้ายมือ ราคาวิ่งทะลุลง หลุดออกจาก Pattern ตาม ลูกศรสีแดง ก็จะกลายเป็น Reversal Pattern

           สำหรับ Chart Pattern เป็นที่นิยมและสามารถพบได้บ่อยๆ มีดังนี้

           รูปแบบกลับตัว (Reversal Pattern)
            Double Top, Double Bottom, Head and Shoulders, Inverted Head and Shoulders, Triple Top, Triple Bottom



รูปแบบต่อเนื่อง (Continuous Pattern) : Flag, Pennant, Rectangle, Cup and Handle 

         ยังมี Pattern บางอย่างที่สามารถเป็นได้ ทั้ง Reversal Pattern และ Continuous Pattern ขึ้นกับสถานการณ์ว่าเกิด Pattern ในช่วงไหน ของตลาด เช่น Triangle, Rising Wedge, Falling Wedge


  นอกจากนี้ยังมีรูปแบบ Pattern อีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอีก ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Price Pattern จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ต้องใช้ความรู้ และประสบการณ์การฝึกฝนอย่างมาก และต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมของราคา และลักษณะของปริมาณการซื้อขายในแต่ละ Pattern เป็นอย่างดี จึงจะสามารถนำ Price Pattern ไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการลงทุนได้ 

          นักเทคนิคอลมือใหม่จำนวนมากไม่เข้าใจ แต่ใช้การท่องจำแค่รูปร่างของ Pattern เท่านั้น พอไปดูกราฟก็จะไปสร้างภาพจินตนาการไปล่วงหน้าต่างๆ นานา ว่าจะเกิด Pattern อย่างนั้นอย่างนี้ ก่อนที่จะเกิดสัญญาณยืนยัน (Confirmed Signal) ว่าเกิด Pattern นั้นแล้วจริงๆ ก็จะนำความเสียหายมาสู่การลงทุน เพราะวางกลยุทธ์ผิดพลาด หรือบางคนก็ยกความผิดพลาดไปให้ทฤษฎีว่าไม่มีความแม่นยำ ทั้งที่ในความเป็นจริงอาจจะเกิดจากการที่ตนเองผิดพลาดไม่ได้ดูกราฟอย่างรอบคอบเองก็ได้


#WaveRiders


หนึ่ง ใน "100 คำตอบต้องรู้ ดูหุ้นเทคนิค" ...
..
..
ไม่ซื้อไม่ได้ ละมั้ง ...








วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เล่นหุ้นด้วย Technical ดู P/E Ratio ไหม


วันก่อน มีน้องคนหนึ่ง มาถาม ว่า

ใช้เทคนิคอล ซื้อหุ้นยังต้องดู P/E Ratio ไหมครับ ?

แบบนี้ มันต้องตอบ  .... ฮ่า ๆๆ ชอบ คำถามแปลกๆ 


ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจ ก่อนว่า P/E Ratio ที่เราเห็นคืออะไร

     P คือ Price คือราคา ณ ปัจจุบันที่เราเห็น ในการคำนวณ มักจะนำ ราคาปิด Close Price มาใช้

     E คือ Earnings per Share หรือกำไรต่อหุ้น นั่นเอง ซึ่งจะได้ตัวเลขนี้ ทุกครั้งที่มีการประกาศผลประกอบการของกิจการในทุกๆ Quarter

     ราคาหุ้น วิ่งด้วยความคาดหวังของนักลงทุนในตลาด ซึ่งตอบสนองต่อความคาดหวังต่อกิจการในอนาคตของนักลงทุน ถ้าซื้อหุ้นไปราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ ก็แสดงว่า นักลงทุนยังต้องการ และมองความคาดหวังในไปในอนาคต

      P/E Ratio เกิดจากการนำ ราคาปัจจุบัน (P) หารด้วย กำไรต่อหุ้น (EPS) ซึ่ง EPS จะใช้ล่าสุดตามประกาศผลประกอบการแต่ละ Quarter ก็หมายความว่า P/E Ratio ที่เราเห็นมันเป็นสัดส่วนของราคาปัจจุบัน ต่อผลกำไรของกิจการในหลายเดือนที่ผ่านมา แล้วอย่างนี้ จะเอามาดูอะไรได้ เช่น วันนี้เป็นวันที่ 20 ธันวาคม P/E ที่เราเห็นแสดงสัดส่วนของราคาวันนี้ เทียบกับผลประกอบการถึงวันที่ 30 กันยายน (ประกาศงบ Q3)

      ดังนั้นค่า P/E Ratio ที่เราเห็นกัน จึงไม่ได้ตอบอนาคตของกิจการเลย ถ้าราคาเพิ่มขึ้นทุกวัน P/E Ratio ก็เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะตัวหาร EPS ยังเป็นตัวเดิมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะประกาศผลประกอบการรอบถัดไป ถ้าประกาศผลประกอบการรอบถัดไป EPS เพิ่มขึ้น ตัวหารมากขึ้น P/E Ratio ก็จะลดลงทันที แต่ราคามีความคาดหวังขึ้นไปรอแล้ว ราคาจะขึ้นหรือลงหลังจากประกาศผลประกอบการ ไม่ได้อยู่ที่ P/E Ratio เป็นเท่าไหร่ หรือ EPS กำไรของกิจการเป็นเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ผลกำไร ออกมามากกว่า หรือน้อยกว่าที่นักลงทุนคาดหวัง 

        ให้ดูตัวอย่าง KTC ช่วงปี 2554-2555 จะเห็นว่าผลประกอบการของ ปี 2554 ขาดทุน EPS ติดลบ ทำให้ P/E Ratio คำนวณไม่ได้ หรือเป็นศูนย์ นั่นเอง แล้วกิจการก็เริ่มมีกำไรกลับมาในปี 2556 และ 2557



          ถ้าดูราคาหุ้นช่วงปี 2554-2555 จากกราฟจะเห็นว่า ราคาช่วง มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555

          ราคาหุ้นยังวิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ภาพกราฟด้านล่างบริเวณด้านซ้าย) 
          P/E Ratio ก็ยังขึ้นต่อเนื่องเพราะใช้ EPS ในอดีตมาคำนวณในขณะที่ยังไม่มีการประกาศผลประกอบการออกมา เมื่อมีการประกาศผลประกอบการออกมา ในวันที่ 1 มีนาคม 2555 จะเห็นว่า P/E Ratio กลายเป็น ศูนย์ ไปเลยจาก EPS ติดลบขาดทุน แต่ราคายังขึ้นต่อ จาก 18 บาทไป 22 บาท ก็แสดงให้เห็นชัดว่าราคาที่ขึ้นไปนั้น ไปด้วยความคาดหวัง หรือข่าวดีที่ออกมาจะไม่ใช่การเติบโตของมูลค่ากิจการในระยะยาวแน่นอน





         ในที่สุดราคาก็ถอยลงจากการขายทำกำไร ราคาถอยลงมาจนถึงกลางเดือนมิถุนายน ราคาหยุดลง และราคาค่อยๆ ยกตัวขึ้น แม้ประกาศผล Q1/2555 และ Q2/2555 EPS ยังติดลบ P/E Ratio ยังเป็นศูนย์ แต่ราคาหุ้นก็ยังขึ้นไปด้วยความคาดหวัง จนไปถึง 32 บาทในเดือนพฤศจิกายน (ด้านขวาของกราฟ) ประกาศผล Q3/2555 EPS ก็ยังติดลบ P/E Ratio ยังเป็นศูนย์ แน่นอนว่านักลงทุนบางส่วนเริ่มไม่สมหวัง ขายทำกำไรออกมาราคาลงมาที่ 25 บาท


          ในช่วงเวลาเดือนธันวาคม 2555 ถึง กุมภาพันธ์ 2556 (กราฟด้านล่าง) ก็มีข้อมูลใหม่เข้ามาให้นักลงทุน หรือข่าวดีนั่นล่ะ ว่าภายในปี 2555 ผลประกอบการจะกลับมามีกำไร และจะมีอย่างนั้น มีอย่างนี้เกิดขึ้นในปี 2556 ราคาหุ้นก็ถูกไล่ซื้อด้วยความคาดหวังขึ้นจาก 25 บาทไปถึง 50 บาท ราคาวิ่งนำหน้าไปอีกแล้ว จนประกาศผล Q4/2555 ออกมา EPS +0.99 บาทต่อหุ้น P/E Ratio กลายเป็น 43.73 ทันที 

         นักลงทุนก็ตอบรับทันที ด้วยการเทขายออกมา แล้วปี 2556 ทั้งปีราคาก็เหวี่ยงขึ้นลงๆ ในกรอบราคาระหว่าง 31 บาท กับ 48 บาท ส่วน P/E Ratio ก็ปรับลดลง ทุกครั้งที่มีการประกาศผมประกอบการ เพราะกำไรต่อหุ้น EPS เพิ่มขึ้นในทุกๆ Quarter จนประกาศผล Q2/2556 ในเดือนสิงหาคม 2556 P/E Ratio กลายเป็น 9.88 และกลายเป็น 6 กว่าในเดือนธันวาคม 2556



          จากที่อธิบายมาทั้งหมด จะเห็นแล้วว่า ราคาหุ้นจะตอบสนองข่าวดีแล้วความคาดหวังในอนาคต แต่ P/E Ratio จะปรับตัวตามผลประกอบการจริงที่ผ่านมาแล้วในอดีต 

        การดูว่า P/E Ratio ตอนนี้สูงมากแล้วไม่น่าซื้อ เพราะราคามัน Overvalue อาจจะเป็นจริงในแง่ของการซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว แต่การใช้เทคนิคอลในการเก็งกำไรระยะสั้น P/E Ratio ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ในทางกลับกัน P/E Ratio แค่ 12-14 เท่าเอง ในช่วงต้นปี 2555 ของ KTC ที่ราคาก็ยังต่ำ และมีแนวโน้มจะวิ่งขึ้น ก็ไม่ได้บอกว่า ผลประกอบการจะออกมาเป็นอย่างไร

         การดู P/E Ratio เพียงขณะใดขณะหนึ่งจึงได้ประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจน้อยมาก เพราะถ้าจะนำมาประกอบในการพิจารณาร่วมกับกราฟเทคนิคอลแล้ว ต้องดูการเปลี่ยนแปลงของ P/E Ratio ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

          ในการลงทุนที่จะซื้อถือหุ้น Run Trend เราจะใช้กราฟในการมองหา กิจการที่มีพื้นฐานดี พร้อมจะเติบโตในอนาคต และมีราคาที่กำลังพักตัวออกข้าง วิ่งอยู่ในกรอบและพร้อมที่จะขยับวิ่ง Break Out ให้เราเข้าซื้อได้ตั้งแต่ต้น Trend 

           ดังนั้นถ้าเราพบว่า ราคาหุ้นออกข้างไปไปไหนนานๆ แล้วพบว่า P/E Ratio ลดลงในทุกครั้งที่มีการประกาศผลประกอบการ แสดงว่า กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุก Quarter แต่ราคายังไม่ไปไหนคือยังไม่มีใครให้ความสนใจ 
          ฮึๆๆ นี่มันเหมือนยิ่งกว่าเจอเพชรในโคลน อีก จะใช้ P/E Ratio กับเทคนิคอล ก็ให้มันเป็น ใช้แบบนี้  ... จะได้ รวย 5 เด้ง ...




Wave Riders Pui

.
.
.
.










วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Select Sector by Technical อยากรู้ว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนน่าลงทุนทำยังไง


ความรู้ด้านเทคนิคอล มีวิธีดูยังไงว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนน่าลงทุน ?


    โดน ถาม แบบนี้  .... คงต้องมี คำตอบ ให้ ....
     วิธีดูว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนน่าสนใจลงทุน มีวิธีทางเทคนิคอลง่ายๆ คือ เปิดดูกราฟ ของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นโดยตรงเลย 
      ตัวอย่างถ้าเราสนใจกลุ่ม Automotive เป็นอย่างไร ก็สามารถเรียกดูกราฟของ Auto Sector ได้เลย ตามตัวอย่างภาพด้านล่าง จะเห็นว่า Auto Sector ในขณะนี้ แท่งราคาเคลื่อนที่แกว่งตัวออกไปด้านข้าง แสดงว่า อยู่ในสภาพ Sideway ดังนั้นกลุ่มนี้จึงยังไม่น่าสนใจนัก




        หรือกลุ่มวัสดุก่อสร้าง CONMAT ก็จะเห็นดังภาพกราฟตัวอย่าง จะเห็นว่า กราฟของ CONMAT Sector เพิ่งจะขยับ New High ผ่านยอดสูงเดิมขึ้นมากได้ ก็แสดงว่า เริ่มเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ราคาหุ้นมาการขยับตัวน่าสนใจ 




       

        อย่างนี้แล้วเราสามารถทำกราฟของทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เก็บไว้ แล้วดูกราฟสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้งก็สามารถเห็นความเคลื่อนไหวของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ ทำให้เราไม่พลาดโอกาสดีๆ ในการลงทุน




Wave Riders Pui

.
.
.

















วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

IPO ไม่มีกราฟ จะเทรด ยังไง ....




มีคำถาม เข้าว่า.
หุ้น IPO ไม่มีกราฟ ให้ดู แล้วเด็กเทคนิค จะใช้อะไรเทรด ?
.
ฮ่าๆๆ. .. มันจะยากอะไร. ก็รอให้มันมีกราฟสิ แล้วค่อยเทรด
หุ้น IPO เข้าตลาดวันแรก ที่เด็กเทคนิค จะไม่เทรดเลย. คือ พวก ลง-เด้ง-ลง-เด้ง-ลง ล้ง ลง..
ที่จะเทรด มีแค่ 2 แบบ คือ ลาก-ตบ. กับ ตบ-ลาก.

อิอิ. ชอบแบบไหน กันครับ
..
แต่วันแรก มีแท่งกราฟ แท่งเดียว. งี้จะทำไงล่ะฮับ ?

ป่ะ!!!.. ปัญหา เยอะจริง. เปิด กราฟ 1 นาที หรือ 3 นาที ไปเลย (5 นาทีช้าไปนะ) แล้ว นั่งดูกราฟ ไปพร้อม ดู Volume กับ Bid-Offer ไปพร้อมกัน สัก. 15-30 นาที ...
มันก็มี กราฟให้ใช้เทรดแล้ว




พวก ลาก-ตบ. ก็จะได้เห็น กราฟ หน้าตาแบบ ภาพด้านบน ส่วนบน. เด้ง-พัก-เด้ง-พัก-เด้ง ตั้งแต่วันแรกเลย ส่วนจะลากกี่วัน ไม่รู้นะ. แล้วแต่ เจ้าพ่อเจ้าแม่. กับ เม่ามวลชน จะมีแรงมากแค่ไหน เม่ามวลชน เยอะ แรงเหลือเฟือ ก็ ดอยสูง หน่อย เขาจัดให้ได้..

ส่วนพวก. ตบ-ลาก. นี่ เม่ามวลชน เขาแลกของกันก่อน ขายทำกำไรกันแต่เปิดให้ เพื่อนเม่าที่อยากได้ของ เจ้าพ่อเจ้าแม่จะช่วยตบเบาๆ ให้ไหลลงสวยๆ ถ้าลงยังไม่ลึก ก็จะช่วยกระตุ้นให้ลงอีก พอราคาลงต่ำ ได้ราคาดี เจ้าพ่อเจ้าแม่ ก็เริ่มรับของตลอดทาง

ช่วงตรงนี้ ก็อาจใช้เวลา ครึ่งวัน ถึง 3 วัน โดยเฉลี่ย. แล้วแต่ สภาพอากาศ
แล้วจากนั้น. ฮุฮุ.... Kite Season เอาว่าวขึ้นฟ้า

ก่อนจะขึ้น จะเห็น Volume Dry แห้งสุดๆ นิ่งๆ ไม่มีซื้อขายมาก เจ้าพ่อเจ้าแม่ จะรอฤกษ์งามยามดี แล้วก็จุดประทัดก่อน ถ้าผู้ชมสนใจ ก็จะจุดพลุ ให้สัญญาณ เหิรฟ้า..
อาการกราฟ ก็จะเป็นแบบด้านบน ส่วนล่าง ..


มาดูตัวอย่าง ของจริงกันบ้าง  NDR วันแรก กราฟ 3 นาที  ....




มาแนว ตบ-ลาก-ตบ
ราคาถอยลง จากการขายทำกำไรก่อน (ราคาลงไปที่จุด A) แล้ว ถูกซื้อกลับขึ้นมา (ราคาเด้งจาก A มา B) แล่วราคาก็พักตัว  ไปจนถึง จุด C ราคาก็ระเบิด Volume เพิ่มขึ้น มีการซื้อขายกัน มากมายลากราคาวิ่งขึ้นไป อย่างแรง .... แล้วก็ถูกขายทำกำไร ลงมาในช่วงท้ายตลาด ก่อนปิดตลาด 15 นาที ลงแรง เพราะ แย่งกันขาย  ...  และนี่คือ กราฟ ที่เกิดขึ้น ภายใน 1 วัน ซึ่งเป็นวันแรกของ NDR เข้าตลาด

เห็นมะ ... มีกราฟ ก็ เทรดได้ แล้ว   .... บางคน ยังงง จะเทรด ยังไง   มาดู อีก ภาพ ด้านล่าง

เปิดตลาด แล้วราคาลง มาที่ จุด A (4.22 บาท) แล้ว ราคาเด้งกลับ ตรงนี้ ยังไม่ได้ทำอะไร เลย ราคาขึ้นไป ถึงจุด B 4.78 บาท ก็ไม่ทำอะไร  จากตรงนี้ หา ราคา ถอยลง ต่ำกว่า 4.22 บาท .... แปลว่า ลง แน่ๆ ไม่ต้องดูแล้ว ... จบกัน

แต่ราคาพักตัว .. ออกข้าง ถอย เล็กน้อย มาที่ จุด C 4.48 บาท   แล้วราคาระเบิดวิ่งขึ้นไป อย่างแรง จุดที่เป็น สัญญาณ ซื้อ ของเรา มี 2 ที่ คือ จุด B 4.78 บาท และ ราคาสูงสุดของวัน คือ 5.05 บาท

เราจึงเข้าซื้อเมื่อราคา ข้ามจุด B มาที่ 4.80 , 4.82, 4.84 ซื้อได้ ทุกราคา  แล้ว พอราคาลากข้าม 5.05 ก็ซื้อได้อีก ที่ 5.10, 5.15,  5.20 , 5.25 ก็ซื้อมันเข้าไป  ....

จังหวะตรงนี้ ห้ามไล่ราคา ถ้า ส่ง order แล้ว ไม่ได้ของ หรือ ของไม่ครบ  ซื้อได้ไม่เกิน 5 ช่อง offer ที่สูงกว่า แนว Break out  เช่น จาก จุด B 4.78 ก็ คือ 4.80, 4.82 , 4.84, 4.86, 4.88  แค่นั้น

จากนั้น เราก็ ตี Fibonacci Projection วัดเป้า โดยเทียบระยะ A-B แล้ว Projection จาก จุด C ขึ้นไป ได้ ระยะ Projection ที่  161.8% = 5.39 (5.40) , 261.8% = 5.95  , 423.6% = 6.85 และ 500% = 7.28

ราคาลาก ยาวขึ้นไป อย่างรุนแรงไปถึง แนว 500% =7.28 แล้ว ถอยลงจากแรงขาย อย่างรุนแรง

เราขายออก แถวๆ 6.6 - 7.0 บาท ตรงไหน ก็ได้  เพราะ ราคา ถอยอย่างแรง ท้ายตลาด ... จะมีคนขายทิ้งตาม และลงแรง











 

ในแง่ ของ เวลา Time Projection  เวลาจาก A-B  13 แท่ง .... Time Projection เราจากใช้ เวลาจาก C นับไป 13 แท่ง เป็น ช่วงเวลาที่ เหมาะสม ที่ควรขาย
ซึ่งก็คือ แท่ง ที่ราคา วิ่งชน แนว 500% 7.28 แล้ว ถอยลงมานั่นเอง



อยากเทรด. ก็ลองดูได้.
ไม่กล้า แต่มีเวลาว่าง ลองนั่งเปิดกราฟดูก็ได้. แต่ต้องดูพร้อม bid offer เห็นเขาโยนซ้ายโยนขวากันนะ ไม่งั้นจะไม่เร้าใจ



..
..
Wave Riders








วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

เป้าหมายที่ไม่ลงมือทำ มันก็แค่ความฝันตื่นหนึ่ง

" .......  Goal without Action , Just Dreaming ........  "

".......  เป้าหมายที่ไม่ลงมือทำ มันก็แค่ความฝันตื่นหนึ่ง   ......"



เมื่อขึ้นปีใหม่ ก็ควรที่จะมีสิ่งที่คิดและทำสิ่งใหม่ให้ชีวิตของเราและครอบครัว ดีขึ้น
ผมเชื่อว่า คนส่วนใหญ่ คิดเหมือนกัน แต่สักกี่คนที่ทำได้ และทำให้เป็นจริงได้

ชีวิตที่มีเป้าหมาย จะเป็นชีวิตที่มีกำลังใจ  รู้ตัวว่าตื่นขึ้นมาในแต่ละวันจะต้องทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร และเพื่อใคร ... แต่เป้าหมาย มันจะกลายเป็นแค่ฝันหวาน ตื่นเดียว และตัวเราเองก็จะลืมมันไป ถ้าไม่ลงมือทำอะไร สักอย่าง

สิ่งแรกที่ ต้องทำ กันเลย คือ ...  เขียนเป้าหมาย ...  ครับ

แต่ระวังด้วย มี ความผิดพลาดที่เห็นบ่อยๆ  4 อย่าง ที่จะทำให้การตั้งเป้าหมาย ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้